จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำเรียกประเทศต่างๆในแผนที่ยูรบ(ยุโรป)สมัยรัตนโกสินทร์



โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร


เมื่อวันที่27กรกฎาคม 2554 ดร.พีรศรี โพวาทอง ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอบทความจากงานวิจัย เรื่อง Building Siwilai : Civilizational Discourse, Semi-Colonialism, and the Transformation of Architecture in Siam, 1868 - 1882 ในที่ประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่11 ที่โรงแรมสยามซิตี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนหนึ่งของบทความมีภาพประกอบเป็นแผนที่ทวีปยุรบ(ยุโรป) อายุประมาณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นการออกเสียงคำเรียกชื่อประเทศต่างๆในทวีปยุโรป จึงขออนุญาตทำสำเนาจากเจ้าของบทความและขอนำลงเผยแพร่ในที่นี้ต่อไปเนื่องจากเป็นที่น่าเสียดายที่มีบางท่านมิได้เข้าร่วมในที่ประชุมดังกล่าว

ทวีปยุโรป - ยูรบ ทวีปเอเชีย-ทวีปเอเซีย
ทะเลเมดิเตอเรเนียน -ชะเลเมดิทะเรเนีย
ทะเลดำ - ชะเลดำ ทะเลขาว -ชะเลขาว ทะเลสาบแคสเปียน- ชะเลคัศะเพีย ทะเลบอลติก-ชะเลบอละทิก
มหาสมุทรแอตแลนติก - มหาสมุทอัดลานทิก
เนเธอแลนด์(ฮอลแลนด์)- วิลันดา
เบลเยียม -เบลเชยิม
Republic of Venetian? / Venezia? (ตอนใต้ของฝรั่งเศสและเยอรมนี ตอนเหนือของอิตาลี)- ขึ้นแกพรูเทีย
สวิตเซอร์แลนด์-ซะวิศะลันดา
กรีซ-คิรเซีย
ไอ๊ซ์แลนด์- ไอซะลันดา
ไอร์แลนด์-ไอระลันดา
อังกฤษ-อิงลันดา
สกอตแลนด์-สะกตลันดา
เยอรมนี- อาละมาน
ปรัสเซีย-พรูเซีย
เดนมาร์ก-เดนมาก
สเปน-ซะเพน
โปรตุเกส-พะโทดา
อิตาลี-อิทาเลีย
ออสเตรีย-ออซะเตรีย
โปแลนด์-โพลันดา
นอรเวย์-นอเว
สวีเดน-ซเวเดน
แลปแลนด์-ลับลันดา
รัสเซีย-เมืองรูเซีย
ตุรกี-เทอเค
ดูเหมือนจะมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ไม่ทราบว่าเป็นประเทศอะไรในปัจจุบัน คือ ประเทศ "ขึ้นแกพรูเทีย"
แผนที่ทวีปยูรบ
ภาพจากดร.พีระศรี โพทาวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Identification of the Greco-Roman sculptures at the Royal Palace of Bang Pa-In (Ayutthaya) and the Thai Ku Fa Building (Thai Government Office)

Nearly a century of undisclosed information on the symbolism
of these important statues.


Bidya Sriwattanasarn,
Department of Tourism and Hotel Studies,
Faculty of Arts and Sciences,
Dhurakij Pundit University, Bkk., Thailand

Abstract
Communication with western countries in the modern period of Siam in the reign of King Rama V and King Rama VI inspired only a select group of members of the Royal Siamese Court and the elite society in obtaining Western art and cultural values. The sculptures of the Greco-Roman goddesses in the Royal Palace of Bang Pa-In and the Thai Ku Fa Building have not been properly identified by art historians since 1862.

Furthermore, employees of the palace used to discretely yet mistaken inform visitors that the sculptures were representations of the concubines of King Rama V. Similarly, a committee responsible for the research of the history of the Royal Thai Government’s House published a guide book for its visitors, focusing on the architectural decoration and style, but refrained to discuss the symbolic representation of the statues.

Images of Demeter, goddess of agirculture with her symbol of cornucopia at the Royal Palace of Bang Pa-in, Ayutthaya, during the conservative procedure by sculptors of the Crown Property of Thailand.
Hebe ,goddess of youth, at the 1st floor of the Thai Khu-fah Building (Royal Thai Government House)
Roller skate represent life of the youth.


Hebe goddess of youth _ hermitage_st.petersburg

Finally, after more than a century for the Palace of Bang Pa-In; and nearly a century for the famous Thai Ku Fa Building, the author has discovered that the sculptures in both places are muses and other important goddesses such as Thalia, Eurania, Diana, Niki and Athena, belonging to the Greco-Roman mythology.








Part of the author's presentation for the 11th International Conference on Thai Studies, "Visions of the Future" July 26-28, 2011 Siam City Hotel, Bangkok, Thailand. 27 July 2011 , 09.40-12.00. Room #8, Session 36 (Individual Papers) Art & Architecture . Chairperson: Prof. Leedom Lefferts

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

Problem about the Existene of the Russian Community in the early 20th Century in Bangkok.

Dear Aj. Luisa,

Sorry of my late replying. Last week, I called Assistant Professor Sawittree Chareunbongs, Division of History,Faculty of Arts : Chulalongkorn University.

Based on her MA. Thesis(Western Community in Bangkok) , there’s no prominent historical evidence concerned to the Russian Community in early the 20 century. However, at the end of Sathorn Road, there is the beautiful old building that used to be rented from the Crown Property Bureau as the USSR’s Embassy during 1948-1999.


The building was constructed by Luang Jitrchamnong Wanich(Tomya Rongkawanich) in 1888, during the reign of King Rama V. After the business of Luang Jitchamnong Wanich had been lost, the house was took over by the Crown Property Bureau.

In the reign of King Rama VI, another source said that the King gave the house to Phraya Ramrakop (ML. Phoeu Peungboon Na Ayutthaya) but later, he sold it back to the Crown Property Bureau again.
(http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=30989)

After that, reliable documentation (rental paper) between the Crown Property Bureau and the USSR Government indicated that the USSR signed the paper to rent the former Thailand Hotel to be its embassy in 1948 until the year 1999.



According to security reason, I agree with Aj. Theeranan that relation between Thailand and the USSR during the Cold War filled with suspicious. My teacher used to go to the USSR Embassy once to applying for higher education scholarship and he was tracking by spies of the government all the way to his elder brother’s office (National Intelligence Agency).

Architectural style of the building had been taken from the model of the Italian villa of the 19th century(http://www.crownproperty.or.th/cpad/vtr_8.php)

In generally, being such a community must to have a church, a school, a village or at least a club, however, last week, my friend Aj. Sranmitr Pracharnsith, Naresaun University , suggested a document revealing that long time ago, a Russian had made a quarrel with his friend in a club may be in Silom or Bangrak. But no document referred to any Russian descendant.

If the Russian Community in the letter of Miss Victoria Kudriavtseva means the former USSR’s Embassy, it locates at 1/108 North Sathorn Road , Silom Sub District, Bangrak Bangkok, and being develop to be the spa place and boutique hotel of the One Sathorn Project at the present day .


Brgs,
Bidya

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

การขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
เมื่อปีงบประมาณ2540 ผู้เขียนภายใต้การดำเนินงานของบริษัทมรดกโลก จำกัด ได้รับจ้างเหมาการขุดแต่งเพื่อการบูรณะพระที่นั่งสุทธาสวรรย์(ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์) ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี การทำงานครั้งนั้นผู้เขียนมีความสุขอย่างยิ่งในการใช้ความพยายามรวบรวมสติปัญญาเพื่อสร้างเรื่องราวในอดีตจากหลักฐานโบราณคดีทั้งที่เอกสารและโบราณวัตถุสถานและร่องรอยสถาปัตยกรรม ผู้เขียนเห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางวิชาการต่อไปจึงขอนำมาเผยแพร่ ณ ที่นี้อีกครั้ง

ลักษณะรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่ง
สภาพแวดล้อม
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นรากฐานโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ลักษณะของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ถูกวางตาแหน่งอยู่ตรงกึ่งกลางของเขตพระราชฐานส่วนนี้ โดยรากฐานพระที่นั่งทางเหนืออยู่ห่างจากกำแพงทางด้านใต้ของพระที่นั่งดุสิตสวรรยธัญญมหาปราสาท ประมาณ 30เมตร รากฐานทางด้านตะวันออกอยู่ห่างจากแนวกำแพงพระราชฐานชั้นที่สอง ประมาณ 60 เมตร รากฐานทางด้านใต้อยู่ห่างจากแนวกำแพงทางใต้ประมาณ 25 เมตร ส่วนรากฐานพระที่นั่งทางด้านตะวันตกนั้นปรากฏแนวกำแพงก่ออิฐฉาบปูน สูง 15 เมตรตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งออกไป ดังปรากฏหลักฐานในแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี จากการสำรวจของพระยาโบราณราชธานินทร์


แนวกำแพงซึ่งตัดเนื้อที่บางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไปนั้น อาจถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้เสร็จสิ้นลงไป ได้ปรากฏร่องรอยบางอย่างที่บ่งชี้ว่ากำแพงด้งกล่าวอาจวางรากฐานอยู่แนวกำแพงแก้วเดิมด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก็ได้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า และเข้าใจว่าแนวกำแพงแก้วเดิมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อาจจะอยู่ห่างจากกำแพงพระราชฐานด้านตะวันตกประมาณ 60เมตร เช่นเดียวกับระยะห่างจากแนวกำแพงด้านตะวันออก


พื้นผิวดินภายในพระราชฐานอันเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้น ถูกปรับให้อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ส่วนอื่นของพระราชวังประมาณ 2 เมตร ทั้งนี้วิศวกรคงจะคำนึงถึงประโยชน์เกี่ยวกับแรงดังในการทดน้ำจ่ายน้ำเพื่อใช้อุปโภคสำหรับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นสำคัญ

สภาพปัจจุบัน
สภาพปัจจุบันของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถูกจัดแต่งเป็นสวนขนาดใหญ่มีสภาพร่มรื่น มีต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ชนิด ได้แก่ ต้นก้ามปู ต้นปีบ และพิกุล นอกนั้นเป็นต้นผลไม้ อาทิ มะม่วงขนาดเล็ก ต้นส้มโอและไม้ดอกของไทย อาทิ ราชาวดี เป็นต้น


ภายในสวนด้านหลังแนวกำแพงด้านตะวันตกประกอบด้วยต้นมะพร้าวจำนวนหนึ่ง ต้นพุทรา ต้นมะม่วงขนาดย่อม กอไผ่ และพื้นสนามหญ้า ซึ่งได้รับการดูแลรักษาอย่างค่อนข้างดี


รากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก่อนการขุดแต่งในปีงบประมาณ 2540 นั้น ถูกดินปกคลุมทับถมค่อยข้างเบาบางเนื่องจากเคยได้รับการขุดแต่งมาแล้วเมื่อประมาณ 20 ปีเศษที่ผ่านมา การขุดแต่งครั้งน้นดำเนินการแต่เพียงขุดลอกดินที่ทับถมรากฐานทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้บางส่วนออกไปเท่านั้น ระดับการขุดลอกดินออกไปยังไม่ถึงพื้นลาน โดยรอบของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่กระนั้นก็ตามการดำเนินการดังกล่าวช่วยทำให้รากฐานบางส่วนของพระที่นั่งองค์นี้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดพอสมควร


จากการสำรวจพบว่าแผนผังโครงสร้างรากฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ถูกออกแบบให้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทุกส่วนทุกด้านมีความลงตัวกันอย่างเหมาะสม เรียกว่า “Symmetrical designation system” กล่าวคือ หากออกแบบให้มีประตูและหน้าต่างทางด้านหน้าอย่างไร ทางด้านหลังก็จะทำประตูและหน้าต่างล้อตามไปด้วย ทางด้านข้างชักปีกอาคารและบันไดออกไปอย่างไร ด้านตรงกันข้ามก็จะถูกออกแบบให้มีองค์ประกอบแบบเดียวกันตามไปด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น เป็นต้น แนวความคิดที่มีในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อย่างลงตัวเช่นนี้ จะช่วยให้การวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างและแผนผังของพระที่นั่งองค์นี้มีเหตุผลน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น


จากสภาพเท่าที่ปรากฏได้ชัดเจนว่า รากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนชุดรากฐาน 2 ชุด กล่าวคือ ชุดฐานชั้นนอกประกอบด้วยแผนผังของกำแพงแก้ว กำแพงปีกท้องพระโรง ระเบียง ฐานน้ำพุ ปีกพระที่นั่งซ้าย-ขวา มุขบันได และเกย ส่วนชุดฐานชั้นในเป็นส่วนรองรับโครงสร้างผนังและเครื่องบนหลังคา อันน่าจะเป็นท้องพระโรงที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ขณะแปรพระราชฐาน ณ เมืองลพบุรี


ชุดฐานชั้นนอกและชุดฐานชั้นในของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ต่างก็เป็นฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่มีบัวคว่ำบัวหงายเป็นองค์ประกอบโดยเริ่มต้นจากฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลดชั้นขึ้นไปรองรับลวดบัวแล้วจึงเป็นบัวคว่ำ ก่อนจะขึ้นไปเป็นหน้ากระดานอกไก่และชั้นบัวหงายตามลำดับ เหนือชั้นหงายขึ้นไปจึงเป็นพื้นระเบียงและพื้นท้องพระโรงที่ประทับของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ชั้นบัวคว่ำของฐานแต่ละด้านจะปรากฏท่อน้ำดินเผาสำหรับระบายน้ำออกจากระเบียงพระที่นั่งเป็นระยะๆ


ชุดฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่นี้เป็นองค์ประกอบเด่นทางสถาปัตกรรมแบบไทยประเพณีในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่สำหรับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นชุดฐานปัทม์หน้ากระดานอกไก่จะเพิ่มเส้นลวดที่โคนกลับบัวคว่ำบัวหงายเข้าไปอย่างละเส้น ทำให้หน้ากระดานอกไก่มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น


องค์ประกอบของกำแพงแก้วล้อมรอบระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จะก่อตัวขึ้นจากฐานเขียงแล้วจึงเป็นบัวหงายก่อนจะเป็นผนังกำแพงแก้ว สูงประมาณ 100-120 เซนติเมตร และทับหลังกำแพงแก้วรูปบัวหงาย หน้ากระดานบัวคว่ำ สูงประมาณ 20 เซนติเมตร


สำหรับกำแพงปีกท้องพระโรง ซึ่งเป็นกำแพงสูงประมาณ 2.50 เมตร ชักปีกออกมาจากมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือและมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ คั่นระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งให้พ้นจากสายตาของบุคคลภายนอก มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับกำแพงแก้วของพระที่นั่งองค์นี้


เสาอาคารของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ถูกออกแบบให้ฝากอยู่กับโครงสร้างของผนัง โดยมีลักษณะเป็นโครงอิฐฉาบปูนยื่นออกมาจากผนังอาคารเพียงเล็กน้อย ร่องรอยของช่องอิฐที่ผนังตามแนวเสาบ่งชี้ให้ทราบว่ามีการทำด้นทวยรองรับเครื่องบนหรือชั้นหลังคาด้วย องค์ประกอบดังกล่าวสังเกตได้จากปีกทางด้านใต้ ซึ่งก่อเป็นอาคารยื่นออกมา มีประตูและหน้าต่างเป็นช่องโค้งยอดแหลม ตามแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเปอร์เซีย-โมกุล หรือที่เรียกว่า “Sarasenic Achitectural”
มิติทางสถาปัตยกรรม
รากฐานระเบียงพระที่นั่งสุทธาวรรย์
ลักษณะเป็นรากฐานชั้นนอกส่วนนอกของพระที่นั่ง มีด้านแปยาวประมาณ 35 เมตร ด้านสกัดยาวประมาณ 27 เมตร ซึ่งอันที่จริงแล้วหากคำนวณจากแผนผังพระที่นั่งสุทธาวรรย์ของฝรั่งเศส(Plan du Palais de Louvo) และผังที่นั่งพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรีแล้ว ด้านแปของพระที่นั่งสุทธาวรรย์อาจมีความยาวประมาณ 38 เมตรเลยทีเดียว

มุขบันได
ทางด้านตะวันออกของพระที่นั่งสุทธาวรรย์มีมุขกว้าง 1เมตร ยาว 11.20 เมตร ยื่นออกมาลักษณะคล้ายจะเป็นบันไดทางขึ้นสู่ระเบียงด้านตะวันออกของพระที่นั่ง โดยทำเป็นบันไดเบื้องซ้ายและเบื้องขวาที่มุมบางทิศเหนือและทิศใต้ของมุข และถ้าหากเชื่อมันในทฤษฎีเรื่องความลงตัวทางสถาปัตยกรรมดังกล่าวไปแล้วข้างต้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าระเบียงทางด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาวรรย์จะมีมุขยื่นออกไปและมีบันไดขึ้น-ลงทางเบื้องซ้ายและขวา เช่นเดียวกัน

ปีกอาคาร (พระปรัศว์)
ปีกอาคารซึ่งถูกชักออกไปทางด้านเหนือและด้านใต้ของมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้อของฐานพระที่นั่งสุทธาวรรย์มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านแปยาว 9 เมตรด้านสกัดกว้าง 7 เมตร ผนังของแต่ละด้านกว้างประมาณ 1 เมตร ภายหลังการขุดแต่งปรากฏอหลักฐานของถึงน้ำกรุหินอ่อนอยู่ภายใน ทั้งปีกด้านทิศเหนือและปีกด้านทิศใต้


สำหรับปีกด้านเหนือนั้น โครงสร้างผนังและเครื่องบนถูกรื้อทำลายลงไปจนหมดสิ้นเหลือเพียงร่องรอยของโคนเสาก่ออิฐถือปูน ฐานเสาบัวคว่ำและผนังเตี้ยๆแต่กระนั้นก็ยังพอจะเห็นร่องรอยขององค์ประกอบและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจากการวิเคราะห์และเปรียบเที่ยบกับปีกอาคารทางด้านใต้ของฐานพระที่นั่งฯ


กล่าวคือ ปีกอาคารด้านเหนือจะมีช่องหน้าต่างรูปวงโค้งยอดแหลมแบบซาราเซนนิค จำนวน 3 ช่อง เหตุที่เชื่อว่าด้านเหนือมีแต่ช่องหน้าต่างก็เนื่องจากไม่มีร่องรอยของบันไดยื่นจากตัวอาคารมารับช่องประตูทางด้านนี้แต่อย่างใด ส่วนทางด้านใต้ปีของอาคารทศเหนือนั้นปรากฎหลักฐานของช่องประตูจำนวน 2ช่อง ขนาบข่องหน้าต่างตรงกลางจำนวน 1 ช่อง ช่องประตูและช่องหน้าต่างทั้งหมดจะมีรูปแบบเป็นช่องโค้ง เช่นเดียวกับช่องประตูและช่องหน้าต่างทางทิศเหนือของปีกอาคารด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาวรรย์

ด้านสกัดของปีกอาคารทางเหนือนั้นปรากฏร่องรอยของช่องประตู ทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก โดยเฉพาะประตูด้านตะวันออกนั้นจะมีร่องรอยของฐานบันไดปรากฏให้เห็นด้วยและช่องประตูทั้งสองด้านก็น่าจะมีรูปเป็นช่องโค้งยอดแหยมเช่นเดียวกับประตูด้านตะวันออกและตะวันตกของปีกอาคารด้านใต้ ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปีกอาคารส่วนนี้ปรากฏบันไดยื่นออกไป มีแผ่นหินแอนดีไซต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1.00 X 50 เซนติเมตรรองรับ


ปีกอาคารด้านใต้นั้นมีโครงสร้างและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมก่อนข้างสมบูรณ์ ง่ายต่อการอธิบายทำความเข้าใจและสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์ประกอบส่วนอื่นๆของอาคารได้เป็นอย่างดี ผนังด้านเหนือยังปรากฏช่องประตูรูปโค้งมุมแหลมจำนวน 2 ช่อง สูงประมาณ 3 เมตร ขนาบช่องหน้าต่างรูปแบบเดียวกันไว้ตรงกลาง ความสูงประมาณ 2.5 เมตร ช่องประตูและช่องหน้าต่างมีความกว้างประมาณ 1.80 เมตรเท่ากัน ผนังด้านใต้ของปีกอาคารถูกรื้อทำลายไปจนหมดสิ้น ขณะที่ผนังด้านตะวันตกยังอยู่ครบ ส่วนผนังด้านตะวันออกนั้นยังคงเหลือเฉพาะซีกประตูด้านเหนือเท่านั้น


ด้านตะวันออกของปีกอาคารส่วนนี้มีบันไดกว้างประมาณ 2 เมตร ยื่นออกไป ส่วนทางมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ก็มีบันไดยื่นออกไปเช่นกัน


ฐานน้ำพุหรือฐานอ่างน้ำสรงสนาน
ฐานน้ำพุหรือฐานอ่างน้ำสรงสนานเป็นรากฐานขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมขนาด 7X3 เมตร ซึ่งถูกก่อยื่นเป็นมุขออกไปทางเหนือและใต้ ที่บริเวณจุดกึ่งกลางของรากฐานเดิม (ก่อนจะถูกกำแพงเขื่อนเพชรก่อคล่อมตัดบางส่วนของระเบียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไปเล็กน้อย) ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สภาพก่อนการขุดแต่งมีต้นหญ้า มูลดินและกากปูนปกคลุมประมาณ 10 เซนติเมตร
ฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทางทิศเหนือของเชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีเขามอหรอภูเขาจำลองก่ออิฐถือปูนหนา มีแผนผังคล้ายรูปครึ่งวงกลมจำนวน 6 รูป เรียงล้อมกันเป็นวงคล้ายกลีบดอกจันทร์ ลดชั้นจากฐานขึ้นไปสู่ยอด นับได้ 3 ชั้น (2ยอด) 7 ชั้น (2 ยอด)9ชั้น (1 ยอด) และ 11 ชั้น (1 ยอด) รวม 6 ยอด ฐานแต่ละด้านของยอดเขามอจะคว้านร่องทรงกระบอก ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจใช้สำหรับประดับพรรณไม้เป็นระยะๆ ฐานของเขามอทำเป็นช่องโค้งมุมแหลมเจาะทะลุจากเหนือไปใต้กว้างประมาณ 1 เมตร มีดินทับถมอยู่จนเกือบเต็มช่องโค้ง ดินดังกล่าวเป็นดินใหม่ ซึ่งถูกนำมาตกแต่งเขามอเนื่องในงานฉลองแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์ของแต่ละปีที่ผ่านมา


ตรงกึ่งกลางของเขามอทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก มีแนวกำแพงแก้วชักปีกออกไปทั้งสองด้านเพียงเล็กน้อยก่อนที่กำแพงแก้วจะหักเลี้ยวไปทางทิศใต้ของทั้งสองด้าน มุมของกำแพงแก้วทั้งสองด้านถูกก่อเป็นเสารูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ยอดเสามีลักษณะย่อมุมและทำเป็นหัวเม็ดทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม คล้ายกับหัวเม็ดของเสากำแพงแก้วทุกต้นภายในพระราชฐานแห่งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ ลักษณะของกำแพงแก้วทางด้านตะวันออกของฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสนานเชิงเขามอนี้ ไม่มีร่องรอยของคูหาขนาดเล็กรูปโค้งยอดแหลมดังเช่นกำแพงแก้วของพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญญมหาปราสาท หรือตึกเลี้ยงรับรองราชทูต และอื่นๆแต่อย่างใด ส่วนฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทางทิศใต้นั้นเหลือเพียงฐานอิฐเหนือชั้นบัวหงายเท่านั้น


ในระยะแรกก่อนการขุดแต่ง สภาพของฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทั้งทางด้านเหนือ(เชิงเขามอ)และทางใต้ ต่างก็มีวัชพืช ดินและกากปูนทรายทับถมค่อนข้างหนา ทำให้ยังไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสถาปัตยกรรมกันได้อย่างลงตัว จนกรทั่งการขุดแต่งดำเนินผ่านไปจึงได้แลเห็นความเชื่อมโยงที่มีต่อกันได้ชัดเจน (ก่อนการขุดแต่งนั้นเชิงเขามอด้านตะวันตกเฉียงใต้พบร่องรอยบันไดกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนเชิงด้านตะวันออกและตะวันตกของฐานน้ำพุด้านใต้พบร่องรอยบันไดขนาบฐานน้ำพุทั้งสองด้าน หลังการขุดแต่งได้พบบันไดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขามอเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง บันไดทั้งสี่แท่งที่กล่าวถึงนั้น เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ลงตัวกันอย่างเหมาะสม)
รากฐานเกยคชาธารและเกยราชยาน

ทางมุมทิศด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีชั้นอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.40X2.00 เมตร ก่อยื่นออกมาเป็นเกยช้างพระที่นั่ง สูงประมาณ 2 เมตร ลักษณะคล้ายเกยช้างพระที่นั่งไกรสรสีหราช


ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มีร่องรอยของแนวอิฐสูงประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 100 เซนติเมตร สภาพทรุดพัง เข้าใจว่าน่าจะเป็นร่องรอยของเกยราชยานคานหาม

พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทั้งสี่ด้านก่อนการขุดแต่ง มีต้นหญ้า มูลดิน กากปูน ทราย ปกคลุม แนวระเบียงบางส่วนหลงเหลือพื้นปูนหนาเกือบ 20 เซนติเมตร ส่วนระเบียงของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ กว้างประมาณ 5-6 เมตร ที่บริเวณแนวตรงกันระหว่างฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนาน มีร่องรอยขนาบด้วยแผ่นปูนขาวกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตร ทั้งสองด้านแลดูคล้ายร่องน้ำไหลใช้ส่งไปยังฐานน้ำพุหรืออ่างน้ำสรงสนานทั้งสอง


กำแพงแก้ว
กำแพงแก้วของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นถูกรื้อทำลายไปจนแทบหมดสิ้น เหลือแนวให้เห็นเพียงเล็กน้อยที่เชิงเขามอด้านเหนือ ซึ่งได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แนวกำแพงแด้วกับช่องประตูและบันไดขึ้นลงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างมาก ทางด้านเหนือจะมีแนวช่องประตู รวม 5 ช่องทางด้านตะวันออกจะมีแนวช่องประตู 2 ช่อง ด้านใต้จะมีแนวช่องประตู 5 ช่อง และด้านตะวันตกจะมีแนวช่องประตูผ่านกำแพงแก้ว 2 ช่อง

กำแพงปีกท้องพระโรง

กำแพงปีกท้องพระโรงที่คั่นระหว่างพระราชฐานชั้นนอกกับพระราชฐานชั้นในของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นส่วนที่ชักปีกออกจากมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือไปจรดแนวกำแพงแก้วทั้งด้านเหนือและด้านใต้ มีความยาวด้านละ 6 เมตร กว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 2 เมตรเศษ ปรากฏร่องรอยของประตูทางเข้าด้านละ 1 กว้างประมาณ 1.20 เมตร
ด้านล่างของกำแพงมีลักษณะเป็นรากฐานบัวคว่ำ มีทับหลังกำแพงเป็นรูปบัวหงาย หน้ากระดานบัวคว่ำ สภาพด้านเหนือค่อนข้างสมบูรณ์ มีเพียงทับหลังเท่านั้นที่ถูกทำลายไป ส่วนทางด้านใต้เหลือเพียงซีกผนังด้านเหนือเท่านั้น
มีร่องรอยว่าตรงจุดที่กำแพงปีกท้องพระโรงด้านเหนือแล่นไปจรดกับแนวกำแพงทางทิศเหนือ ซึ่งล้อมด้านเหนือของระเบียงพระที่นั่งด้านตะวันตกไว้นั้น จุดสิ้นสุดของกำแพงได้สร้างคล่อมอยู่บนทับหลังของกำแพงแก้วส่วนนี้ จึงอาจเป็นไปได้ว่า กำแพงปีกท้องพระโรงน่าจะถูกสร้างขึ้นภายหลังกำแพงแก้วในระยะเวลาที่ไม่ห่างกันมากนัก

รากฐานท้องพระโรงที่ประทับของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์

ลักษณะเป็นรากฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกชั้นสูงเหนือระเบียงพระที่นั่งประมาณ 81 เซนติเมตร มีด้านแปยาว 22 เมตร ด้านสกัดกว้าง 12 เมตร 80 เซนติเมตร ผนังส่วนใหญ่ถูกรื้อทำลายไปจนเกือบหมดสิ้น ด้านเหนือเหลือผนังบางส่วนสูงประมาณ 2 เมตร ด้านตะวันออกไม่เหลือผนังอยู่เลย ด้านใต้เหลือผนังสูงประมาณ 2 เมตร และด้านตะวันตกเหลือผนังสูงประมาณ 100-260 เซนติเมตร

ผนังของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มีร่องรอยของเสาที่ฝากอยู่กับโครงสร้างผนังเช่นเดียวกับเสาของปึกอาคารทั้งสองด้าน


จากร่องรอยของช่องหน้าต่างทางซีกตะวันตก จำนวน 2 ช่อง ของผนังทางทิศเหนือ มีช่องประตูอยู่ตรงกลาง ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า ซีกตะวันออกของผนังทางทิศเหนือก็น่าจะมีช่องหน้าต่าง รวม 2 ช่อง เช่นเดียวกัน ดังนั้นผนังทิศใต้ของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ก็จะมีช่องหน้าต่างและช่องประตูจำนวนเท่ากันด้วย โดยที่ช่องประตูทั้งสองด้านนั้นมีร่องรอยบันไดเตี้ยๆ ฝังอยู่กับผนังด้านแปนั่นเอง
สำหรับผนังด้านตะวันออกนั้น จากร่องรอยของช่องหน้าต่าง 2 ช่อง กับช่องประตู 1 ช่องทางด้านตะวันตก และแนวบันไดที่ยื่นออกไปจากผนังด้านสกัด ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าผนังด้านตะวันออกของท้องพระโรงควรจะมีช่องประตูขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร จำนวน 1 ช่อง ช่องหน้าต่างกว้างประมาณ 1.20 เมตร จำนวน 2 ช่อง เช่นเดียวกับด้านตะวันตกซึ่งอยู่ทิศตรงกันข้าม


หลุมลึกขนาด 4X7 เมตร ทางมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรากฐานท้องพระโรง เดิมที่เข้าใจกันว่าเป็นถังเก็บน้ำเพื่อใช้ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่เมื่อตรวจสอบผนังทุกด้านดูแล้วไม่ปรากฏรอยยาปูนขาวกันซึมตามคุณลักษณะของถังน้ำแม้แต่น้อย ดังนั้นสภาพที่เห็นในปัจจุบันคงเกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ ซึ่งเชื่อกันมาอย่างผิดๆว่า ถูกฝังอยู่ใต้พื้นพระที่นั่งองค์นี้


แท้ที่จริงแล้วส่วนดังกล่าวเป็นโครงสร้างฐานรากของอาคารที่ก่อเป็นเอ็นยึดผัง และอัดทรายเพื่อรองรับน้ำหนักของโครงสร้างส่วนบนของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เท่านั้น หลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่ง คือแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี ก็มิได้ลงตำแหน่งของหลุมดังกล่าวไว้แสดงให้เห็นว่าการขุดเกิดขึ้นในสมัยหลัง


พื้นของท้องพระโรงมีร่องรอยของการปูอิฐเอาไว้ เหนือชั้นอิฐเทปูนขาวปิดทับ มีกากปูนและวัชพืชปกคลุมทั่วไป
การขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์


การสำรวจทางโบราณคดีและการวางฝังหลุมขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
กระบวนการขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพื่อศึกษารากฐานอาคาร รวมทั้งเทคนิคทางสถาปัตยกรรม และหลักฐานทางโบราณคดี เพื่ออธิบายเรื่องราวความเป็นมาในอดีตและพัฒนาการทางศิลปสถาปัตยกรรม รวมทั้งแง่มุมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการจัดการระบบน้ำภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ประกอบด้วยขั้นตอนเหล่านี้ คือ การสำรวจที่ตั้งและสภาพทั่วไปของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพื่อกำหนดตำแหน่งของโบราณสถานลงไปในผังบริเวณ การทำแผนผังแนวราบของโบราณสถานและการตอกหมุดแบ่งหลุมขุดแต่งครอบคลุมพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การเก็บบันทึกข้อมูลทางโบราณคดีเป็นไปอย่างถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิง และท้ายที่สุดคือการทำรูปแบบตั้งทั้งสี่ด้านของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพื่อบันทึกลักษณะทางสถาปัตยกรรมของรากฐานพระที่นั่งโดยละเอียดก่อนการขุดแต่งหาข้อมูลทางโบราณคดีแบบรูปตั้งของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเป็นหลักฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์รูปทรงดั้งเดิมในอตีตของสถาปัตยกรรม (Architectural Reconstruction หรือ Structural Assumption) แห่งนี้กับสถาปัตยกรรมอื่นๆ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี ระหว่างการทำผังรูปตั้งลวดลายต่างๆ ที่ถูกตกแต่งและยังหลงเหลืออยู่ รวมไปถึงร่องรอยทุกชนิดที่ปรากฏอยู่ที่รากฐานอาคารจึงถูกบันทึกลงไปในแบบภาพร่างด้วยวิธีการวัดตำแหน่งทั้งตามแนวราบและแนวดิ่งของอิฐแต่ละก้อนอย่างรอบคอบ โดยใช้มาตราส่วน 1 : 70 ในแผ่นฟิล์มมาตรฐานขนาด A1


หลุมขุดแต่งรากฐานพระพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 889 ตาราเมตร ถูกกำหนดให้มีขนาด 5X5 เมตร โดยผังแนวราบมีทิศทางเรียงลำดับตัวเลขขึ้นไปด้านเหนือ ผังแนวดิ่งมีทิศทางทางเรียงลำดับออกไปด้านตะวันตก


การเรียกชื่อหลุมเพื่ออ้างอิงหลักฐานที่พบจากการขุดแต่ง เริ่มต้นด้วยเลขอารบิคแล้วตามด้วยอักษรชื่อย่อของทิศเป็นภาษาอังกฤษ อาทิ หลุม 1N 1W, 2N 2W, 6N 6W, 5N 9W, 7N 8W เป็นต้น อันจะแตกต่างจากการลำดับชื่อหลุมขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างผังเมืองโบราณพระนครศรีอยุธยาบ้างเล็กน้อย เนื่องด้วยผังดังกล่าวเป็นหลุมขนาด 50 X 50 เมตร มีผังหลุมย่อย ขนาด 5X5 เมตร จำนวน 100 หลุม ซ้อนอยู่ภายในหลุมใหญ่แต่ละหลุม และการเรียกชื่อหลุมนั้นจะระบุทิศ ตามด้วยเลขประจำหลุมใหญ่ และชื่อหลุมย่อยโดยลำดับ (อาทิ N5 W8 P3 เป็นต้น)


ทุกจุดตัดของผังหลุมแต่ละตำแหน่งในผังหลุมขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สามารถนำไปเทียบเคียง (Matched) หรือเชื่อมโยงเข้ากับแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร (มาตราส่วน 1 : 50,000) ได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าผังหลุมขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ได้ปรากฎชื่อพิกัดทางเทคนิคการสำรวจทั้งแนวราบและแนวดิ่งเอาไว้ชัดเจน เพื่อเป็นมาตรฐานในการอ้างอิงข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีและงานวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


ขั้นตอนการขุดแต่งและการเก็บรวบรวมหลักฐานโบราณคดี
การขุดแต่งโบราณสถาน หมายถึง การขุดลอกมูลดิน อิฐหัก กากปูน และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมอยู่บนโบราณสถานออกไปด้วยความระมัดระวัง มิให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างหรือองค์ประกอบสถาปัตยกรรม


ร่องรอยทางโบราณคดีและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏขึ้นมาระหว่างการขุดแต่งจะถูกบันทึกด้วยการถ่ายภาพ ทำแผนผัง และบรรยายเป็นลายลักษณ์อักษร โดยละเอียด เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานสนาม ได้แก่ จอบ เสียม พลั่ว เกียง แปรงปัดฝุ่น กล้องถ่ายรูป เครื่องเขียน และถุงพลาสติกสำหรับเก็บบรรจุโบราณวัตถุ เป็นต้น


การขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จนแล้วเสร็จนั้นใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเศษในระยะแรกการขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เริ่มต้นขึ้นทางด้านตะวันออก เพื่อดูความเหมาะสมว่าจะต้องขุดลอกมูลดินที่ทับถมด้านข้างรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ประมาณเท่าใด จากการปฏิบัติงานพบว่าทางด้านตะวันออกนี้มีมูลดินและกากปูนทับถมอยู่ประมาณ 10-15 เซนติเมตรหนือพื้นถนนอิฐราดปูนขาวนับว่ามีอัตราการทับถมของชั้นดินน้อยมาก ทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากมีการปรับปรุงและดูแลพื้นที่ต่อเนื่องกันมาเป็นอย่างดีในอดีต เพราะโบราณสถานในบริเวณใกล้เคียงเคยเป็นทีทำการราชการ ก่อนที่จะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร นอกจากนี้ยังมีประวัติบอกเล่าว่าเคยผ่านการขุดแต่งมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งด้วย


พื้นที่ดำเนินการขุดแต่งทางด้านตะวันออกอยู่ห่างจากรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ระยะ 5 เมตร ตามแนวเหนือ – ใต้ โดยหลุมขุดแต่งเริ่มต้นจาก 1N 1W จนถึง 9N 1W


การขุดแต่งพื้นที่เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้านตะวันออกใช้เวลาไม่นานนักก็แล้วเสร็จจากนั้นจึงย้ายแรงงานไปปฏิบัติงานต่อบริเวณเชิงพระที่นั่งด้านใต้ และบางส่วนของระเบียงด้านตะวันออกของรากฐานอาคาร การทำงานในชั้นต้นคือ ขุดลอกมูลดินและขนย้ายอิฐหักกากปูน ใช้เวลาไม่นาน เพราะพื้นที่ปฏิบัติงานมีการทับถมไม่มากแต่อย่างใด (อัตราการทับถมของมูลดินเฉลี่ย 30 เซนติเมตร) พื้นที่ปฏิบัติงานห่างจากแนวรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ประมาณ 5 เมตร ยกเว้นทางใต้ของปีกอาคารระหว่างหลุม1N 8W เท่านั้นที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานกว้างเพียง 2.5 เมตร หลุมขุดแต่งด้านนี้เริ่มต้นจาก 1N 1W ถึง 1N 8W


ภายหลังการขุดลอกมูลดินและเศษอิฐหักกากปูนออกไปจากเชิงพระที่นั่งด้านใต้แล้ว การดำเนินงานขุดแต่งพื้นที่ส่วนบนของปีกอาคารทั้งด้านเหนือและด้านใต้ และพื้นที่ระเบียงทั้งสี่ด้านของพระที่นั่งฯก็เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา สภาพการทับถมของมูลดินมีค่อนข้างน้อย การเสื่อมสภาพของปูนขาวที่ถูกเทราดอยู่เหนือพื้นอิฐมีค่อนข้างสูงมาก แต่พื้นระบียงบางส่วนซึ่งเทปูนหนาประมาณ 15 เซนติเมตร ยังคงรักษาสภาพไว้ได้ค่อยข้างดี สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าปูนขาวมีส่วนผสมของหินอ่อนที่ถูกย่อยเป็นก้อนเล็กๆทั่วไป และเชื่อกันว่าช่างอาจนำหรือเกณฑ์หินอ่อนดังกล่าวมาจากแหล่งหินอ่อนที่เขาสมอคอนซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก่อนมีสัมประทานเหมืองหินอ่อนนั้น ชาวบ้านได้ย่อยหินอ่อนตวงขายเป็นปี๊บ ปัจจุบันก็ยังพอจะมีคนจำได้ว่าเคยมีการประกอบอาชีพย่อยหินอ่อนขายในย่านเขาสมอคอนมาก่อน แต่จะสืบย้อนกลับไปได้ไกลเพียงใดไม่ทราบแน่ชัด


การขุดแต่งพื้นที่ด้านบนของปีกอาคารและระเบียงโดยรอบพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในชั้นต้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอันจะนำมามาซึ่งคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างเพียงพอ ดังนี้นการเก็บรายละเอียดเพื่อค้นหาร่องรอยต่างๆเพิ่มขึ้น จึงเป็นกระบวนการภาคสนามที่จะต้องดำเนินต่อไป


การขุดแต่งพื้นที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นท้องพระโรงที่ประทับของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ดำเนินไปพร้อมๆกับการขุดลอกดินออกจากเชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านเหนือ


พื้นที่ส่วนท้องพระโรงมีการทับถมของมูลดินไม่มาก การดำเนินการส่วนใหญ่คือ การแซะหญ้าแห้วหมูและวัชพืชอื่นออกไป นอกจากนี้ยังมีขุยดินและขุยทรายที่กระจัดกระจายทับถมอยู่ด้านบนเนื่องจากการขุดเอาดินอัด ทรายอัดที่ใช้รองรับโครงสร้างและกันทรุดพังจึ้นมาจากหลุม N5 4W จนสภาพของพื้นท้องพระโรงกลายเป็นหลุมสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 5 X 7 เมตร ลึก 2 เมตร ทำให้อาจเข้าใจผิดได้ว่าหลุมดังกล่าวเป็นร่องรอยคูหาใต้ดินหรือถังเก็บน้ำในสมัยนั้น ข้อสนับสนุนว่าหลุมดังกล่าวมิใช่คูหาใต้ดินหรือถังเก็บน้ำใต้อาคาร คือ ผนังแต่ละด้านของหลุมมิได้ฉาบปูนกันซึมเพื่อใช้เก็บกักน้ำ การสอปูนระหว่างอิฐแต่ละชั้นใช้ปูนหนามาก และไม่มีการปาดปูนด้านข้างแต่อย่างใด เมื่อขุดตรวจลงไปที่พื้นก็ยังพบชั้นทรายหยาบถูกบดอัดเป็นชั้นหนา ดังได้คาดคะเนไว้แล้วในเบื้องต้น


การขุดแต่งพื้นที่เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านเหนือ จำเป็นต้องย้ายดินออกไปจากพื้นที่รอบเขามอ เนื่องจากเป็นดินใหม่ซึ่งถูกนำมาปรับ


พื้นที่หลุมขุดแต่งทางมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวอาคารถัดจากเขามอออกไป น่าจะเคยเป็นจุดทิ้งและเผาขยะของส่วนราชการเดิมมาก่อน เนื่องด้วยขุดพบเศษวัสดุประเภทโลหะสังกะสีผุๆ เศษแก้ว ขวดยานัตถุ์ ขวดน้ำหอม เศษเหล็ก และอื่นๆ ทับถมอยู่ในชั้นดินตื้นๆ โครงสร้างของดินก็มีลักษณะเกาะกันแบบหลวมๆ มีเศษเถ้าถ่านปะปน


เมื่อการขุดแต่งรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ครอบคลุมพื้นที่ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสมในเบื้องต้นแล้ว คณะทำงาน ได้แก่ นักโบราณคดี ช่างสำรวจ และช่างศิลปกรรม ได้ใช้เวลาในการสำรวจพื้นที่ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาและประเมินสภาพโบราณสถานภายหลังการขุดแต่งอันจะทำให้การติดตามร่องรอยขององค์ประกอบและรากฐานสถาปัตยกรรมมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในระหว่างนั้นก็ได้ชี้จุดให้แรงงานขุดแต่งลงพื้นที่ ใช้ความประณีตใจการเก็บรายละเอียดต่างๆ ของพื้นระเบียง ลำราง และท่อน้ำดินเผาที่ฝังอยู่ใต้พื้นอิฐ โดยรอบอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ยิ่งใช้ความสังเกตขณะปฏิบัติงานขุดแต่งมากเพียงใดก็จะยิ่งช่วยให้การบรรยายและการบันทึกสภาพภายหลังการขุดแต่งโบราณสถานมีสาระและคุณภาพมากยิ่งขึ้น ระดับศักยภาพของข้อมูลและหลักฐานดังกล่าวมานี้จะช่วยอธิบายและเชื่อมโยงเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
สภาพรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ภายหลังการขุดแต่ง


เชิงรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์
การขุดลอกมูลดินและเศษอิฐหักออกจากพื้นที่เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านเหนือระยะห่างจากรากฐานพระที่นั่งประมาณ 5 เมตร ได้พบพื้นลานพระราชฐานอยู่ลึกลงไปจากผิวดิน ประมาณ 30-40 เซนติเมตร พื้นดังกล่าวถูกปูด้วยอิฐ ขนาดประมาณ 28 X 14 X 5 เซนติเมตร เหนืออิฐขึ้นไปจะมีพื้นปูนขาวเทราดทับอีกชั้นหนึ่งหรือไม่นั้น น่าสงสัยไม่น้อย อย่างไรก็ตามการพบชิ้นส่วนของแผ่นกระเบื้องอิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ 30 X 30 X 3 เซนติเมตร ปริมาณเล็กน้อยที่หลุม 9N 7W ทำให้นึกเปรียบเทียบถึงพื้นระเบียงคดหรือพื้นลานประทักษิณที่วัดบางแห่งในเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งนิยมทำพื้นอิฐเหนือชั้นดินอัดก่อนจะปูด้วยแผ่นกระเบื้องอิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใกล้เคียงกันอีกครั้งหนึ่งแผ่นกระเบื้องอิฐชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง ทนทาน และสวยงามมาก หากเคยถูกนำมาปูเรียงเป็นพื้นลานพระราชฐานในพระราชวังแห่งนี้มาก่อนก็น่าจะหลงเหลือร่องรอยหลักฐานไว้มากกว่านี้ หรือมิฉะนั้นก็อาจถูกรื้อไปใช้ประโยชน์จนหมดสิ้นแล้วก็ได้

เชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทางด้านตะวันออกถูกออกแบบให้เป็นถนนพื้นอิฐ เทปูนขาวซึ่งมีส่วนผสมของหินอ่อนขนาดต่างๆกัน (ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 -2.5 เซนติเมตร) ถนนสายนี้เริ่มต้นจากแนวประตูกำแพงด้านเหนือ ผ่านหน้าพระที่นั่งไปสู่ประตูพระราชฐานทางใต้ โดยมีจุดหักเลี้ยวไปทางตะวันออกที่กึ่งกลางรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นทางสามแพร่งมุ่งสู่ประตูพระราชฐานทางตะวันออก

ถนนดังกล่าวมีความกว้างประมาณ 4 เมตร ด้านตะวันออกของถนนถูกขุดเป็นรางระบายน้ำแล้วทำผนังอิฐเตี้ยๆยกเป็นขอบถนน ส่วนด้านตะวันตกมีแต่ขอบถนนเพียงอย่างเดียว

มีข้อถกเถียงพิจารณากันพอสมควรว่าพื้นถนนสายนี้เป็นของเดิมมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หรือจะถูกบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีมูลดินทับถมเพียงบางๆ และใช้อิฐไม่สมบูรณ์มาปูเรียงและแนวถนนลักษณะดังกล่าวมีร่องรอยอยู่ทั่วไปภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ข้อเสนอที่เห็นว่าถนนว่าจะเป็นของเดิมในสมัยอยุธยา พิจารณาจากส่วนผสมของปูนมีลักษณะใกล้เคียงกับพื้นปูนบนระเบียงพระที่นั่ง และปูสอกันซึมที่อ่างเก็บน้ำในพระราชฐานชั้นนอก

ที่หลุม 4N 1W (ด้านใต้ของมุขที่ยื่นออกมาทางตะวันออก) พบแผ่นหินชนวนขนาดประมาณ 30 X 50 X 5 เซนติเมตรวางเป็นแนวจากตะวันตกไปตะวันออกอยู่ใต้พื้นถนน ปิดบนท่อน้ำดินเผาอีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าด้านเหนือของมุขก็น่าจะมีแนวดังกล่าวเช่นกัน


บริเวณเชิงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้านใต้ พบว่าพื้นพระราชฐานด้านนี้มีลักษณะเป็นลานเทด้วยปูนผสมทรายหยาบและหินอ่อนก้อนเล็กๆ พื้นบางส่วนมีอิฐทรงปริมาตรปูทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งยังไม่สามารถหาคำอธิบายได้ว่ามีความสัมพันธ์กับรากฐานอาคารอย่างไร เนื่องจากมีสภาพไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก


เมื่อทดลองขุดลอกมูลดินต่อเนื่องไปทางใต้ กว้าง 50 เซนติเมตร ห่างออกมาจากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ประมาณ 10 เมตร (ตรงกับพื้นที่หลุมทดสอบชั้นดินทางโบราณคดี 1S 3W) ก็พบว่ายังคงมีพื้นปูนเทกว้างออกไปประมาณ 10 และสิ้นสุดลงที่แนวชั้นอิฐกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร หากพิจารณาจากหลักฐาน Plan du Palais de Louvo แล้ว แนวอิฐชุดนี้น่าจะเป็นรากฐานของกำแพงล้อมพระราชอุทยานขนาดเล็กด้านเหนือและใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั่นเอง พระราชอุทยานดังกล่าวคงจะมีลักษณะเป็นสวนย่อมๆ มีพื้นลาดพระบาทเทปูน สำหรับเสด็จลงสำราญพระราชหฤทัยเมื่อทรงปลูกพรรณไม้หอมพันธุ์หายากด้วยพระองค์เอง ตามบันทึกของแชร์แวส เราจะเห็นประตูทางเข้าพระราชอุทยานทั้งสองฟากตั้งอยู่ด้านตะวันตก เยื้องกับประตูและบันไดของปีกอทางเหนือและใต้เล็กน้อย


ในพื้นที่หลุม 3N 4W ได้พบอ่างน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1X1 เมตร ขอบกรุอิฐพื้นปูนอิฐ ฉาบปูนกันซึมแน่นหนา พบท่อดินเผาเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่ขอบอ่างด้านใต้ท่อดังกล่าวนี้อาจเป็นท่อส่งน้ำจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ต่อเข้าไปยังพระราชอุทยานเล็กด้านใต้ด้านตะวันตกของอ่างมีหลุมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐตั้ง ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร แต่อาจจะบึกมากกว่านี้ก็ได้ (มีดินทับถมอยู่ข้างในช่องเล็กยากต่อการขุดตาม) ส่วนด้านเหนือบริเวณฐานระเบียงมีหลักฐานของการเซาะอิฐเป็นร่องกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร มุ่งตรงไปยังแผ่นหินชนวนกรุขอบลำรางแผ่นหินชนวนนี้เซาะด้านบนเป็นร่องรูปครึ่งวงกลม ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง (ครึ่งวงกลม)ประมาณ 2.5 เซนติเมตร เช่นเดียวกับเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำดินเผาด้านล่าง หลักฐานนี้จะเป็นร่องรอยแนวของท่อโลหะสำริดที่ใช้ส่งน้ำจากลำรางไปยังอ่างน้ำและพระราชอุทยานด้านใต้ได้หรือไม่


ด้านตะวันออกของอ่างดังกล่าว เป็นบันไดอิฐขนาดประมาณ 60X100 เซนติเมตร รับกับบันไดด้านเหนือของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งมีแผ่นหินแอนดีไซต์ปูอยู่บนขั้นบันได (8N 4W) บันไดด้านใต้นี้แต่เดิมก็น่าจะมีแผ่นหินแอนดีไซต์ปูทับอยู่ข้างบนเช่นกัน


เขามอและหลักฐานระบบการทดน้ำจ่ายน้ำ
เมื่อการขุดแต่งพื้นที่รอบๆเชิงเขามอ ทางเหนือของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งบันทึกของนิโคลาส แชร์แวส ระบุว่าเป็นสระน้ำลักษณะคล้ายถ้ำเล็กๆ เสร็จสิ้นลง ได้พบแนวท่อน้ำดินเผาที่เชิงเขามอด้านเหนือ 2 แนว ทำมุมเฉียงกัน ท่อน้ำดังกล่าวมีต้นทางมาจากด้านเหนือ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทดน้ำเข้ามาใช้ภายในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ท่อน้ำทั้งสองแนวถูกฝังอยู่ใจ้ดินมีอิฐตะแคง อท่งศิลาแลงและพื้นปูนลานพระราชฐานปูทับตามลำดับอย่างแน่นหนามั่นคง


ฐานโดยรอบรูปครึ่งวงกลมทางด้านเหนือเชิงเขามอมีร่องรอยของการฝังท่อน้ำดินเผา ปิดทับด้วยแผ่นดินอิฐปูนอน ท่อดินเผาดังกล่าวอาจเป็นเพียงท่อระบายน้ำออกจากจุดใดจุดหนึ่งของระเบียงหรือสระน้ำด้านใต้ของเขามอ ขณะที่ฝั่งทางใต้ของเชิงเขามอ ซึ่งอยู่บนระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ได้ขุดพบลานอิฐขนาด 1.60X2.90 เมตร มีลำรางขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ล้อมทั้งสี่ด้าน ที่มุมลำรางมีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-50 เซนติเมตร รวม 4หลุม หลักฐานที่พบนี้เป็นร่องรอยของสระน้ำหรืออ่างน้ำที่มีลักษณะคล้ายถ้ำเล็กๆ ในบันทึกของนิโคลาส แชร์แวส นั่นเอง หลุมทั้งสี่มุมของสระแห่งนี้น่าจะเป็นร่องรอยของหลุมเสากระโจมตามระบุในเอกสารเช่นกัน ใต้ช่องโค้งมุมแหลมด้านเหนือของสระน้ำหรืออ่างน้ำนี้ มีบ่อรูปรีหรือรูปกระเพาะหรือกระเปาะ มุมทางใต้ของบ่อทำเป็นรูปเหลี่ยมหรือมุขยื่นออกมา บ่อนี้ลึกประมาณ 70-80 เซนติเมตร ความกว้างใกล้เคียงกัน ด้านบนซ้ายและขวาเป็นท่อน้ำให้เกิดการใหลเวียนขนาดต่างกัน บ่อและท่อดินเผานี้ยาปูนแน่นหนา


การค้นพบสระน้ำหรือแท้ที่จริงก็คืออ่างน้ำขนาดใหญ่
การขุดแต่งที่บริเวณหลุม 2N 5W, 2N 6W, 3N 5W,3N 6W, อ้นเป็นที่ตั้งขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมซึ่งเรียกในชั้นต้นว่า “ฐานน้ำพุ” ทางด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ได้พบร่องรอยของสระน้ำหรืออ่างน้ำ ขนาดประมาณ 2.90X2.90 เมตร มีลำรางล้อมทั้ง 4 ด้าน และที่มุมลำรางก็มีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตรอยู่ทั้งสี่มุมด้วย ตรงจุดกึ่งกลางของสระหรืออ่างน้ำ มีท่อโลหะสำริดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร วางแนวทะลุถึงระดับพื้นพระราชอุทยาน ซึ่งแต่เดิมนักโบราณคดีเข้าใจว่าสระน้ำนี้เป็นร่องรอยของฐานน้ำพุ แต่เมื่อตรวจสอบจากหลักฐานของแชร์แวสโดยยึดจากการอ้างถึงสระน้ำด้านเหนือที่มีลักษณะคล้ายถ้ำ และการยึดหลักความลงตัวขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแล้วสิ่งที่เรียกว่าฐานน้ำพุทางด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้น น่าจะเป็นสระน้ำหรืออ่างน้ำอีกแห่งหนึ่งอันมีหลุมเสากระโจมเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งด้วย


ส่วนท่อสำริดซึ่งวางเป็นแนวฉากกับพื้นสระน้ำจะถูกวางใต้พื้นดินขณะสร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มาจากท่อน้ำดินเผาเชิงเขามอด้านเหนือได้หรือไม่

มีข้อสงสัยอีกประการหนึ่งว่า ร่องรอยของสระน้ำทั้งทางด้านเหนือและด้านใต้ของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ที่ขุดพบ เป็นเพียงสระที่มีขนาดเล็กๆเท่านั้น (สระเหนือ 1.60X2.90 เมตร สระใต้ 2.90X2.90 เมตร) ขัดแย้งกับคำกล่าวของแชร์แวสที่ระบุว่า


“ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำใหญ่สี่บรรจุน้ำบริสุทธิ์ เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน ภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น”


ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่แชร์แวสจะระบุถึง Les Bassins ซึ่งแม้จะแปลได้ทั้ง “สระน้ำ” หรือ “อ่างน้ำ” แต่โดยเจตนารมณ์ที่แท้จริงแล้ว เขาต้องการจะกล่าวถึงอ่างน้ำขนาดใหญ่มากกว่าและหลักฐานที่ขุดพบก็สนับสนุนความคิดนี้ยิ่งกว่าใด


ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การเรียกองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมดังกล่าวนี้ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักฐานและสภาพความเป็นจริง ในชั้นนี้จะเรียก “สระน้ำ” ทั้งสี่แห่งว่า “อ่างน้ำ”ต่อไป


การขุดค้นพื้นที่บริเวณหลุม 5N 2W ได้พบร่องรอบของลานอิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ประมาณ 2.90 หรือ 3.00X2.90 หรือ 3.00 เมตร มีลำรางล้อมและมีหลุมเสากระโจมทั้งสี่มุมเช่นกันตรงกลางมีรูเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นรูท่อสำริด ซึ่งทดสอบความลึกได้ใกล้เคียงกับท่อสำริดในอ่างน้ำด้านใต้ สิ่งที่พบนี้คงจะเป็นอย่างอื่นไปเสียไม่ได้ นอกจากอ่างน้ำทางมุขด้านตะวันออกตามที่นิโคลาส แชร์แวส ระบุไว้ ด้วยเหตุจากลักษณะความคล้ายคลึงกันของหลักฐานนั่นเอง


การขุดพบอ่างน้ำจำนวน 3 สระ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ในจุดที่รับกันขององค์ประกอบสถาปัตยกรรม คือ อ่างน้ำด้านเหนือคู่กับอ่างน้ำด้านใต้ และอ่างน้ำด้านตะวันออก เพราะฉะนั้นหากอาศัยหลักการเดียวกันอ่างน้ำแห่งที่ 4 ก็ควรจะอยู่ที่ชานระเบียงทางมุมทิศตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ หลุม 5 8 แต่ก็ไม่พบร่องรอยของอ่างน้ำ เมื่อตรวจสอบแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี ก็ได้พบจุดที่อยู่ห่างจากกำแพงคั่นพระราชฐานชั้นที่ 3 กับพระราชฐานฝ่ายใน ประมาณ 25-30 เมตร มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นอ่างน้ำแห่งที่ 4 แต่ก็ไม่ขอยืนยันมั่นคงเท่าใดนักในที่นี้


มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า ในขณะที่อ่างน้ำทิศตะวันออกและทิศใต้มีท่อน้ำสำริดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งผ่านน้ำมายังอ่างน้ำ ส่วนอ่างน้ำด้านตะวันออกเชิงเขามอมีท่อดิเผาขนาดใกล้เคียงกันเป็นตัวปล่อยน้ำออกมา การลดขนาดของท่อจ่ายน้ำให้เล็กลง ย่อมจะทำให้น้ำมีแรงดังเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะดันออกมาในแนวระนาบหรือดันขึ้นไป ด้วยเหตุนี้ในขณะที่น้ำในอ่างน้ำด้านตะวันออกอาจถูกปล่อยออกมาในแนวระนาบเป็นสายธารไหลวนอยู่ภายในถ้ำเล็กใต้เขามอ น้ำบางส่วนอาจจะถูกขึ้นไปบนเขามอด้วยอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วปล่อยให้ไหลลงมาเป็นน้ำตก ส่วนอ่างน้ำด้านตะวันออก ด้านใต้ และอ่างน้ำด้านตะวันตกนั้น แรงดังของน้ำจะทำให้เกิดน้ำพุพุ่งกระจายขึ้นมาเป็นสาย หากมีวัตถุบังคับทิศทางอย่างถูกต้องเหมาะสมก็อาจจะทำให้กระแสน้ำที่พุ่งขึ้นกลายเป็นน้ำพุที่พร่างพรายสายน้ำออกไปรอบทิศอย่างงดงาม


คำให้การขุนหลวงหาวัด นอกจากจะกล่าวถึงการสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ( คือ ดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท) และพระที่นั่งสวรรย์ (พระที่นั่งสุทธาสวรรย์) แล้ว ยังกล่าวถึงน้ำพุอ่างแก้ว ซึ่งมีน้ำดั้นน้ำกระดาษเป็นองค์ประกอบ


น้ำพุและอ่างแก้วนั้นมีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวของมันเอง แต่คำว่า “น้ำดั้น” กับ “น้ำกระดาษ” ดูเหมือนว่าอาจจะเลือนหายจากสำนึกรับรู้และพจนานุกรมฉบับปัจจุบันไปแล้ว


การอธิบายเพื่อทำความเข้าใจกับคำทั้งสองมิใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องอาศัยหลักการสังเกตและเชื่อมโยงหลักฐานทางโบราณคดีเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม


คำว่า “น้ำดั้น” หากมิได้หมายถึง ระบบการทดน้ำจ่ายน้ำ (ดั้น = มุดด้นไป, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525, หน้า 298) ไปตามท่อน้ำดินเผา ก็น่าจะหมายถึงน้ำพุที่ “ดั้น” ขึ้นจากอ่างน้ำหรือสระน้ำ


คำว่า “น้ำกระดาษ” นี้ ความจริงแล้วหลักฐานน่าจะบันทึกไว้ว่า “น้ำกระดาด” หรือ “น้ำดาด” มากกว่า เพราะอาจทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น หากเป็นเช่นนั้นแล้ว “น้ำกระดาษ” หรือ “น้ำกระดาด” หรือ “น้ำดาด” จะหมายถึงน้ำซึ่งไหลลงมาจากที่สูงได้หรือไม่ และที่สูงในความหมายที่เชื่อมโยงกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มากที่สุดก็คือ เขามอ น่าเสียที่คำว่า “ดาด” นั้น พจนานุกรมอธิบายว่าเป็นคำกริยา เช่นเอาวัตถุเช่นผ้าปิด ซึ่งให้ทั่วตอนเบื้องบน เช่น ดาดเพดาน ดาดหลังคา เมื่อเป็นคำวิเศษณ์แปลว่า ไม่ชัน เช่น หลังคาดาด เป็นต้น และหากยึดตามตำราแล้วการอธิบายว่า “น้ำดาด” หรือ “น้ำดาษ” หมายถึง น้ำซึ่งตกลงมาจากที่สูง เช่นเขามอ คงจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างแน่นอน
หลักฐานในปีกอาคารเหนือ-ใต้

เมื่อการขุดแต่งปีกอาคารด้านเหนือ (พระปรัศว์ขวา) และปีกอาคารด้านใต้ (พระปรัศว์ซ้าย) แล้วเสร็จ ได้ค้นพบอ่างน้ำขนาดประมาณ 1.00X1.50 เมตร กรุด้วยหินอ่อนหนาประมาณ 4-5 เซนติเมตร (ควรตรวจสอบขนาดอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ) ทั้งสองด้าน


อ่างหินอ่อนนี้มีลำรางส่งน้ำจ่ายน้ำ ซึ่งอาจโยงใยมาจากอ่างน้ำเชิงเขามอด้านเหนือก็ได้เนื่องจากได้พบทั้งแนวท่อน้ำดินเผาและแนวลำรางเลาะมาตามกำแพงแก้วโดยตลอด (จะได้กล่าวถึงข้างหน้า)


หลักฐานหลายชิ้น อาทิ พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม ระบุถึงเทคนิคการเก็บกักน้ำในอ่างว่าต้อง “กรุศิลายาปูนเป็นอันดี” (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 82, พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม,25357 หน้า 247) หรือ “ตรุศิลายาปูนเป็นอันดี” (พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับพระพนรัตน์,2535,หน้า 214) การกรุศิลายาปูนนั้นอาจเป็นเทคนิคที่รู้จักกันดีของช่างไทย แต่การใช้หินอ่อนมาทำอ่างน้ำ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก


เอกสารสำคัญร่วมสมัย คือ จดหมายเหตุการณ์เดินทางครั้งที่ 2 ของบางหลวงกีย์ ตาชารต์ ระบุว่า โรงสวด Notre – Dame de Laurette ในบ้านของคอนสแตนติน ฟอลคอน มีการนำหินอ่อน “มาใช้อย่างไม่อั้น” แต่หินอ่อนนั้นเป็นวัสดุก่อสร้างทีมีค่าและมีราคาแพงมาในชมพูทวีป จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันการสร้างอ่างน้ำกรุหินอ่อนยาปูนกันซึมอย่างดีในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จึงไม่น่าจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาสามัญ


เหตุใดนักโบราณคดีจึงมิได้ระบุว่าอ่างน้ำภายในพระปรัศว์ทั้งสองด้านเป็นอ่างน้ำจำนวน 2 ใน 4 อ่างที่แชร์แวส ระบุ ในที่นี้ยังไม่สามารถหาคำตอบที่เหมาะสมมาอธิบายได้ ทั้งๆที่เป็นจุดที่ไม่ควรจะมองข้าม


ทางด้านใต้ของพระปรัศว์ซ้ายมีบันไดปูด้วยแผ่นหินแอนดีไซต์ รับกับบันด้านเหนือของพระปรัศว์ขวา ซึ่งดูเหมือนว่าแผ่นหินแอนดีไซต์บางชิ้นจะถูกเคลื่อนย้ายออกไป


นอกจากแผ่นหินแอนดีไซต์จะถูกนำมาปูที่ขั้นบันไดแล้ว ยังพบว่ามีร่องรอยการนำหินชนิดดังกล่าวมาปูบนพื้นด้านตะวันตกและด้านใต้ของพระปรัศว์ขวา รวม 4 จุด และปูบนพื้นด้านเหนือและตะวันตกของพระปรัศว์ซ้าย รวม 4 จุดเช่นกัน แต่ร่องรอยการปูหินบางจุดถูกรื้อไปจนหมดสิ้นแล้ว จุดตังกล่าวคือด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย (หลุม 3N 7W) ซึ่งได้พบร่องรอยของการถมทรายอัดและศษกระเบื้องเคลือมุงหลังจักรพรรดิคาสีเหลืองทับถมอยู่ด้านล่าง อันอาจเป้นหลักฐานบ่งบอกถึงการเชื่อมต่อพระปรัศว์ในระยะหลัง เนื่องจากพบการทำฐานเขียงและลวดลายบัวคว่ำอยู่ทีจุดนี้อย่างชัดเจน


สภาพระเบียงและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
การขุดแต่งระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ทำให้ได้พบหลักฐานลำรางกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร วางแนวเลาะกำแพงแก้วของพระที่นั่งทั้งสามด้าน (เหนือ ตะวันออก ใต้) ด้านนอกของลำรางจะมีท่อน้ำดินเผาถูกฝังโผล่ปลายท่อขึ้นมาให้เห็น และตลอดแนวลำรางจะมีหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-40 เซนติเมตร เรียงรายอยู่เป็นระยะๆ


ในชั้นต้นนี้สันนิษฐานว่าลำรางอาจเป็นช่องสำหรับปล่อยให้น้ำไหลผ่านไปหล่อเลี้ยงอ่างน้ำในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่หลุมเสาที่อยู่ตามแนวลำรางนั้น หาเป็นหลุมเสากระโจมก็อาจจะทำให้การไหลเวียนของน้ำไม่สะดวกเท่าที่ควร และมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ เมื่อขุดแต่งบริเวณหลุม 3N 8W และ 8N 8W เสร็จสิ้นลง ได้พบหลักฐานแผ่นอิฐวางปิดอยู่เหนือปากลำราง ซึ่งทำเป็นแนวต่อเนื่องมาจากด้านตะวันออก ลำรางที่ขุดพบนี้น่าจะสัมพันธ์กับท่อน้ำดินเผาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ของรากฐานท้องพระโรง (หรือด้านใต้ของขวาและด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย)


ท่อน้ำดินเผาที่พบก็มีทั้งท่อน้ำทิ้งและท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้งจะทำหน้าที่ระบายน้ำฝนออกจากระเบียงพระที่นั่งลงสู่ลานด้านล่าง โดยโคนท่อและปลายท่อจะเป็นอิสระไม่เชื่อมกับท่ออื่น ส่วนท่อน้ำดีซึ่งพบด้านใต้ของพระปรัศว์ขวา และด้านเหนือของพระปรัศว์ซ้าย ได้ถูกฝังไว้อย่างมั่นคงใต้พื้นอิฐ มีข้องอและข้อต่อเป็นตัวบังคับทิศทางของท่อ สภาพของท่อทั้งสองด้านถูกฝังอยู่ในช่องลักษณะคล้ายลำราง (ดูแผนผังหลังการขุดแต่ง) จึงอาจเป็นไปได้ว่า แต่เดิมนั้นแนวลำรางทุกด้านของระเบียงพระที่นั่งจะมีท่อน้ำดินเผาฝังอยู่โดยตลอด เพื่อเป็นตัวจ่ายน้ำหล่อเลี้ยงอ่างน้ำทั้งสี่แห่งของท้องพระโรง รวมไปถึงอ่างน้ำในพระปรัศว์ซ้าย-ขวาด้วย ท่อน้ำดินเผาเหล่านี้ได้รับน้ำมาจากแหล่งจ่ายน้ำเชิงเขามอ ซึ่งได้รับน้ำมาจากอ่างแก้วด้านตะวันออกของพระราชฐานชั้นนอก ส่วนท่อน้ำดินเผาทางด้านตะวันออกของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อาจเป็นท่อส่งน้ำออกไปหล่อเลี้ยงพระราชอุทยานในพระราชฐานชั้นใน


พื้นระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ด้านเหนือบริเวณหลุม 7N 4W และใกล้เคียง มีหลักฐานการปูอิฐเฉียงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และมีแนวเอ็นของคานฐานรากเอียงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนพื้นอิฐด้านอื่นนั้นกลับปูขนานกับแนวรากฐานอาคารตามปรกติ


เมื่อขุดลอกลึกลงในพื้นและร่องเอ็นไปเพียงเล็กน้อยก็พบทรายหยาบ อันเป็นทรายอัดรับน้ำหนักและกันการทรุดพังของโครงสร้าง ในชั้นแรกตั้งสมมติฐานว่าอาจเป็นแนวร่องวางท่อน้ำดินเผาหรือเกิดขึ้นเนื่องจากมีการซ่อมบูรณะในคราวใดคราวหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ในขณะนี้


ทางด้านใต้ของอ่างน้ำด้านเหนือ และด้านเหนือของอ่างน้ำด้านใต้ตรงกับช่องประตูกลางท้องพระโรง (ด้านใต้เขามอ) พบแนวพื้นปูนขาวหนา 2 แนว คั่นด้วยร่องตื้นๆ แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นทางน้ำที่สัมพันธ์กับอ่างน้ำทั้งสอง แต่เมื่อการขุดแต่งเสร็จสิ้นลงก็เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลที่เหมาะสมรองรับ


ท้องพระโรงพระที่นั่ง
การขุดแต่งพื้นท้องพระโรง พบหลักฐานการปูพื้นอิฐขนาดเดียวกับอิฐที่ใช้ก่อองค์ประกอบส่วนอื่น และเมื่อได้ขุดตรวดชั้นดินในหลุม 5 4 อันเป็นแอ่งใหญ่ที่ถูกขุดเจาะเอาทรายอัดออกไป ได้พบว่าลึกลงไปพอสมควร ยังคงเป็นชั้นทรายอัดอยู่เช่นเดิม


การพบหลักฐานร่องรอยขององค์ประกอบโบราณสถานภายหลังการขุดแต่ง นับว่าเป็นสิ่งทีมีคุณค่ายิ่งต่อนโยบายและการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนารากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ให้ดำรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม และโบราณคดี ต่อไปในอนาคต แม้การขุดแต่งครั้งนี้จะตอบคำถามของนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาจมีหลักฐานบางอย่างหลุดรอดสายตาของนักโบราณคดีไปบ้าง (อาทิแนวท่อน้ำสำริดและแนวท่อน้ำดินเผา เป็นต้น) เนื่องจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2540 ได้กำหนดเป้าหมายพื้นที่ขุดแต่งไว้เพียง 800 ตารางเมตรเศษ ขณะที่หลักฐานเอกสารในอดีตบันทึกขนาดดั้งเดิมของราดฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์และหมู่ตำหนักบริวารโยงใยออกไปมากกว่า 1 เท่าตัว ดังนั้น เชื่อว่าในโอกาสที่เหมาะสมแล้วคงจะได้มีการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนารากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์อย่างเต็มรูปแบบต่อไป

รูปวิเคราะห์พระที่นั่งสุทธาสวรรย์
จากการทรุดพังจนเหลือแต่พื้นและผนังบางส่วนของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะอธิบายลักษณะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งองค์นี้ให้เห็นภาพใกล้เคียงกับสภาพดั้งเดิมในอดีตได้มากที่สุด โดยอาศัยการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตีความจากหลักฐาน เอกสารและหลักฐานในโบราณคดีที่พบจากการขุดค้นและการขุดแต่งทางวิชาการเป็นสำคัญ


พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดเป็นสถาปัตย -กรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุถึงการสร้าง “พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท” ว่า มีพระที่นั่งฝ่ายขวาชื่อ “สุทธาสวรรย์” มีพระที่นั่งฝ่ายซ้ายชื่อ “จันทรพิศาล” (คำให้การขุนหลวงหาวัด, 2515, หน้า 327-328) เห็นได้ชัดว่าหลักฐานชิ้นนี้ให้ความสำคัญแก่พระที่นั่งดุสิตสวรรย์มากกว่าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และพระที่นั่งจันทรพิศาล แต่หลักฐานพระราชพงศาวดารหลายฉบับและเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุถึงการก่อพระมหาปราสาทสององค์ในพระราชวังที่เมืองลพบุรี คือ พระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท และพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ (หรือสุทไธสว-ริย์มหาปราสาท[1]) ในลักษณะที่ให้ความสำคัญเท่าเทียมกัน


เอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมเป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที ซึ่งกล่าวถึงสภาพแวดล้อมทางสถา-ปัตยกรรมโดยทั่วไปในพระราชวังที่เมืองลพบุรีว่าประกอบด้วยพระมหาปราสาทสององค์และพระที่นั่งใหญ่น้อยไม่มียอดหลายองค์ โดยเฉพาะพระที่นั่งสุทไธยสวริย์มหาปราสาท และพระที่นั่งดุสิตสวริยธัญมหาปราสาททั้งสององค์นั้น หลัก-ฐานระบุว่ามียอดทรงมณฑปยอดเดียว มีมุขซ้อน 4 ชั้น และมีฝาทั้ง 4 ด้าน[2]


อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะพบหลักฐาน เอกสารระบุอย่างชัดเจนว่า หลังคาหรือเครื่องบนของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มียอดทรงมณฑป แต่เนื่องจากรากฐานท้องพระโรงของพระที่นั่งมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีมุขยื่นออกมาทั้งทางด้านเหนือและด้านใต้ เพื่อเป็นโครงสร้างรองรับน้ำหนักเครื่องบนยอดมณฑปของพระที่นั่ง จึงอาจเป็นไปได้ว่า เครื่องบนของส่วนที่เป็นท้องพระโรงนั่นอาจเป็นหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ไม่มียอด เนื่องจากอาจเป็นเพียงมุขยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของพระที่นั่ง ซึ่งอยู่ถัดออกไปทางด้านหลัง (ดูแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี) หรือมิฉะนั้นท้องพระโรงก็อาจเป็นโครงสร้างหลักของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ซึ่งอาจมียอดทรงมณฑป หรือไม่มียอดทรงมณฑปก็เป็นได้


จากปัญหาที่ประสบข้างต้น รูปวิเคราะห์ประกอบการสันนิษฐานลักษณะโครงสร้างส่วนบนของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จึงถูกเสนอเป็นสองแบบ คือ
1. ท้องพระโรงหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ยอดมณฑป
2. ท้องพระโรงหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ไม่มียอดมณฑป

รูปวิเคราะห์แบบที่ 1 (ยอดมณฑป)
แสดงลักษณะของหลังคาลดชั้น 3 ชั้น เครื่องมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ บัวหัวเสาเป็นบัวแวงหรือบัวกลีบยาวแบบอยุธยาตอนปลาย ผนังมีคันทวยรองรับส่วนชายคา ประตูและหน้าต่างด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นช่องโค้ง โดยยึดถือรูปแบบมาจากพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท
กระเบื้องมุงหลังคาของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นกระเบื้องลูกฟูกตัวผู้-เมียเคลือบสีเหลืองแบบ Imnperial Yellow ตามปริมาณที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้ สำหรับกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแบบ Local Yellow Tiles ที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแบบ Imnperial Yellow Tiles นั้น ไม่ปรากฏหลักฐาน เอกสารระบุว่าเป็นวัสดุที่ใช้ในช่วงเวลาก่อน-หลัง-หรือเวลาเดียวกัน จึงไม่สามารถอธิบายได้ในชั้นนี้


กระเบื้องเชิงชายของท้องพระโรงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีลักษณะเป็นรูปคล้ายกระจังสามยอด มีทั้งเนื้อแกร่ง แบบกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแบบ Imperial Yellow และแบบเนื้อดินธรรมดา (Earthenware) เคลือบสีเหลืองแบบพื้น เมือง ซึ่งหากยึดหลักการสันนิษฐานแบบอธิบายด้วยเหตุผลและบริบททางประวัติศาสตร์ เปรียบเทียบกับการได้รับอิทธิพลการทำเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบผิวจากจีนแล้ว ก็น่าเชื่อว่าการทำกระเบื้องเชิงชายทรงกระจัง 3 ยอด และกระเบื้องมุงหลังคาเคลือบผิวสีเหลืองแบบท้องถิ่น อาจถูกทำขึ้นในสมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังปรากฎหลักฐานการผลิตกระเบื้องเคลือบผิวสีเหลืองในสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2, อ้างแล้ว, หน้า 72)


ลักษณะยอดมณฑปลดชั้น 7 ชั้น ซึ่งแสดงในแบบรูปวิเคราะห์นี้ประยุกต์ขึ้นมาแบบยอดมณฑปของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพฯ ผสมผสานกับมณฑปสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมที่พระพุทธบาท จ.สระบุรี


รูปวิเคราะห์แบบที่ 2 (ไม่มียอดทรงมณฑป)
แสดงลักษณะท้องพระโรงมีหลังคาลดชั้น 3 ชั้น ไม่มียอดทรงมณฑป ส่วนองค์ประกอบอื่นๆนั้น มีรายละเอียดเช่นเดียวกับรูปวิเคราะห์แบบที่ 1


การศึกษาชั้นดินทางโบราณคดี
ผลจากการขุดค้นในหลุมทดสอบ 1S 3W ทำให้ทราบว่า ชั้นดินในหลุมขุดค้นตั้งแต่ระดับ 30 cm.dt. ถึงประ-มาณ 210 cm.dt. อาจเป็นชั้นดินถมใหม่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ระหว่างมีการเตรียมปรับพื้นพระราชฐานชั้นที่ 3 เพื่อรองรับฐานรากของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เราจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จากกรณีที่มีการนำทรายหยาบและทรายละเอียดมาบดอัดสลับกันรองรับบริเวณโดยรอบ ไม่ห่างไกลจากรากฐานและฐานรากพระที่นั่งเท่าใดนัก ทรายบดอัดบางส่วนมีชั้นดินเหนียวสีเทาแกมขาวแทรกอยู่เป็นช่วงๆ แลเห็นโดดเด่นตัดกับชั้นทราย


ชั้นดินธรรมชาติในพื้นที่นี้ ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์อาจอยู่ในระดับ 200 – 210 cm.dt. ดังจะสังเกตว่า มีการพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลูกฟูกมีเดือยแบบหนา ต่อออกมาจากขอบชายกระเบื้องด้านบน แทนที่จะเป็นเดือยซึ่งยื่นออกมาจากท้องกระเบื้องด้านล่างตามปกติในยุคหลังๆ
แม้จะพบโบราณวัตถุในชั้นดินตั้งแต่ 30 -210 cm.dt. อันเป็นชั้นดินถมหรือทรายอัด แต่ก็เป็นการพบแบบไม่หนาแน่น แสดงให้เห็นถึงการปะปนมากับชั้นดินในช่วงที่มีกิจกรรมปรับพื้นที่พระราชฐานชั้นที่ 3 หลักฐานโบราณวัตถุที่พบในชั้นดินลึกกว่า 210 cm.dt. จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงเรื่องราวการอยู่อาศัยของคนในพื้นที่นี้ ก่อนจะมีการสร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ และกำหนดอายุในราวก่อนรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นอย่างน้อย


หลักฐานการขุดตรวจชั้นดินในหลุม 1S 3W มีความสอดคล้องกับชั้นดินในหลุม 5N 4W (ส่วนท้องพระโรงที่ประทับ) เราได้พบชั้นทรายบดอัดเพื่อรองรับน้ำหนัก กันการเลื่อนและทรุดพังของฐานรากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อย่างน้อยก็อยู่ที่ระดับ 200 เซนติเมตร ลงไปพื้นอิฐของท้องพระโรง ซึ่งนาเชื่อว่าการบดอัดทรายลงไปในฐานรากอาจลึกถึง 3.50 เมตร (จากพื้นท้องพระโรง) ชั้นทรายอัดล่างสุดของฐานรากส่วนท้องพระโรงจึงจะอยู่ระดับเดียวกับชั้นทรายในหลุม 1S 3W


เทคนิคการใช้ทรายบดอัดรองรับน้ำหนักอาคารและกันการเลื่อนไถล – ทรุดพัง เป็นภูมิความรู้ที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยลพบุรี โดยมีหลักฐานให้เห็นจากหลุมทดสอบชั้นดินทางโบราณคดีที่โบราณสถานพระปรางค์สามยอด การใช้ทรายบดอัดรองรับฐานราก (แทนที่จะใช้ดินเหนียวเช่นเดียวกับอยุธยา) อันสืบทอดมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (อย่างน้อยก็ในพระราชวังนารายณ์นิเวศน์) จะทำให้สามารถอธิบายในประเด็นของการสืบทอดทางเทคโนโลยีและวัฒน-ธรรมของกลุ่มชนในบริเวณนี้อย่างไม่ขาดตอนสูญหายไปเลยได้หรือไม่ นั่นคือกลุ่มคนที่สร้างพระปรางค์สามยอดก็คือกลุ่มคนเชื้อสายเดียวกันกับไพร่ที่ถูกเกณฑ์มาเป็นแรงงานในการก่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แต่ความคิดนี้อาจถูกโต้แย้งได้ในเรื่องสภาพภูมิประเทศของลพบุรี เพราะดินเหนียวอาจหายากกว่าทรายก็ได้ ดังนั้นจึงควรประมวลข้อมูลหลักฐานจากโบราณสถานหลายๆแห่งมาพิจารณาประกอบกัน

เศษภาชนะดินเผาที่พบจากการขุดค้นหลุม 1S 3W
เศษภาชนะดินเผาที่พบจากการขุดค้นหลุม 1S 3W แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Earthenware, Stoneware และ Porcelain ในที่นี้จะเสนอผลการศึกษาโบราณวัตถุดังกล่าวทีละระดับรวมกัน เพื่อช่วยให้แลเห็นภาพรวมการแพร่ กระจายเศษภาชนะดินเผาในแต่ละระดับของชั้นดินในหลุมขุดค้น
ระดับ 30 – 50 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย จำแนกเป็น
Earthenware
-เศษหม้อลายสลับฟันปลาขูดร่องด้านล่าง ขอบปากหม้อคอสูง ปากผายออก
-หูกระปุกดินเผา จัดเป็นเศษภาชนะจากแหล่งพื้นเมืองในเขตเมืองลพบุรี
Stoneware
-ชิ้นส่วนก้นไหเท้าช้างเคลือบผิวสีน้ำตาลปนดำ จากเตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 50 – 70 cm.dt. ไม่พบเศษภาชนะดินเผา
ระดับ 70 – 90 cm.dt. ไม่พบเศษภาชนะดินเผา
ระดับ 90 – 110 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผา 1 ชิ้น
Earthenware
-เศษภาชนะดินเผาไม่มีลาย 1 ชิ้น
Stoneware
-ไม่พบ
Porcelain
-ไม่พบ


ระดับ 110 – 130 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 95 กรัม )
Earthenware
-ไม่พบ
Stoneware
-พบชิ้นส่วนคอของภาชนะเนื้อหนาประเภทไหเท้าช้าง จากแหล่งเตาวัดพระปรางค์ (เตาแม่น้ำน้อย)
-ชิ้นส่วนไหไม่มีลายจากเตาบ้านบางปูน
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 130 – 140 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 100 กรัม )
Earthenware
-เศษหม้อดินเผาลายขูดขีดตัดกันไปมาไม่เป็นระบบ 2 – 3 ชิ้น
Stoneware
-ไม่พบ
Porcelain
-ชิ้นส่วนก้นชามเคลือบแบบ Blue and White สมัยราชวงศ์หมิง (ลายใบไม้ดอกไม้)
ระดับ 140 – 150 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 120 กรัม )
Earthenware
-เศษหม้อดินเผาลายสลับฟันปลา
-เศษหม้อลายขูดขีดตัดกันไปมา และลายสลับฟันปลาคั่นร่อง
-เศษหม้อขูดเป็นร่องขนาดใหญ่ดิ่งลงเป็นทางรอบไหล่
Stoneware
-ไม่พบ

Porcelain
-ก้นชามแบบ Blue and White ลายใบไม้ สมัยราชวงศ์หมิง
ระดับ 150 – 160 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย (300 กรัม)
Earthenware
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา ขอบปากหม้อผายออก เคลือบผิวด้วยน้ำดินสีแดง เนื้อบาง
-ชิ้นส่วนฝาหม้อแบบฝาละมี (ฝาแอ่นหงายจุดบน)
-ตะคันดินเผาก้นตัด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซ.ม.
-เศษหม้อขูดลายเป็นร่องรอบๆไหล่ 4 ร่อง
Stoneware
-เศษเครื่องถ้วย เคลือบผิวสีขาวขุ่น เขียนลายสีน้ำตาลอมดำใต้เคลือบ เตาสุโขทัย
ชิ้นส่วนไหผิวสีดำอมเทา ไมมีลาย เตาแม่น้ำน้อย
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 160 – 170 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 350 กรัม )
Earthenware
-เศษหม้อดินเผาลายขูดขีดตัดกันเป็นตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
-จุกภาชนะ (ชิ้นส่วนฝาภาชนะแบบฝาละมีจุกบน)
Stoneware
-ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ผิวสีเทาอมดำ ขูดลายลูกคลื่นซ้อนกัน 3 ลายใต้คอ แบบภาชนะเตาแม่น้ำน้อย
-ชิ้นส่วนโอ่งดินเผาเนื้อหนา ผิวสีส้มแบบเตาแม่น้ำน้อย
-ชิ้นส่วนฝาภาชนะเคลือบผิวสีน้ำตาลแบบเตาแม่น้ำน้อย
-ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบสีเขียว (ชาม) แบบเตาศรีสัชนาลัย
Porcelain
-เศษชามแบบ Blue and White 3 ชิ้น สมัยราชวงศ์หมิง
ระดับ 170 – 180 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 300 กรัม )
Earthenware
-เศษขอบปากหม้อเคลือบน้ำดินสีแดง เนื้อบาง ผิวละเอียด
-เศษหม้อดินเผาไม่มีลายชิ้นเล็กๆ
Stoneware
-ไม่พบ
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 180 – 190 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 470 กรัม )
Earthenware
-ขอบปากหม้อดินเผา ทรงสูงผายออก เนื้อบาง ผิวสีส้ม
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-เศษหม้อลายขูดขีดตัดกันไปมา
Stoneware
-ขอบปากกระปุก เนื้อบาง สีเทา ไม่เคลือบผิว แบบเตาแม่น้ำน้อย
-ก้นอ่างเคลือบผิวด้านในสีน้ำตาลอมเหลือง เตาแม่น้ำน้อย
-ชิ้นส่วนชามเคลือบสีเทาอมฟ้า แบบเตาศรีสัชนาลัย
Porcelain
-ไม่พบ


ระดับ 190 – 200 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 500 กรัม )
Earthenware
-ชิ้นส่วนฝาจุกภาชนะดินเผา
-เศษหม้อดินเผาลายขูดขีดตัดกันไปมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
Stoneware
-เศษถ้วยเคลือบสีขาวขุ่นขนาดเล็ก จำแนกไม่ได้ว่ามาจากแหล่งใด
-ชิ้นส่วนก้นครกดินเผาเนื้อหนาคล้ายเตาแม่น้ำน้อย
-ชิ้นส่วนไหดินเผา เนื้อหนา ลายพวงอุบะ ( ลายคล้ายพู่หรือเม็ดพริก ) เตาบ้านบางปูน
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 200 – 210 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาเล็กน้อย ( 1,900 กรัม )
Earthenware
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-เศษหม้อลายขูดเป็นร่องคล้ายรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน
-เศษหม้อขูดขีดเป็นตาราง
-เศษหม้อทำลวดลายคล้ายไผ่สานทาบ
-เศษหม้อมีลายเป็นร่องรอบคอ
-ฝาภาชนะดินเผา
-เศษคณฑีหรือป้านน้ำ เคลือบน้ำดินสีแดงเขียนลายสีดำ เตาสุโขทัย
Stoneware
-ชิ้นส่วนชามเคลือบสีเขียวอมฟ้ามีลายนูนรูปกลีบบัวที่ก้น จากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย
-ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ผิวสีเทา
-ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ประดับลายดอกไม้ 4 กลีบ (คล้ายดอกลำดวน) ใต้ลายลูกคลื่น
-ชิ้นส่วนอ่างดินเผา เนื้อค่อนข้างแกร่ง เคลือบน้ำดินสีแดง
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 220 – 230 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาทับถมหนาแน่น ( 2,500 กรัม )
Earthenware
-เศษขอบปากหม้อแบบโค้งผายออก มีลายกดหรือขีดเป็นเส้นหยักสั้นๆรอบคอ เคลือบผิวด้วยน้ำดินสีดำ
ไม่ค่อยพบบ่อยนัก
-เศษหม้อเนื้อหนา ค่อนข้างแกร่ง มีลายขูดเป็นร่อง 3 ร่องรอบตัว
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-เศษหม้อลายขูดคล้ายไผ่สานทาบ
-เศษหม้อขูดเป็นลายรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน
-เศษฝาหม้อดินเผา
-จุกฝาหม้อยอดแหลม
-ชิ้นส่วนตะคันดินเผา แบบก้นตัด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซ.ม.
Stoneware
-ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ผิวสีเทา ประดับลายดอกพิกุลหรือดอกลำดวน (รางเลือน) รอบคอแบบเตาบ้านบางปูน
-ชิ้นส่วนไหเนื้อหนาแบบเตาแม่น้ำน้อย
-เศษชามเคลือบผิวสีเขียวอมน้ำตาล เตาศรีสัชนาลัย
-เศษชามเคลือบผิวสีขาวขุ่น เขียนลายสีดำแบบเวียดนาม
-เศษชามเคลือบผิวสีเขียว ขอบปากหยักแบบใบบัว เตาหลงฉวน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 – 20
Porcelain
-ไม่พบ

ระดับ 230 – 240 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาค่อนข้างหนาแน่น ( 4,200 กรัม )
Earthenware
-เศษหม้อลายขูดขีดตัดกันไปมาไม่เป็นระบบ
-เศษหม้อลายประทับรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน
-เศษหม้อลายตีตัดกัน มีปุ่มรอบคอ
-เศษหม้อร่องไขว้ตัดกัน
-เศษหม้อลายไผ่สาน
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-ชิ้นส่วนคณฑีหรือป้านน้ำ เคลือบน้ำดินสีแดง เขียนลายสีดำเป็นเส้นรอบตัว (คล้ายแหล่งเตาสุโขทัย)
Stoneware
-เศษชามเคลือบสีขาว เขียนลายสีดำหรือน้ำเงินอมเขียว เตาสุโขทัย
-เศษชามเคลือบสีขาวขุ่น เขียนลายสีดำ แหล่งเตาสุโขทัย
-เศษชามเคลือบสีขาวอมเขียวเนื้อดินหยาบ (คล้ายแหล่งเตาในเวียดนาม)
-เศษชามเคลือบผิวสีเขียวอมฟ้า แบบเตาศรีสัชนาลัย
-ชิ้นส่วนไหปากกว้าง เนื้อหนา เตาแม่น้ำน้อย
Porcelain
-เศษชามเคลือบผิวสีขาว เขียนลายสีแดงในช่องกระจก สมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย (พบเพียงชิ้นเดียว)
ระดับ 240 – 250 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาหนาแน่น ( 6,200 กรัม )
Earthenware
-ชิ้นส่วนฝาหม้อ แบบแอ่นหงายมีจุก (ฝาละมี)
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา แบบร่องคั่น
-เศษหม้อลายร่องตัดกันคล้ายรปทรงเราขาคณิต
-เศษหม้อประทับลายคล้ายไผ่สานทาบ
-ชิ้นส่วนป้านน้ำหรือคณฑี เนื้อบาง เคลือบน้ำดินสีแดง เขียนลายสีดำเป็นเส้นรอบภาชนะซ้อนกัน ลักษณะ
คล้ายเศษภาชนะที่พบในระดับ 210 -220 cm.dt.
Stoneware
-เศษไหเนื้อหนา ประทับลายดอกไม้สี่กลีบ
-ชิ้นส่วนไหขีดลายวงแหวนรอบคอ
-ชิ้นส่วนไหหรืออ่าง มีลายลูกคลื่นซ้อนกันรอบคอ
-ชิ้นส่วนไหหรืออ่าง มีร่องนูนสลับการกดด้วยเปลือกหอยแครง
-ชิ้นส่วนไหเท้าช้าง
-เศษชามเคลือบสีเขียว มีรอยแตกราน 1 ชิ้น เตาศรีสัชนาลัย
-เศษชามเคลือบเขียวอมเทา เขียนลายสีเขียวอมน้ำตาล เตาสันกำแพง 1 ชิ้น
-เศษชามเคลือบเขียวมีลายใบไม้ในเนื้อภาชนะ เตาศรีสัชนาลัย
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 250 – 270 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผา ( 1,750 กรัม )
Earthenware
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-เศษหม้อลายประทับคล้ายไผ่สานทาบ
-เศษหม้อผิวเรียบ สีส้ม เนื้อบาง
Stoneware
-ชิ้นส่วนไหเนื้อหนา ลายสลับฟันปลา
-ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเคลือบ เตาศรีสัชนาลัย
Porcelain
-ไม่พบ
ระดับ 270 – 290 cm.dt. พบเศษภาชนะดินเผาหนาแน่น ( 4,800 กรัม )
Earthenware
-ชิ้นส่วนฝาหม้อมีจุกกลมมนแบบฝาละมี
-เศษหม้อลายสลับฟันปลา
-เศษหม้อประทับลายคล้ายไผ่สานทาบเป็นร่อง
-เศษหม้อขูดขีดตัดกันเป็นตารางสี่เหลี่ยม
-เศษหม้อขูดลายเป็นร่องรอบคอ
-เศษหม้อประทับลายรูปสามเหลี่ยมระหว่างร่องลึก
-เศษหม้อลายลูกคลื่นซ้อนกันคล้ายที่พบใน Stoneware
Stoneware
-ชิ้นส่วนไหปากกว้างประทับลายกลีบดอกไม้รอบๆปาก คล้ายกลีบบัว เตาแม่น้ำน้อย
-ชิ้นส่วนไหลายลูกคลื่นซ้อนกันใต้แนวร่องนูน เตาแม่น้ำน้อย
Porcelain
-ไม่พบ

บทสรุปและข้อเสนอในการออกแบบบูรณะ
หลักฐานจากเอกสารหลายชิ้น อาทิ พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ คำให้การของขุนหลวงหาวัด คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม บันทึกของชาวต่างชาติร่วมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แผนผังจากการสำรวจของวิศวกรต่างชาติในขณะนั้น และแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี จากการสำรวจของพระยาโบราณธานินทร์ รวมทั้งหลักฐานที่พบจากการขุดแต่งพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้แลเห็นลักษณะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของรากฐานอาคารแห่งนี้ได้อย่างค่อนข้างชัดเจนว่า เคยเป็นพระมหาปราสาทหลักคาทรงมณฑปยอดเดียว มีมุขซ้อนสี่ชั้น มีผนังทั้งสี่ด้าน มีพระปรัศว์ซ้ายขวาชักออกไปทางเหนือและใต้ มีกำแพงแก้ว กำแพงปีกท้องพระโรง และอ่างน้ำขนาดใหญ่ เป็นที่สรงสนาน แต่ปัญหาก็คือ ลักษณะสถาปัตยกรรมซึ่งมีหลังคาเป็นทรงมณฑปมักจะมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน ขณะที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นผังวิเคราะห์รูปทรงสัณนิษฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จึงเสนอเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบที่มียอดมณฑปและไม่มียอดมณฑป


รากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์นั้นมีขนาดใหญ่กว่าพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาท ซึ่งเป็นพระมหาปราสาทยอดมณฑปอีกแห่งหนึ่งในพระราชวังเมืองลพบุรี แต่จากการเปรียบเทียบได้พบว่า เสาติดผนังของพระที่นั่งทั้งสองมีขนาดกว้างเท่ากัน ดังนั้นหลักฐานจุดนี้อาจชี้ได้ว่าความสูงของพระที่นั่งสุทธา-สวรรย์กับพระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญมหาปราสาทคงจะมีขนาดใกล้เคียงกันด้วย และหากคำนึงถึงความเหมาะสมทางภูมิประเทศในพระราชฐานชั้นที่ 3 ซึ่งลดระดับต่ำลงไปกว่าพื้นดินที่รองรับพระที่นั่งดุสิต-สวรรย์ธัญมหาปราสาทแล้ว ระดับน้ำสมมติของหลังคาพระที่นั่งทั้งสององค์น่าจะเท่ากันได้เพื่อทัศนียภาพที่งดงาม


การพบหลักฐานชิ้นส่วนกระเบื้องเคลือบแบบสีเหลืองจักรพรรดิ บริเวณใต้แนวฐานเขียงและลวดบัว ระหว่างพระปรัศว์ซ้ายกับรากฐานระเบียงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ชี้ให้เห็นว่าเมื่อแรกสถาปนาในปี พ.ศ. 2209 พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มีแผนผังอาคารจำกัดอยู่เพียงแค่รากฐานระเบียงพระที่นั่งและท้องพระโรง หลังคาของท้องพระโรงนั้นถูกมุงด้วยกระเบื้องมุงหลังคาแบบสีเหลืองจักรพรรดิอยู่จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2219 เมื่อช่างฝรั่งเศสและช่างอิตาเลียนเข้ามาปรับปรุงระบบการทดน้ำจ่ายน้ำในพระราชวัง เมืองลพบุรี ทำให้มีการขยายรากฐานพระที่นั่งออกไปทั้งด้านเหนือและด้านใต้ พระปรัศว์ซ้ายและขวาก็คงจะถูกต่อเติมขึ้นมาในคราวนี้ โดยช่างทั้งสองชาติได้ฝังแนวท่อน้ำดินเผาโดยรอบระเบียงพระที่นั่งต่อเนื่องมาจากเชิงเขามอด้านใต้เพื่อนำน้ำมาหล่อเลี้ยงอ่างน้ำทุกอ่างในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ การขยายผังพระที่นั่งครั้งนี้คงจะได้ใช้กระเบื้องมุงหลังคาดินเผาสีเหลืองแบบท้องถิ่นมาเสริมกระเบื้องมุงหลังคาสีเหลืองจักรพรรดิส่วนที่ชำรุด และถูกนำมาอัดร่วมกับชั้นทรายใต้พื้นอาคารที่ต่อเชื่อมกัน มิใช่เป็นการเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทั้งหมด เหตุที่เห็นว่ามีการนำกระเบื้องดินเผาสีเหลืองแบบท้องถิ่นมาใช้มุงเครื่องบนพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ในคราวนี้ เนื่องจากภาวะการค้ากับจีนในขณะนั้นเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้วก็ได้ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยาอาจจะสามารถทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองได้เองแล้วในระยะนั้น (ดูสมัยพระเพทราชาและการสร้างวัดบรมพุทธาราม ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2, หน้า 72)


หลักฐานจากแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี ยืนยันให้ทราบว่ากำแพงที่คั่นระหว่างพระราชฐานชั้นที่ 3 กับพระราชฐานฝ่ายใน และตัดบางส่วนของรากฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ออกไป เป็นสิ่งที่ทำขึ้นหลังสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กำแพงดังกล่าวน่าจะเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงกับประวัติเรือนจำลพบุรีในอดีตมากกว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา น่าเสียดายที่กำแพงเรือนจำแนวนี้ถูกก่อเสริมให้สูงและก่ออิฐอุดช่องประตูกำแพงพระราชฐานฝ่ายในของเดิมสมัยพระนารายณ์จนเหลือเพียงช่องเดียวทางด้านเหนือ ทำให้บดบังความสง่างามและทำลายทัศนียภาพของพระราชฐานชั้นที่ 3 และพระราชฐานฝ่ายในลงไปโดยสิ้นเชิง เมื่อคุณค่าของกำแพงแนวนี้เป็นเพียงเครื่องล้อมที่ใช้กักกันนักโทษ จึงไม่เหมาะสมที่จะอนุรักษ์ไว้อีกต่อไป หากแต่ควรเปิดช่องกำแพงออกตามแนวผังเดิมที่ปรากฏในหลักฐานของพระยาโบราณราชธานินทร์


แม้ด้านตะวันตกของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะมีแนวกำแพงปีกท้องพระโรงขวางคั่นอยู่เดิมแล้ว แต่กำแพงดังกล่าวมิได้ปิดทึบตลอดแนว เพราะมีช่องพระทวารเปิดทางเชื่อมเอาไว้ถึงห้าช่องอย่างลงตัวรับกับลักษณะองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ การคงแนวกำแพงไว้อย่างเปล่าเปลี่ยวเช่นนี้ แม้ว่าจะยังคงเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถผ่านเข้าออกด้านหลังกำแพงได้ แต่มีเพียงหนุ่มสาวเดินควงคู่เข้าไปเพื่อใช้เป็นที่ลับตาเท่านั้น


สภาพพื้นที่ลุ่มภายในเขตพระที่นั่งสุทธาสวรรย์จะเกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตกหนัก ในการบูรณะควรจะออกแบบเดินท่อระบายน้ำทิ้งขนาดใหญ่พอประมาณ เพื่อให้ระบายน้ำออกไปอย่างรวดเร็วทางด้านใต้


การขุดแต่งในปีงบประมาณ 2540 น่าจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เพียงก้าวเล็กๆ ก้าวแรก อันจะจุดประกายให้เกิดความสนใจและมีความกล้าหาญต่อการฟื้นฟูรากฐานดั้งเดิมของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ให้มีสภาพใกล้เคียง ดังปรากฏในหลักฐานที่บันทึกไว้ในแผนผังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี มากยิ่งขึ้น ปรัชญาความคิดและความหวังของการทำแผนผังชิ้นนั้นก็เพื่อที่จะรักษารากฐานอาคารที่สืบทอดมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้คงอยู่ต่อไป เราจะปลุกชีวิตและคืนความเคารพต่อแผนผังที่บรรพบุรุษบันทึกไว้ได้หรือไม่ เราจะทำอย่างไรให้เกิดความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์ และมรดกสถาปัตยกรรม

เอกสารอ้างอิงบางส่วน
[1] กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 2,หน้า 54 และ ปรีดา ศรีชลาลัย “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมเอกสารจากหอหลวง” ,แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี ปีที่ 3 เล่ม 2 พ.ศ. 2512,หน้า 33.
[2] คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม,อ้างแล้ว,หน้า 33

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มายาคติเรื่องความกล้าหาญทางวิชาการกับผลประโยชน์และความเป็นปึกแผ่นของชาติบ้านเมือง

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร ทหารกัมพูชาในพื้นที่พิพาทระหว่างไทย-กัมพูชาที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.bangkokpost.com/

ผู้เขียนเห็นด้วยกับผู้รู้ที่บอกว่า “ประวัติศาสตร์ทำให้ทราบรากเหง้าของความเป็นชาติและสามารถวิเคราะห์นิสัยใจคอของคนแต่ละชาติได้”

วิวาทะเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นของปลอม เมื่อพ.ศ.2530 ดูเหมือนจะเป็นแม่แบบที่ทำให้งานวิจัยหลายชิ้นเจริญรอยตามในเชิง Anti-thesis การศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดีของนักวิชาการยุคบุกเบิกก่อนหน้านั้น บางเรื่องผู้เขียนก็เคยได้ยินอดีตผู้บังคับบัญชา คือ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ พูดว่า “เรื่องอะไรที่ไม่มีประโยชน์ต่อบ้านเมือง คุณจะไปศึกษาทำไม”

เหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2554 ทำให้นักข่าวช่อง3 ถามเด็กสาววัยรุ่นว่ารู้สึกอย่างไร เธอตอบว่า “หน้าที่ของชาวบ้านคือ ต้องหนีภัย จะต้องหนีอีกนานเท่าไร อยากให้กลับเหมือนเดิม”

การขัดแย้งกันเรื่องชายแดนเป็นเหตุปกติวิสัยในโลก การลาดตระเวนร่วมกันและการกินข้าวด้วยกันของทหารทหารรวมถึงผลประโยชน์การค้าชายแดนเป็นเรื่องมายา เป็นเรื่องหลอกกัน หากเกิดความขัดแย้งกันจนถึงขั้นใช้กำลังปะทะนั่นแหละจึงจะเป็นเรื่องจริง เพราะเจ็บจริง ตายจริง เสียหายจริง และต้องเตรียมพร้อมที่จะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นเช่นกัน

มีการระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการและผู้รู้สาขาต่างๆออกเผยแพร่ตามสื่อวิทยุและโทรทัศน์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะเมื่อวันเสาร์ที่12 กุมภาพันธ์ 2554 ทีวีดาวเทียมช่องสปริงนิวส์(ขออภัยหากจำผิด)ออกอากาศสดการเสวนาปัญหาดังกล่าวกับนักวิชาการ จำนวน 3 ท่าน มีใจความสังเขปดังนี้

ดร.มรกตฯ ระบุว่า “ไทยยอมรับแผนที่ค.ศ.1907(พ.ศ.2450)ของฝรั่งเศสมานานแล้ว จนกระทั่งสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามรัฐบาลไทยจึงปฏิเสธและเรียกร้องดินแดนคืน( หมายถึงในปีพ.ศ.2483)” และชี้ว่าประเทศไทยยอมรับสิทธิของฝรั่งเศส(และต่อมา คือ กัมพูชา)เหนือปราสาทพระวิหารอยู่แล้ว


คำกล่าวที่ว่าทำไมประเทศไทยถึงเพิ่งจะปฏิเสธแผนที่ค.ศ.1907 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามนี้สำคัญมากเพราะเป็นการตั้งคำถามโดยมองข้ามสภาวการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่5 อันเป็นยุคที่สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ที่ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสกำลังไล่ต้อนลูกแกะสยามเข้ามุมก่อนที่จะรุมแทะพื้นที่ของสยามไปได้มากกว่าพื้นที่ที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทย



การที่ต้องเสียพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกับเสียมราฐ ศรีโสภณและพระตะบอง เพื่อแลกจังหวัดจันทบุรีและตราดกลับคืนมา จึงเป็นเหมือนฝันร้ายที่ทำให้ทางการสยามยังไม่สบโอกาสที่จะปฏิเสธแผนที่ดังกล่าวในช่วงเวลาที่กล่าวถึงไปแล้วนั่นเอง



ในเวลาต่อมา การเพลี่ยงพล้ำตกเป็นรองของเยอรมนีในสมรภูมิที่ยุโรปทำให้ฝรั่งเศสอ่อนแอ ทำให้รัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามภายใต้การสนับสนุนของมหาอำนาจชาติเดียวของเอเชียขณะนั้น คือ ญี่ปุ่น กล้าที่จะปฏิเสธอำนาจของฝรั่งเศสและเรียกร้องดินแดนเขมรฝ่ายในกลับคืนมาเป็นผลสำเร็จระยะหนึ่ง และก็น่าจะเข้าใจได้ไม่ยากหากมีคำถามว่า ทำไมกัมพูชาเพิ่งจะมางอแงในตามแนวชายแดนทางด้านศรีสะเกษและสุรินทร์ เพราะพฤติกรรมทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ของแต่ละชาติชาติมันล้อกันมาโดยตลอด

ถ้าเข้าใจไม่ผิด การเสนอความเห็นของดร.มรกตฯ ทำให้ รศ.ดร.พิชายฯ เปรยออกว่า “นักวิชาการบางคนอาจได้รับทุนวิจัยจากภายนอกทำให้เสนอความเห็นและยกหลักฐานขึ้นมาแสดงแบบเห็นอกเห็นใจฝ่ายเขมร”
ซึ่งทำให้ดร.มรกตกล่าวในตอนท้ายของการเสวนาว่า “นักวิชาการจำเป็นต้องมีอิสระในการเสนอความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา”

ผู้เขียนเห็นด้วยกับการมีความกล้าหาญและมีอิสระทางวิชาการ แต่นักวิชาการก็ควรจะมีวิจารณญาณด้วยเช่นเดียวกันว่า อิสรภาพทางความคิดและการแสดงออกจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์และความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติหรือไม่ในอนาคต

ครั้งหนึ่งมีนักวิชาการไทยซึ่งมีชื่อเสียงระดับนานาชาติเคยกล่าวผ่านสื่อทีวีดาวเทียมว่า “คนที่มีความคิดแบบชาตินิยม ...(เป็นคน)...ใฝ่ต่ำ” ทั้งๆที่ท่านก็ทิ้งมาตุภูมิไปเสพสุขอยู่ในสหรัฐอเมริกาจนอาจได้กรีนการ์ดเรียบร้อยไปแล้ว กระนั้นผู้เขียนก็เห็นด้วยอีกนั่นแหละหากเป็นชาตินิยมที่ว่านั้นเป็นชาตินิยมแบบ Nazism คือ หลงเชื่อว่าเชื้อชาติของตนบริสุทธิ์กว่าชนชาติอื่น จนนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในอดีตสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ระหว่างพ.ศ.2483-2488

แต่ชาตินิยมเชิงสร้างสรรค์ก็มีหลายรูปแบบที่ถูกซ่อนไว้ โดยอธิบายเพียงด้านเดียวให้ดูน่ากลัว ตัวอย่างชาตินิยมเชิงสร้างสรรค์ อาทิ ชาตินิยมในด้านการบริโภคสินค้าพื้นเมืองเพื่อลดปัญหาขาดดุลทางการค้า เคยช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศมาแล้ว ชาตินิยมด้านการสร้างเสริมความเข้มแข็งทางมรดกวัฒนธรรมก็ทำให้เกิดความหลากหลายทางด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว และชาตินิยมในการหวงแหนมาตุภูมิซึ่งปลูกฝังกันในหมู่ทหารรั้วของชาติ ก็ทำให้ลูกหลานไทยมีแผ่นดินเกิดแผ่นดินตายกันมาถึงทุกวันนี้


เมื่อไทยเสียอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารให้กับประเทศกัมพูชา ในปีพ.ศ. 2505 หมาดๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่า อดีตชาวนาและอดีตทหารกองหนุนอย่าง ลุงบัวลอย ชูเวช ถึงกับออกปากอยากจะเข้าไปจัดการกับผู้นำของฝ่ายตรงข้าม

การที่นักวิชาการแสดงทัศนะออกมาอย่างซื่อๆ ว่า การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการอย่างมีอิสระเป็นความกล้าหาญของนักวิชาการ แม้ความเห็นนี้จะน่าชื่นชม แต่ถ้าเป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะอาจจะถูกฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้เป็นอาวุธย้อนกลับมาบ่อนทำลายผลประโยชน์ของชาติในวันใดวันหนึ่งก็ได้

ผู้เขียนเห็นว่า นักวิชาการควรจะตระหนักสักเล็กน้อยด้วยซ้ำว่า บรรดาฝ่ายตรงข้าม คือ สมเด็จ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา กับ ฯพณฯ ฮอ นำ ฮง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนั้น แม้จะเป็นมิตรประเทศเพื่อนบ้าน แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งที่กระทบกับผลประโยชน์ของชาติตนคราวใด พวกท่านเหล่านั้นเคยแสดงความคิดเห็นแบบซื่อๆ ใสๆ ตรงไปตรงมาโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาวกัมพูชาบ้างหรือไม่


นักวิชาการ(รวมถึงสื่อมวลชนไทยบางค่าย)พึงสำเหนียกบ้างว่า ทุกครั้งที่มีการแสดงความคิดเห็นต่อกรณีความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาของผู้นำและสื่อมวลชนของประเทศเพื่อนบ้านนั้น พวกเขาคำนึงถึงผลประโยชน์ของกัมพูชา หรือ ผลประโยชน์ของประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ชื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อ่านว่า สะ-หริด หรือ สะ-ริด ?

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ในช่วงปลายสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ ๒ ในเอเชีย) พ.สมานคุรุกรรมได้เล่าถึงบทบาทของทหารไทยในกองทัพพายัพตอนหนึ่งจากบันทึกของพลตรีหลวงหาญสงครามว่า เมื่อประมาณปลายเดือน มกราคม ๒๔๘๗ พลโท จิระ วิชิตสงคราม แม่ทัพพายัพคนใหม่มีคำสั่งให้พลตรีหลวงหาญสงครามกับพันเอกหลวงเกรียงเดชพิชัย ผู้บัญชาการกองพลที่ ๔ ไปพบที่เมืองพยาค และสั่งการให้ส่งเชลยทหารจีนไปพบกับผู้บัญชาการกองพลที่ ๙๓ ของจีน ซึ่งตั้งประจัญกันคนละฝั่งแม่น้ำ เพื่อเจรจายุติการรบ เพราะการที่ประเทศไทยต้องเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเกิดจากสถานการณ์บังคับ เมื่อกลับมาแล้วพลตรีหลวงหาญสงครามจึงให้หาธงขาวเขียนภาพจับมือไขว้ให้ร้อยตำรวจโท ธานี สุนทรกิจ ล่ามภาษาจีน เขียนหนังสือตามใจความข้างต้นและให้จ่านายสิบหนึ่งนายกับพลทหารจีนที่เป็นเชลยสามนายกับเสบียงอาหารพอกินได้สองวันเดินทางไปยังเมืองมะ พร้อมด้วยนายทหารฝ่ายเสนาธิการ นายทหารคนสนิทและหน่วยคุ้มกันเพื่อสมทบกับ พันโท ประยูร สุคนธทรัพย์(ยศขณะนั้น) ผู้บังคับการกองพันทหารราบซึ่งยึดเมืองมะและรักษาชายแดนแม่น้ำลำให้ร่วมเดินทางไปยังเมืองลา จากนั้นจึงส่งชุดเชลยศึกให้ลุยข้ามน้ำไปยังฝั่งเขตแดนจีนและให้พันโท ประยูร สุคนธทรัพย์จัดหมู่รับข่าวไว้ที่ชายฝั่งแม่น้ำลำ[1] เรื่องราวทางการทหารและการเมืองระหว่างประเทศในสงครามมหาเอเชียบูรพามีเนื้อหาโดยละเอียดในหนังสือประวัติการรบของทหารไทยในสงครามมหาเชียบูรพา ซึ่งรวบรวมและเรียบเรียงจากหลักฐานประวัติศาสตร์ และบันทึกคำให้สัมภาษณ์ของอดีตนายทหารที่มีประสบการณ์รบจริงในสงครามข้างต้น หนังสือดังกล่าวจัดทำโดย คณะกรรมการจัดทำหนังสือประวัติการรบของทหารไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา ของกองบัญชาการทหารสูงสุด(ปัจจุบัน คือ กองบัญชาการกองทัพไทย)

พันโท ประยูร สุคนธทรัพย์ ได้รับราชการสืบมาจนกระทั่งได้รับพระราชทานยศสุดท้ายเป็นพลเอกและเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม

ขณะที่รับราชการเป็นภัณฑารักษ์ของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมการศึกษาวิจัย(ปัจจุบัน คือ กรมยุทธศึกาทหาร) กองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้เขียนได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดทำหนังสือประวัติการรบของทหารไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยมีพลเอกประยูร สุคนธทรัพย์ในวัย 84-85 ปีรับหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการฯ ท่านยังมีสุขภาพแข็งแรง พูดจาเสียงดังฟังชัดสมเป็นชายชาติทหาร และมีเมตตาต่อผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง
ผู้เขียนสังเกตว่า พลเอกประยูร สุคนธทรัพย์ท่านมักจะสวมแหวนวงใหญ่ลักษณะคล้ายแหวนเงิน และเหลือบมองบ่อยๆด้วยความสนใจ และนึกในใจ(ตามประสาคนมีตาแต่หามีแววไม่) แหวนหลวงพ่อของท่านประธานวงนี้ช่างใหญ่โตดีจัง
พลเอกประยูรท่านคงจะสังเกตเห็นแววตาสอดรู้สอดเห็นของบริวารคนนี้ ท่านจึงเมตตาเล่าความเป็นมาของแหวนวงดังกล่าวให้ฟังว่า แหวนวงนั้นเป็น “แหวนตราจอมพล” ทำจากทองคำขาว ซึ่งบรรดาพ่อค้าประชาชนร่วมกันทำขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ.2500 เศษๆ เพื่อมอบให้แก่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในผลงานการปราบปรามอาชญากรรมให้สงบอย่างราบคาบด้วยความเด็ดขาด จนเป็นที่มาของคำกล่าวเปรียบเปรยทุกครั้งเมื่อเห็นความหย่อนยานของผู้รักษากฎหมายว่า “เรื่องอย่างนี้ถ้าเป็นสมัยจอมพลสฤษดิ์ละน่าดู” แต่จอมพลสฤษดิ์ ไม่รับ และมอบให้แก่พลเอกประยูร สุคนธทรัพย์แทน
ขณะนั้นพลเอกประยูร สุคนธทรัพย์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ถามท่านว่า “พี่ยูร ผมจะให้พี่ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม พี่จะรับหรือไม่” พลเอกประยูร สุคนธทรัพย์ กล่าวปฏิเสธตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมด้วยความถ่อมตน เพราะเห็นว่าจะต้องรับภารกิจเพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย ท่านจึงขอรับหน้าที่เป็นเพียงรองปลัดกระทรวงกลาโหมเท่านั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงมอบแหวนจอมพลวงดังกล่าวให้แก่ท่าน และพลเอกประยูร สุคนธทรัพย์ก็ได้สวมแหวนดังกล่าวติดนิ้วมาโดยตลอดจวบจนวาระสุดท้ายเมื่อพ.ศ.2542

ประเด็น คือ พลเอกประยูร สุคนธทรัพย์เรียกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นบุคคลร่วมสมัยของท่านว่า “จอม-พน สะ-ริด ธะ-นะ-รัด”อย่างชัดเจนโดยตลอด ผู้เขียนจึงใคร่บันทึกความทรงจำนี้ไว้เพื่อเป็นอนุสาวรีย์อันยั่งยืนอีกด้านหนึ่งของท่านพลเอกประยูร สุคนธทรัพย์และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

[1] พ.สมานคุรุกรรม, เรื่องเล่าจากอดีต (๑๐) ต่วยตูน ธันวาคม ๒๕๔๖ ปักษ์แรกมุมประวัติศาสตร์ห้องสมุด ๒๑-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ อ้างจาก http://www.bloggang.com/viewblog

เทพีธาเลีย(Thalia)ที่พระราชวังบางปะอิน

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เทพีธาเลียเป็นเทพีแห่งเรื่องราวสนุกสนาน(Comedy) มือขวาถือม้วนกระดาษ มือซ้ายถือหน้ากากตัวตลก