พิทยาจารย์: มุมมองใหม่ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรม
การอธิบายทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรม บนพื้นฐานการวิพากษ์ วิจารณ์ และต่อยอดองค์ความรู้จากบุรพาจารย์โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555
รายงานการสำรวจโบราณสถานเมืองศรีมโหสถ อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี
เผยแพร่โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
(ระหว่างที่ผู้เขียนรับราชการเป็นนักโบราณคดี(ลูกจ้างชั่วคราว)ในโครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อพ.ศ.2529 ผู้เขียนมีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปสำรวจเมืองโบราณศรีมโหสถกับคณะสำรวจภายใต้การนำของคุณมานิต รัตนกุล นายช่างศิลปกรรม7 การทำงานภาคสนามโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานแม้จะมีคณะทำงานร่วมทางไปด้วย แต่บ่อยครั้งก็ต้องออกเดินล่วงหน้าไปก่อนเพื่อสำรวจตำแหน่งและชี้เป้าโบราณสถานให้ช่างในคณะสำรวจส่องกล้องและบันทึกตำแหน่งลงในแผนผังเมืองโบราณ อุกรณ์ราคาแพงที่นำติดตัวไปด้วยคือกล้องเพนแท๊กซ์โบราณเลนซ์ใหญ่ (ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว)พร้อมอุปกรณ์ครบชุด หนักมาก บางครั้งแดดจัดมากๆ ก็แอบนอนเอนหลังในคูน้ำบ้าง ใต้ต้นไม้ใหญ่บ้าง ไม่มีใครรู้ สนุกดี บางวันก็มุดเข้าไปสำรวจในพงป่ารกเรื้อ กำลังมองหาร่องรอยโบราณสถาน ก็ตกใจแทบช็อคเพราะได้ยินเสียงร้องกึกก้องและถีบกิ่งไม้เพื่อกระพือปีกบินหนีออกไปอย่างรุนแรงของนกปากใหญ่ ชนิดหนึ่งซึ่งตัวโตมากๆ บางวันก็เจองูเชือกตัวเรียวเล็ก แต่กลับมีนิสัยดุร้าย เลื้อยแผล็บไป แผล็บมาไม่ยอมให้เดินผ่านไปง่ายๆ จนใจเสีย ไม่กล้าเดินหน้าต่อไป บางวันขณะที่เดินสำรวจในตัวเมืองศรีมโหสถอยู่คนเดียว แต่กลับมีเสียงย่ำใบไม้ขยับขลุกๆ ห่างออกไปเรื่อยๆ พอหยุดเดิน เสียงนั้นก็พลอยหยุดเช่นกัน ในใจก็ขอให้เป็นเพียงกระต่ายก็พอ
เยื้องกับทางเข้าวัดสระมรกต มีศาลเจ้าแม่สร้อยระย้า หรือ เจ้าแม่ทับทิม ไม่แน่ใจ ผู้ใหญ่เบิ้ม เล่าว่าบางคืนขับรถผ่าน เคยเหลือบเห็นผู้หญิงผมยาวยืนหันหลังข้างๆ ศาล เย็นวันหนึ่ง ผู้เขียนอาสายืมรถจักรยานยนต์ป้ายวงคนครัวจากบ้านสระข่อยไปรับช่างสำรวจซึ่งกลับไปเยี่ยมบ้านวันหยุดที่ปากทางหมู่บ้านโคกพนมดี พอขับรถผ่านศาลดังกล่าวรถเจ้ากรรมก็ดับเอาดื้อๆ เสียอย่างนั้น กิตติศัพท์เรื่องผู้หญิงผมยาวยืนหันหลังอยู่ข้างศาล ทำให้ผู้เขียนพยายามใช้ทั้งมือ ขา เท้าและก้นให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด กึ่งคล่อม กึ่งเข็น กึ่งขี่ กึ่งสตาร์ทเพื่อพาทั้งรถทั้งคนออกจาก "ที่เกิดเหตุ" ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในใจก็สวดพระคาถา "ตัสสะ นะโม ตัสสะ นโม" อึงอล พร้อมกับอธิษฐาน "เจ้าประคุ๊ณ ขอให้มีคนมาช่วยทีเถิด" พอขึ้นถนนใหญ่หน้าแขวงการทางก็มี(น่าจะ)วัยรุ่น 3 คน เดินตะคุ่มๆ ถามมาแต่ไกลข้างหลังว่า " พี่รถเป็นไร" ทั้งๆ ที่กลัวจะเจอเจ้าแม่แบบไม่พึงประสงค์ แต่ก็กลัวคนไม่ดีด้วยเช่นกัน เลยตอบกลับไปว่า "ไม่เป็นไรครับ ขอบคุณครับ" พอพ้นรัศมีศาลประมาณ 100 เมตรเศษก็สตาร์ทรถติด ในใจก็คิดว่า ขากลับมาคงไม่น่ากลัวเพราะจะมีเจ้าจุ๋มช่างสำรวจติดรถกลับมาด้วย
แต่เมื่อไปถึงปากทางเข้าบ้านโคกพนมดี กลับไม่พบช่างสำรวจ ขับรถเครื่องเข้าไปดูที่บ้านพักที่สถานีอนามัยโคกพนมก็ไม่เจอใคร ทำให้รู้สึกกลัวมากเพราะจะต้องขับรถเครื่องคนเดียวผ่านศาลเจ้าแม่กลับไปบ้านป้ายวงอีกครั้ง แต่นึกขึ้นมาได้ว่าแถวนั้นมีทางเข้าหลายซอย จึงเลือกใช้ซอยที่ไม่ต้องผ่านศาลดังกล่าวโดยลำพัง
วันรุ่งขึ้น ผู้เขียนไม่สามารถออกไปเดินสำรวจทางด้านตะวันออกของเมืองโบราณศรีมโหสถ ถัดจากนิคมโรคเรื้อนต่อได้ เนื่องจากมีอาการมึนศีรษะ ตัวร้อน ไข้สูง เหงื่อออก และหนาวสั่นเล็กน้อย พี่กิตติพงษ์ กุมพิโรเป็นคนปั่นจักยานผู้ชายคานคู่ของตาหลวย(ปั่นแบบเอวอ่อนบิดไปบิดมา)ไปตามหมอสร้อยสน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาตรวจอาการที่บ้านพัก แล้วบอกว่าเป็นไข้หัด จากนั้นก็ฉีดยาแก้ไข้ให้จนอาการทุเลาลง ในอีก 2-3 วันต่อมา
ผู้เขียนไม่ได้เล่าเรื่องรถดับหน้าศาลเจ้าแม่ให้สมาชิกในคณะสำรวจฟัง มิฉะนั้น ลุงสมุทร หมอขวัญ แห่งชายป่าผีปู่ตาบ้านโคกพนมดีคงจะถูกตามไปเยี่ยมไข้แทน)
รายงานการสำรวจโบราณสถานเมืองศรีมโหสถ หมู่ที่ ๑ บ้านสระมะเขือ, หมู่ที่ ๒ บ้านโคกวัด และ หมู่ที่๗ บ้านหนองสะแก ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี
คณะสำรวจ
นายมานิต รัตนกุล ช่างศิลปกรรม7
นายกิตติพงษ์ กุมภิโร ช่างสำรวจ 3
นายอรรถพล ธรรมสุทธิ ช่างสำรวจ
นายอนุชา(พิทยะ) ศรีวัฒนสาร นักโบราณคดี(ผู้ค้นคว้าและเรียบเรียงรายงานการสำรวจ)
คณะสำรวจ
นายมานิต รัตนกุล ช่างศิลปกรรม7
นายกิตติพงษ์ กุมภิโร ช่างสำรวจ 3
นายอรรถพล ธรรมสุทธิ ช่างสำรวจ
นายอนุชา(พิทยะ) ศรีวัฒนสาร นักโบราณคดี(ผู้ค้นคว้าและเรียบเรียงรายงานการสำรวจ)
คำนำ
ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ๒๕๒๙ และเดือนสิงหาคม – กันยายน ๒๕๒๙ โครงการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานได้ดำเนินการสำรวจและทำแผนผังโบราณสถานในเขตอำเภอโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภออรัญประเทศ อำเภอพระยา อำเภอวัฒนานคร และอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณสถานในเขตเมืองโบราณศรีมโหสถ ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี
ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ๒๕๒๙ และเดือนสิงหาคม – กันยายน ๒๕๒๙ โครงการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานได้ดำเนินการสำรวจและทำแผนผังโบราณสถานในเขตอำเภอโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภออรัญประเทศ อำเภอพระยา อำเภอวัฒนานคร และอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบราณสถานในเขตเมืองโบราณศรีมโหสถ ตำบลโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองศรีมโหสถ ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ การสำรวจเมืองโบราณศรีมโหสถในระยะแรก ( พ.ศ. ๒๕๐๓) ใช้วิธีการเดินสำรวจและสเกตซ์ภาพแผนผัง คูน้ำ คันดินของเมืองโบราณ ต่อมาได้อาศัยแผนที่ระวางที่ดิน ( อ้างอิงภาพถ่ายทางอากาศโครงการจัดทำน.ส.๓) ของเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินกิ่งอำเภอโคกปีบเป็นแนวทางในการบันทึกตำแหน่งของโบราณสถานสำคัญๆ แต่ตำแหน่งของโบราณสถานบางแห่งก็คลาดเคลื่อนไปจากความจริงบ้าง และลงตำแหน่งแต่เพียงโบราณสถานที่ถูกขุดแต่งแล้วเท่านั้น และที่สำคัญคือการขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีมโหสถเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๘ นั้น มิได้มีการกันเขตพื้นที่โบราณสถานหรือทำแผนผังอย่างชัดเจน จึงทำให้มีราษฎรบุกรุกเข้าไปถือครองเลี้ยงชีพในเมืองโบราณสถานอันเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เนินโบราณสถานเป็นจำนวนมากถูกทำลายนอกเหนือไปจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ
การศึกษาเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถโดยกรมศิลปากรดำเนินการอย่างจริงจัง ระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๒๕ การขุดแต่งโบราณสถานทำให้ได้พบหลักฐานที่มีคุณค่าทางโบราณคดีจำนวนมาก แต่การขุดแต่งโบราณสถานก็มิได้แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม โครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานเชื่อว่า รายงานการสำรวจเมืองศรีมโหสถนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญอันหนึ่งในการศึกษาแหล่งวัฒนธรรมเมืองศรีมโหสถ (หรือ ดงศรีมหาโพธิ)ในอนาคตต่อไป
(โครงการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานกองโบราณคดี กรมศิลปากร ๒๐ ก.ย. ๒๕๒๙)
สารบัญ
ที่ตั้งและสภาพทั่วไป
ลักษณะทางปฐพีวิทยา
ลักษณะแผนผังเมืองโบราณศรีมโหสถ
แหล่งน้ำ
-ระบบการระบายน้ำและหล่อเลี้ยงคูเมือง
เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถ
-การค้นพบโบราณวัตถุบางชิ้น
ประวัติการขุดแต่งโบราณสถานเมืองศรีมโหสถ
เนินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดแต่งทางโบราณคดี
หลักฐานเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ
การกำหนดอายุเมืองโบราณศรีมโหสถ
สรุปและข้อคิดเห็นบางประการ
ภาพประกอบ
บรรณานุกรม
ที่ตั้งและสถาพทั่วไป
เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขต ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านสระมะเขือ, หมู่ที่ ๒ บ้านโคกวัด และ หมู่ที่ ๗ บ้านหนองสะแก ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี การเดินทางไปยังเมืองโบราณศรีมโหสถ เริ่มต้นที่สี่แยกโคกปีบ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามทางหลวง จังหวัดหมายเลข ๓๐๗๑ สายโคกปีบ- ศรีมหาโพธิ ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ เมืองโบราณอยู่ทางด้านขวามือ (ทิศใต้) ของทางหลวงจังหวัด โดยอยู่ห่างจากถนนประมาณ ๒๐ – ๖๐ เมตร ตามแนวของคูเมืองโบราณกับแนวถนน
ในทางภูมิศาสตร์เมืองโบราณศรีมโหสถตั้งอยู่ที่ประมาณพิกัด ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ที่ประมาณพิกัด ๔๗ PQR ๖๑๒๓๗๖ หรือประมาณเส้นรุ้ง (Lat.) ที่ ๑๓ องศา ๕๓ ลิบดา ๕๗ พิลิบดาเหนือ เส้นแวง (Long.) ที่ ๑๐๑ องศา ๒๔ ลิบดา ๕๗ พิลิบดาตะวันออก
ทิศตะวันออก ที่ประมาณพิกัด ๔๗ PQR ๖๑๒๓๗๖ หรือเส้นรุ้ง ที่ ๑๓ องศา ๕๓ ลิบดา ๕๕ พิลิบดาเหนือ เส้นแวง ที่ ๑๐๑ องศา ๒๕ ลิบดา ๒๐ พิลิบดาตะวันออก
ทิศใต้ ที่ประมาณพิกัด ๔๗ PQR ๖๑๒๓๗๖ หรือเส้นรุ้ง ที่ ๑๓ องศา ๕๓ ลิบดา ๒๒ พิลิบดาเหนือ เส้นแวง ที่ ๑๐๑ องศา ๒๔ ลิบดา ๕๗พิลิบดาตะวันออก
ทิศตะวันตก ที่ประมาณพิกัด ๔๗ PQR ๖๑๒๓๗๖ หรือเส้นรุ้ง ที่ ๑๓ องศา ๕๓ ลิบดา ๓๐ พิลิบดาเหนือ เส้นแวง ที่ ๑๐๑ องศา ๒๔ ลิบดา ๓๓ พิลิบดาตะวันออก
(ที่มา แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศกรมแผนที่ทหารระวาง ๕๒๓๖ – I ลำดับชุด L ๗๐๑๗ พิมพ์ครั้งที่ ๑ – RTSD บ้านดงกระทงยาม มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐)
สภาพภูมิประเทศ
ดงศรีมหาโพธิเป็นดงไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาบรรทัดทางทิศเหนือ และเทือกเขาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ทางทิศใต้ โดยมีที่ราบลุ่มแม่น้ำท่วมถึงคั่นทางตอนเหนือ (ที่มา : แผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน ๑ : ๑,๐๐๐,๐๐๐)
พื้นที่ของดงมหาโพธิอยู่ในเขตอำเภอโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จ. ปราจีนบุรี บางส่วนของอำเภอพนมสารคามและติดต่อพื้นที่ป่าในเขตกิ่งอำเภอสนามไชย จ. ฉะเชิงเทรา อำเภอพนัสนิคม จ. ชลบุรี และป่าดิบในเขตจังหวัดจันทบุรี
ภูมิประเทศที่อยู่ตอนกลางโดยเฉพาะอย่างทางตอนใต้ของดงศรีมหาโพธิ์ในเขตที่ติดต่อกับเทือกเขาทางตอนใต้จะสูงกว่าพื้นที่ทางตอนเหนือและพื้นที่ชายดงโดยรอบทำให้เมืองศรีมโหสถซึ่งตั้งอยู่บนจงอยชายดงทางทิศเหนือ สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยโดยประมาณ ๒๐ เมตร ในขณะที่พื้นที่สูงสุดของดงศรีมหาโพธิ์ในเขตอำเภอโคกปีบอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓๓ เมตร (ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร) และสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓๖ เมตร ใกล้หนองโพรงในเขตหมู่บ้านโคกพนมดี และหมู่บ้านโป่งตะเคียน (ห่างจากตัวเมืองโบราณไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๖ กม. และ ๑๐ กม. ตามลำดับ)
พื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงตอนเหนือของตัวเมืองศรีมโหสถ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๗ เมตร และลดระดับความสูงลงไปเรื่อยๆ จนเหลือ ๕-๑๐ เมตร จากระดับทะเลบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำประจันตะคาม และคลองสัมพันธ์ ห่างจากตัวเมืองศรีมโหสถ ๒๐ กม. ไปทางเหนือ และ๑๐ กม. ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำท่วมถึงทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๗ เมตร และลดต่ำลงไปเรื่อยจนถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำลำคลองท่าสาดในเขตอำเภอพนมสารคามซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๖-๑๐ เมตร ตามลำดับ
จากสภาพภูมิประเทศดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าแหล่งน้ำและลำน้ำสำคัญทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองศรีมโหสถ ได้แก่ หนองลาด สระมะเขือ และบึงเจ้าฟ้า ต่างก็เป็นต้นน้ำของคลองลำผักชีซึ่งไหลไปรวมกับแม่น้ำปราจีนบุรี ทางทิศเหนือในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ(ห่างจากเมืองศรีมโหสถ ๑๐ กม.) และไหลไปทางทิศตะวันตกสู่คลองบางหลวงและคลองบางพลวงเพื่อไปรวมกับแม่น้ำปราจีนบุรีที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี (ห่างจากเมืองศรีมโหสถไปทางเหนือประมาณ ๒๐ กม.)
นอกจากนี้ลำน้ำสำคัญดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีลำน้ำสาขาย่อยๆ และแหล่งน้ำเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ลำน้ำเหล่านี้อาจเป็นทางคมนาคมสำคัญในอดีตที่ใช้ติดต่อกับเมืองโบราณแห่งอื่นๆ เช่น เมืองโคกขวาง ซึ่งตั้งอยู่ในที่ลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำสัมพันธ์ ในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ ลำนชุมชนในลุ่มแม่น้ำคลองท่าลาด ในอำเภอพนมสารคามนอกเหนือไปจากการคมนาคมทางบก
ลักษณะปฐพีวิทยา
R.L Rendleton (Tentative series, ๑๙๔๓: Revision, ๑๙๗๑ ; อ้างจาก วิจิตร ทันด่วน กองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ได้จำแนกลักษณะดินภายในเมืองศรีมโหสถ บริเวณใกล้เคียงให้อยู่ในชุดดินกบินทร์บุรี
ชุดดินกบินทร์บุรี เป็นดินร่วนเหนียวปนเม็ดกรวดเรียกกันว่า ดินลูกรัง เกิดจากวัตถุที่มีอยู่เดิมของหินดินดาน (Shale) และเกิดขึ้นจากพื้นผิวที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน พบพอประมาณ บริเวณที่ลาบลุ่มภาคกลางทางทิศตะวันออก (แถบปราจีนบุรี และฉะเชิงเทราเป็นส่วนใหญ่) ความต่างระดับของผิวดิน มีตั้งแต่เกือบราบเรียบไปจนถึงสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชันประมาณ ๑-๔ % สภาพภูมิอากาศแบบสภาพทุ่งเขตร้อน (Savanah) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๒,๒๐๐ อุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๗ องศา
ชุดดินกบินทร์บุรี มีการระบายน้ำดี แต่การไหลซึมลงไปในดินมีอัตราปานกลางถึงช้า เนื่องจากมีชั้นเนื้อแข็งของแผ่นศิลาแลงเบาๆ กั้นอยู่เบื้องล่าง ระดับความลึกประมาณ ๑-๑.๕ เมตร จากผิวดินตลอดปี
ชุดดินกบินทร์บุรี หนาประมาณ ๔๐ –๕๐ เซนติเมตร ถัดลงไปเป็นชั้นศิลาแลง หนา ๒-๓ เมตร (ช่วงนี้จะมีแผ่นชั้นศิลาแลงแข็งแทรกอยู่ในแนวขนาน ความลึกประมาณ ๑-๑.๕ เมตร จากผิวดิน) ดังตัวอย่างที่ผนังสระแก้วเป็นต้น
ลักษณะแผนผังเมืองโบราณศรีมโหสถ
เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินสี่เหลี่ยมค่อนข้างรี มุมมนล้อมรอบ ขนาดประมาณ ๗๐๐ x ๑,๐๐๐ เมตร คิดเป็นเนื้อที่ ๗๔๒ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา ตัวเมืองตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ คูเมืองทั้งสี่ด้านกว้างประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร คูเมืองด้านทิศเหนือลึก ๑-๓ เมตร เศษ ทิศตะวันออกลึก ๓-๖ เมตร ทิศใต้ ๔-๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ขอบด้านนอกถูกขุดเว้าออกไปมีลักษณะเป็นเหลี่ยม กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ความกว้างของคูเมืองช่วงนี้ ๔๓ เมตร (ดังภาพลายเส้น)
คูเมืองทางทิศใต้มีลักษณะพิเศษอยู่ ๒ จุด เช่นเดียวกับตัวเมืองด้านทิศตะวันออกจุดแรกอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของโรงพยาบาลโรคเรื้อน ลักษณะเป็นขอบสันศิลาแลงดันนอกยื่นเข้าหาขอบด้านในคูเมือง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ทำให้คูเมืองจุดนี้กว้างเพียง ๗ เมตร จุดที่ ๒ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของโรงพยาบาลโรคเรื้อน ลักษณะของคูเมืองตอนนี้ค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าทุกด้าน (ดังภาพลายเส้น)
ขอบคูเมืองที่มีลักษณะพิเศษทั้งสองจุดนี้ อาจจะเป็นที่ตั้งของเชิงเทินป้อมยามกับประตู ทางเข้าออกเมืองโบราณทางด้านทิศตะวันออกและด้านใต้ โดยอาจใช้สะพานชักเป็นทางข้ามคูเมืองส่วนประตูด้านอื่นขณะนี้ยังสำรวจไม่พบ
บนสันด้านในของคูเมืองมีคันดินสูงประมาณ ๑.๕๐-๑๕ เมตร กว้าง ๒ เมตร ล้อมรอบอยู่ทุกด้านคันดินบางช่วงบางตอนทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกถูกไถเกลี่ยลงจนราบเรียบ
ตอนกลางของตัวเมืองมีคูน้ำ กว้าง๑๒ – ๑๕ เมตร วางแนวแบ่งตัวเมืองออกเป็น 2 ส่วนคูน้ำนี้เริ่มต้นจากทางทิศใต้ห่างจากคูเมืองทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ เมตร พุ่งไปทางทิศเหนือ เกือบเป็นเส้นตรงความยาวประมาณ ๑๐๐ เมตรเศษ คูน้ำนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกความยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร ลึก ๓-๔ เมตรเศษ เว้นช่วงไปประมาณ ๒๐ เมตร ช่วงที่สองยาวประมาณ ๕๐๐ เมตร ไปบรรจบกับคูเมืองทางทิศเหนือ ตอนปลายของคูมีสภาพตื้นเขินมากเนื่องจากการไถปรับพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกสร้างบ้านเรือนและเล้าไก่ (พันธุ์เนื้อ) คล่อมทับปลายคู คูน้ำนี้ชาวบ้านเรียกว่า “คูลูกศร”
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ภายในตัวเมือง มีคันดินโบราณขนาดใหญ่สูง ๒ เมตร ความกว้างวัดจากชายคันดิน ๒๐ เมตร ยาว ๒๐๐ เมตร ทอดตัวเป็นแนวจากคูเมืองด้านทิศตะวันตกวกไปหาคูเมืองทางทิศใต้ โดยวางตัวเหลื่อมกับคันดินนอกคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งกว้างประมาณ ๕-๑๐ เมตร ยาว ๙๕๐ เมตร ทอดเป็นแนวลงไปทางใต้ระหว่างสระแก้วกับสระขวัญ ก่อนจะหักมุมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (เกือบขนานกับคูเมืองด้านใต้)จรดหนองแฟบแล้วขาดช่วงไปประมาณ ๕๐ เมตร เนื่องจากมีถนนลูกรังตัดผ่านแล้วจึงต่อยาวไปอีก ๑๐๐ เมตร และขาดหายไปในนิคมโรคเรื้อน ซึ่งมีระดับความสูงของภูมิประเทศมากกว่า คันดินช่วงนี้สูงประมาณ ๓ เมตรเศษโดยตลอด
สำหรับคันดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในคูเมืองนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการเรียงศิลาแลงเป็นชั้นๆ คล้ายเทคนิคการเรียงศิลาแลงในโบราณสถาน และยังพบเศษภาชนะดินเผากับเศษเครื่องเคลือบดินเผากระจายอยู่ด้วย จึงอาจเป็นไปได้ว่าคันดินนี้จะมีหน้าที่เป็นปราการเชิงเทิน หรือ เครื่องล้อมพิเศษของพื้นที่สำคัญในตัวเมืองก็ได้
ภายในตัวเมืองโบราณมีเนินโบราณสถานประมาณ ๒๗ แห่ง ขุดแต่งโดยหน่วยศิลปากรที่ ๕ จำนวน ๑๐ แห่ง ได้แก่โบราณสถานหมายเลข ๒ -๔ - ๖- ๘ -๑๔- ๑๕- ๒๒- ๒๕ และ๒๖ ยังไม่ได้ขุดแต่ง๑๗ แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานที่ถูกลักลอบขุดหาโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ
เนินโบราณสถานทางทิศเหนือของตัวเมืองมีทั้งสิ้น ๑๐ เนิน ขุดแต่งโดยหน่วยศิลปากรที่ ๕ จำนวน๔ เนิน ได้แก่โบราณสถานหมายเลข ๑- ๒- ๑๑- ๑๖ เนินโบราณสถานที่เหลือ ๘เนิน ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุจนหมดสภาพ
ทิศตะวันออกของเมืองโบราณ มีเนินโบราณสถานประมาณ ๔๕ เนิน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสระมะเขือ ขุดแต่งโดยหน่วยศิลปกรที่ ๕ จำนวน๗ เนิน ได้แก่โบราณสถานหมายเลข ๙-๑๐ –๑๗- ๑๘-๑๙-๒๐-๒๑ นอกนั้นเป็นโบราณสถานที่ถูกลักขุดและถูกไถพื้นที่จนหมดสภาพ
ทิศตะวันตก มีเนินโบราณสถานอยู่ ๑๒ แห่ง ขุดแต่งโดยหน่วยศิลปกรที่ ๕ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข ๓ (ภูเขาทอง) นอกนั้นเป็นโบราณสถานที่ถูกลักขุดและถูกไถพื้นที่จนหมดสภาพ ห่างจากมุมเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๗๐ เมตร พบร่องรอยคูน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒๕๐ x ๔๐๐ เมตร คูน้ำดังกล่าวมีลักษณะดังนี้
ทิศเหนือ บางส่วนตื้นเขินจนหมดสภาพเนื่องจากการทำไร่มันสะปะหลังยกเว้นมุม
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังคงลึกประมาณ ๑ เมตร
ทิศตะวันออก ลึกประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๒ เมตรเศษ บางตอนตื้นเขินมีศิลาแลงกระจายอยู่เป็นจุดๆ
ทิศตะวันตก ตื้นเขินจนหมดสภาพเนื่องจากการทำไร่มันสะปะหลัง และปลูกต้น มะม่วงในร่องคูยังคงสังเกตเห็นสันคูได้
คูน้ำทางทิศเหนือนี้ มีทางน้ำไหลสู่หนองน้ำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณ ภายใน
พื้นที่ที่ถูกคันคูล้อมรอบนี้มีเนินโบราณสถานที่ตั้งอยู่อย่างน้อย ๒ เนิน เนินโบราณสถานดังกล่าว ถูกไถจน
หมดสภาพเหลือเป็นเพียงซากกองอิฐและศิลาแลงทางทิศเหนือของคูน้ำ มีบ่อน้ำขนากเล็กประมาณ ๔ แห่ง
และพบเศษกระเบื้องดินเผามุงหลังคากระจายอยู่ทั่วไป แต่ไม่พบเศษภาชนะดินเผาซึ่งแสดงถึงหลักฐานการ
อยู่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งคูน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ล้อมรอบรวมเนินโบราณสถานภายในตัวเมืองและรอบนอก
เมืองศรีมโหสถ มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๑๖- ๑๒๐ เนิน
แหล่งน้ำ
ภายในตัวเมืองศรีมโหสถ มีบ่อน้ำประมาณ ๒๐ บ่อ แบ่งเป็นบ่อกลม ๒ บ่อ บ่อสี่เหลี่ยม ๑๘ บ่อ มีสระโบราณ ๓ สระ ได้แก่ สระมะเฟือง สระมะกรูด และสระทองแดง
ทิศเหนือของตัวเมือง พบบ่อน้ำโบราณ ๑ บ่อ สระ ๑๒ สระ ได้แก่ สระ มะพร้าว สระคู่ สระปลาหมอเป็นต้น
ทิศตะวันออกของตัวเมือง พบบ่อน้ำโบราณ ๖๐ บ่อ สระ ๑๐ สระ หนองน้ำ ๒
แห่ง ได้แก่ หนองขนาก หนองจระเข้
ทิศใต้ พบบ่อน้ำโบราณ ๔๐ บ่อ บ่อกลม ๑ บ่อ บ่อเหลี่ยม ๓๙ บ่อ สระ ๑๙ สระ ได้แก่ สระแก้ว สระขวัญ สระกระท้อน
ทิศตะวันตก พบบ่อน้ำโบราณ ๕ บ่อ สระ ๖ สระ ได้แก่ สระขนุน (สระตาเวิน) เป็นต้น
รอบๆบริเวณสระน้ำและบ่อน้ำที่พบภายในเมืองจะมีหลักฐานการอยาอาศัย หรือการตั้งชุมชนโบราณสถานอย่างหนาแน่น รวมทั้งบริเวณทิศเหนือและทิศตะวันออก นอกคูเมืองออกไปแต่ไม่ไกลนัก ส่วนทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศตะวันตกไม่พบหลักฐานอยู่อาศัย แม้จะมีบ่อน้ำและสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไปก็ตาม
ระบบระบาบน้ำและการหล่อเลี้ยงคูเมือง
เนื่องจากสภาพพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองโบราณศรีมโหสถ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยมากกว่าทางตอนเหนือ ดังนั้น คูเมืองทางด้านใต้จึงถูกขุดลึกกว่าคูเมืองทางทิศเหนือ เพื่อให้มีคุณสมบัติในการเก็บกักและทกน้ำเอาไว้ใช้ตลอดปีได้อย่างเพียงพอ
นอกจากคูเมืองศรีมโหสถจะอาศัยน้ำจากระดับน้ำใต้ดินในการหล่อเลี้ยงคูเมืองแล้วยังพบว่ามีทางน้ำไม่น้อยกว่า ๒ เส้น เส้นทางซึ่งชักน้ำมาสู่คูเมืองแหล่งน้ำนี้อาจใช้หล่อเลี้ยงคูเมืองให้มีน้ำขังในฤดูกาลที่จำเป็นได้แก่
๑. ทางน้ำจากสระบัวล้า ในเขตสระมรกตผ่านสระลึก (หลังโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม) แล้วไหล
ลงหนองแฟบซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมือง ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร ทางน้ำนี้เดิมมีขนาดกว้างประมาณ ๒ – ๓ เมตร ลึก ๑ – ๒ เมตร ปัจจุบันถูกไถปรับพื้นที่เพื่อทำไร่มันสำปะหลังจนหมดสภาพไปแล้วแต่ชาวบ้านหลายคนยืนยันว่า เมื่อสิบปีที่แล้วเคยลงไปไล่หมูป่าในท้องร่องนี้ในหน้าฝน ร่องรอยของทางน้ำนี้ยังคงเห็นได้ชัดทางตอนใต้ของหนองแฟบมีบางตอนที่ถูกถนนลูกรังสร้างทับ
๒. ทางน้ำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคูเมือง ทางน้ำนี้ถูกชักมาจากคูน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด
๑๕๐ x ๒๕๐ เมตร จากสระมะเขือตรงไปยังหนองน้ำด้านทิศตะวันออกของนิคมโรคเรื้อนโดยมีสระน้ำหลายสระอยู่ใกล้ๆ
ในกรณีที่คูเมืองรับน้ำมากเกินปริมาณที่ต้องการ ก็พบว่ามีทางระบายออกนอกตัวเมืองถึงสามจุดด้วยกัน จากคูเมืองด้านเหนือไปสู่ท้องนาและลำน้ำคลองผักชี
จุดแรก ระหว่างที่ดินของนายวิชัย เทวฤทธิ์ กับที่ดินของ นางทองมี มงคล ลักษณะเป็นทางน้ำในหน้าฝนและเป็นทางเดินในหน้าแล้ง
จุดที่สอง ระหว่างที่ดินของนางเจี๊ยบ ช่างเก็บ กับนางไข่ เมตตา ไหลลงทุ่งทางทิศเหนือของเมืองศรีมโหสถ
จุดที่สาม หน้าบ้านผู้ใหญ่เสนอ ธรรมะ (ตรงที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านหนองสระแก) ไหลลงสู่ลำน้ำผักชี
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคูเมืองมีสภาพตื้นเขิน และระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่าเดิมอีกมาก ดังนั้น สภาพปัจจุบันของคุเมืองจึงมีน้ำหล่อเลี้ยง แต่ในหน้าฝนเท่านั้น และเนื่องจากเมืองศรีมโหสถตั้งอยู่บนพื้นที่ลูกคลื่นตอนลาด การไหลซึมลงไปในดินไม่ดีนัก ดังนั้นประโยชน์อีกแง่หนึ่งของการขุดบ่อน้ำและสระน้ำจำนวนมากในที่ต่างๆ นอกคูทางทิศใต้และทิศตะวันนออก คือ การป้องกันมิให้น้ำไหลบ่าเข้าสู่ตัวเมืองหรือคูเมืองรวดเร็วจนเกินไป อันอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันก็เป็นได้
เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถ
เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถที่จดจำเล่าสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน มีทั้งนิทานพื้นบ้านกับเรื่องเล่า ประวัติการค้นพบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญๆ นิทานพื้นบ้านที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถนี้เป็นเรื่องที่อธิบายถึงความเป็นมาของคันดินโบราณสองแนว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ถนนพระมโหสถ กับ ถนนพระนางอมรเทวี ถนนพระมโหสถนี้เป็นคันดินออกจากตัวเมืองศีมโหสถไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านบ้านสระมะเขือ บ้านหัวซา และสิ้นสุดที่บ้านเกาะสมอ ส่วนถนนนางอมรเทวี เริ่มต้นที่บ้านโคกขวาง (เมืองโบราณโคกขวาง) ไปทางทิศตะวันตกผ่านบ้านเกาะม่วง บ้านเกาะเค็ด สิ้นสุดที่บ้านหัวไผ่
เนื้อความของนิทานพอจับใจความได้ว่า ท้าวมโหสถผู้ครองเมืองศรีมโหสถมีความรักใคร่พระนางอมรเทวีแห่งเมืองโคกขวางยิ่งนัก จึงส่งทูตไปเจรจาทาบทามหวังอภิเษกและยกนางขึ้นเป็นมเหสี แต่นางอมรเทวีเสนอเงื่อนไขว่า ถ้าต้องการนางเป็นมเหสีขอให้ทั้งสองฝ่ายสร้างถนนแข่งกันคนละสาย ให้เสร็จเชื่อมกันก่อนดาวประจำเมืองหรือดาวรุ่งโคจรถึงจะยอมแต่งงาน ถ้าแม้นสร้างถนนไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาก็จะไม่ยอมแต่งงานกับท้าวมโหสถ
ดังนั้น เมื่อกำหนดเวลาเรียบร้อยแล้วทั้งสองฝ่ายจึงเกณฑ์ผู้คนสร้างถนนออกจากเมืองของตนเอง แข่งขันกัน จวบจนใกล้จะเสร็จ นางอมรเทวีก็ทำอุบายผูกโคมไฟแขวนไว้บนยอดไม้ ท้าวมโหสถเห็นเช่นนั้นจึงเสียใจเป็นอันมากที่ไม่อาจสร้างถนนให้เชื่อมกันได้ จึงโยนขนมขันหมากทิ้ง ที่บริเวณหนองขันหมากซึ่งอยู่หน้าหมู่บ้านเกาะสมอ
นิทานเรื่องนี้จะถ่ายทอดสืบต่อกันมานานเท่าไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่นักมานุษวิทยาบางท่านเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เล่ากันในหมู่คนลาวที่ถูกกวาดต้อนมาไว้ที่จังหวัดปราจีนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๓ (ศรีศักร วัลลิโภดม เมืองโบราณในภาคตะวันออก รายงานการสัมมนาวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ๑๓ –๑๔ ส.ค. ๒๕๒๔ ) เพื่ออธิบายเกี่ยวกับสถานที่ หรือปรากฏการณ์บางอย่างตามความเข้าใจในขณะนั้น
การค้นพบโบราณวัตถุสำคัญบางชิ้นที่เมืองศรีมโหสถ[1]
ในปีพ.ศ. ๒๓๙๙ กำนันอินทร์กับนายยังบุตรชาย ขุดได้พระพุทธรูปทองคำหนัก ๘ ตำลึง ที่ป่าชายดงศรีมหาโพธิ์จึงนำมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “พระนิรันตราย” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่า[2] เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สถานที่ที่พบพระนิรันตรายเชื่อกันว่า คือ บริเวณเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้ประมาณ ๗๐ เมตร
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ นายเฉย บิดาเป็นชาวจีน ได้ว่าจ้างคนขุดดิน ทำสวนผักภายในเมืองโบราณ ขุดได้รูปหล่อครุฑสำริดที่บริเวณด้านเหนือของสระทองแดงไม่ไกลจากคูลูกศรนัก ต่อมาได้นำไปมอบให้แก่บาทหลวงเปรัวร์ชาวฝรั่งเศส บาทหลวงเปรัวร์ผู้นี้จึงได้นำไปมอบแก่กรมการเมืองปราจีนบุรี
เมือพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ เสด็จฯ ประพาสมณฑลปราจีนบุรี ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศภิบาลมณฑลปราจีนบุรี ขณะนั้นได้นำประติมากรรมครุฑสำริดรูปนี้ ทูลเกล้าฯถวาย ต่อมาจึงโปรดฯให้ซ่อมแซมรูปครุฑโบราณนั้น ให้งดงามเพื่อติดบนยอดธงประจำแผ่นดินอันใหม่ ซึ่งโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น แล้วพระราชทานนามว่า ธงมหาไพชยนต์ธวัช[3] ปัจจุบันนี้เป็นธงประจำกองทัพบก ครุฑสำริดยอดธงนี้คงจะยืนย่อเข่ากางปีก ลักษณะคล้ายอย่างพระราชสัญจกรตราครุฑพ่าห์ในรัชกาลที่ ๖ จึงทำให้ชาวบ้านสูงอายุแห่งบ้านโคกวัดบางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ทรงนำครุฑที่พบในเมืองศรีมโหสถเป็นตราราชการแผ่นดิน
ราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ผู้ป่วยนิคมโรคเรื้อนชานคามิลโล จำนวน ๕ คนได้ขุดพบพระพุทธรูปศิลาทรายสีเขียวปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ที่โคกดินทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตนิคมโรคเรื้อน พระพุทธรูปดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อทวารวดี” ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ศาลาหน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอโคกปีบ
นอกจากโบราณวัตถุสำคัญข้างต้นแล้วยังมีโบราณวัตถุอีกหลายชนิดที่ค้นพบภายในตัวเมืองศรีมโหสถ โบราณวัตถุบางชิ้น ( เช่น เทวรูปพระนารายณ์สวมหมวกแขกบางองค์ พระพุทธรูปธรรมจักรศิลา ลูกปัดแบบที่พบที่เมืองออกแก้ว ซึ่งกำหนดอายุสมัยฟูนัน พุทธศตวรรษที่ ๖-๑๑ และศิวลึงค์) ก็ไม่สามารถกำหนดอายุตำแหน่งที่พบให้แน่นอนได้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและตีความทางโบราณคดี แต่โบราณวัตถุบางชิ้นก็สามารถบอกตำแหน่งที่พบได้อย่างแน่นอนดังจะกล่าวถึงต่อไป
ประวัติการขุดแต่งโบราณสถานเมืองศรีมโหสถ
หน่วยศิลปากรที่๕ จังหวัดฉะเชิงเทราได้ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถานทั้งภายในตัวเมืองและนอกเมือง ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๙ รวมทั้งสิ้น ๒๖ แห่ง เนินโบราณสถานส่วนใหญ่จะมีร่องรอยการลักขุดหาโบราณวัตถุก่อนหน้าการขุดแต่งของหน่วยศิลปากรที่ ๕ ดังผลการขุดดังต่อไปนี้
โบราณสถานหมายเลข ๑
อยู่นอกตัวเมืองทางทิศเหนือเยื้องตอนปลายของคูลูกศร ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๐ เมตร อยู่ใกล้กับที่ดินของ นายสมชาติ ไชยานุสรณ์ ซึ่งเช่าที่ดินของมิซซังคาทอลิกอยู่อาศัย หมู่ที่ ๒ บ้านโคกวัด ตำบลโคกปีบ ลักษณะเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยม กว้าง ๘ เมตร และ ๖.๕๐ เมตร ยาวด้านละ ๙.๕๐ เมตร ก่อด้วยอิฐแบบทวารวดี โบราณวัตถุที่ค้นพบจากการขุดแต่งได้แก่ เศษภาชนะดินเผาแบบทวารวดี เศษเครื่องจีนและแท่นประดิษฐานรูปเคารพทำด้วยศิลาแลง ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมมากเนื่องจากถูกปล่อยทิ้งไว้และขาดการดูแลรักษาภายหลังการขุดแต่ง
โบราณสถานหมายเลข ๒
อยู่นอกตัวเมืองทางทิศเหนือติดถนนสายโคกปิบ – ศรีมโหสถ ระหว่างที่ดินของนายเรือง ธงชัย กับ นายกลิ่น บุญมี (ใกล้กับที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านหนองสระแก) ห่างจากคูเมือง ๒๐ เมตร
ลักษณะเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง กว้างด้านละ ๗.๖๐ เมตร ยาวด้านละ ๘.๒๐ เมตร สูง ๑.๑๕ เมตร รากฐานทางด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันออกบางส่วนแสดงให้เห็นว่ายังขุดแต่งไม่แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์
โบราณสถานหมายเลข ๓
ตั้งอยู่นอกตัวเมืองห่างจากคูเมืองด้านทิศตะวันตกประมาณ ๘๐ เมตร อยู่ทางใต้เขตที่ดินของนายมานิต เพียรงาม ลักษณะเป็นเนินดินรูปกลม สูงประมาณ ๑๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๒๐ เมตร รอบฐานมีเสาศิลาแลงทรงกลมและทรงแปดเหลี่ยมวางรายรอบเป็นระยะๆ นักโบราณคดีบางท่านกล่าวว่า เจดีย์ภูเขาทองนี้อาจมีลักษณะคล้ายกับมหาสถูปสาญจี ประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๓ (นิคม มูสิกะคามะและบรรจบ เทียมทัด, ๑๕๑๕) และเชื่อกันในสมัยรัชกาลที่ ๔ชาวบ้านขุดพระนิรันตราย ได้ที่นี่
โบราณสถานหมายเลข ๔
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง อยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๒๕ เมตร ลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่อยู่ในที่ดินของนางหวน โพธิ์ศรี ปัจจุบันเนินดินถูกไถปรับจนหมดสภาพแล้ว
โบราณสถานหมายเลข ๕
ตั้งอยู่บนสันคูนอกเมือง ห่างจากคูเมืองด้านใต้ประมาณ ๒๐ เมตร อยู่ในที่ดินของหมอซ้ง วงษ์สิน ลักษณะเป็นรากฐานอาคารก่อด้วยอิฐและศิลาแลง รูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๑๕.๒๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สูง ๒๐ เซนติเมตร มีบันไดศิลาแลงทางด้านเหนือ กว้าง ๒.๑๐ เมตร ตรงกลางมีรอยลักขุดหาโบราณวัตถุและลักษณะเป็นอิฐแบบทวารวดี มีสถูปอยู่สองข้าง ทำด้วยหินทรายสีเขียว สูง ๗๕ เซนติเมตร ที่โบราณสถานแห่งนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
โบราณสถานหมายเลข ๖
จากรายงานการขุดแต่งโบราณสถานของหน่วยศิลปกรที่ ๕ โบราณสถานหมายเลข ๖ ตั้งอยู่ในตัวเมืองโคกปีบด้านตะวันตกอยู่ในที่ดินของ มิซซัง คาทอลิกโคกวัด ห่างคูเมืองราว ๑๐๐ เมตร และห่างวิหารหมายเลข ๔ ราว ๒๐๐ เมตร
ลักษณะเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ ๕.๕๐ เมตร ยาวด้านละ ๘.๘๐ เมตร สูง ๙๐ เซนติเมตร
แต่จากการสำรวจและการตรวจสอบตำแหน่งโบราณสถานหมายเลข ๖ ในแผนผังเดิม ที่ทำเอาไว้เดิมเปรียบเทียบกับแผนผังที่สำรวจวัดใหม่ ปรากฏว่าไม่สามารถลงตำแหน่งโบราณสถานหมายเลข ๖ ได้
โบราณสถานหมายเลข ๗
ตั้งอยู่ในเมืองห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๕๕ เมตร และห่างจากสระทองแดง ๕๐ เมตร อยู่ในสวนของนางลำไย จำพานิช ซึ่งเช่ามิซซังคาทอลิก ทำกินลักษณะเป็นฐานอาคารสูง ๑ เมตร ปัจจุบันถูกลักลอบขุดเรื้อฐานศาลาแลงออกเพื่อค้นหาโบราณวัตถุจนกลายสภาพเป็นบ่อน้ำ
โบราณสถานหมายเลข ๘
ตั้งอยู่ในตัวเมืองห่างจากสระมะกรูดไปทางทิศตะวันตก ๓๕ เมตร ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๑๐๐ เมตร อยู่ในที่ดินของ มิซซังคาทอลิกโคกวัด ลักษณะเป็นเนินดิน กว้างประมาณ ๒๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สูง ๕๐ เซนติเมตร สภาพปัจจุบันถูกไถปรับพื้นที่เป็นไร่จนหมดสภาพ
โบราณสถานหมายเลข ๙
ตั้งอยู่นอกเมืองห่างจากคูเมืองด้านตะวันออก ประมาณ ๕๕ เมตร อยู่ในสวนของนายคำพอง มีชัย ลักษณะเป็นเนินดินทรงกลม สูง ๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางยาว ๑๕ เมตร มีแท่งศิลาแลงสี่เหลี่ยมกระจายอยู่
โบราณสถานหมายเลข ๑๐
ตั้งอยู่นอกเมืองห่างจากคูเมืองด้านตะวันออก ประมาณ ๔๕ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๙ ไปทางเหนือ ๗๐ เมตร อยู่ในสวนของนายชุบ ดาราย
ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๑๑.๕๐ สูง ๕ เซนติเมตร สภาพปัจจุบันถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ และถูกขนย้ายเอาแท่นประดิษฐานรูปเคารพ ขนาด ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร สูง ๑ เมตร ไปไว้ที่โรงเรียนบ้านสระมะเขือ
โบราณสถานหมายเลข ๑๑[4]
ตั้งอยู่นอกเมืองห่างจากคูเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๐๐ เมตร ห่างจากหนองขนากไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ๑๐๐ เมตร อยู่ในที่ดินของนายเหมือน ดาราย
ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยม กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สูง ๑ เมตร โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ได้แก่ แท่นประดิษฐานรูปเคารพ กว้าง ๘๖ เซนติเมตร ยาว ๑.๕๐ เมตร สูง ๕๕ เซนติเมตร มีรูตรงกลาง ๓ รู อาจเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ด้านขวา) พระพุทธรูป (กลาง) และนางปัญญาบารมี(ด้านซ้าย) พบแท่นประดิษฐานรูปเคารพศิลาทรายและโบราณวัตถุทำจากสำริดรวม ๒๖ ชิ้น ได้แก่ กรอบคันฉ่องสำริด มีจารึกภาษาขอมอักษรโบราณระบุจุลศักราช ๑๑๑๖ (พ.ศ. ๑๗๓๙ ร่วมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอม) ข้อความที่จารึกมีความหมายเกี่ยวกับการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงบริจาคเครื่องไทยธรรมแก่อโรคยาศาลา ณ เมืองศรีวัตสะปุระหรืออ่านใหม่ว่า“อวัธยปุระ” นอกจากนี้มีสังข์สำริดจารึก เชิงเทียนสำริด มีจารึกลงศักราช ๑๑๑๕ ความว่า “พระธรรมไทยพระบาทมรเตงอัญศรีชยวรมเทว ทรงมอบให้แก่อโรคยาศาลาสังโวก” ขันสำริดจารึกจุลศักราช ๑๑๐๙ (๑๗๓๐) ความว่า “ไทยธรรมพระบาทกรเตงอัญศรีวิเรนทราบดีรมทรงถวายแด่ กมรเตงชคตศรีวิเรศวร ณ สังโวกต” พระพุทธรูปนาคปรคสำริด สูง ๑๕.๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๖ เซนติเมตร ประติมากรรมนางปัญญาบารมี สูง ๑๕.๕ เซนติเมตร และพระกรขวาของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรถือลูกประคำศิลาทราย เป็นต้น
โบราณสถานหมายเลข ๑๒
อยู่นอกตัวเมืองออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากคูเมือง ๑๕๕ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข๕ ไปทางทิศใต้ ๑๓๐ เมตร โดยมีสระปทุมอยู่ทางทิศเหนือ และสระขวัญอยู่ทางทิศใต้ระยะทางใกล้ๆกัน
โบราณสถานสระแก้วเป็นสระโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๗.๕๐ เมตร ยาว ๔๒.๖๐ เมตร ลึก ๕.๔๐ เมตร ปากสระกว้าง ๔ เมตรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ผนังสระทุกด้าน แกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆลงบนผนังศิลาแลง ที่ปากสระมีร่องรอยการแกะสลักศิลาแลงเป็นบันไดลงสู่สระได้สภาพของภาพสลักค่อนข้างเลอะเลือน ผนังสระบางด้านมีรอยปริแยกและบางด้านก็หักพังลงมา
ภาพสัตว์ที่ปรากฏบนผนังสระแก้ว มีทั้งสิ้น ๔๑ ภาพ ได้แก่ ช้าง สิงห์ มกร เป็นต้น อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม กว้าง ๑.๒๐ เมตร ยาว ๓.๑๕ เมตร และกว้าง๑.๑๐ เมตร ยาว ๑.๒๐ เมตร ภาพสลักทั้งหมดจะแสดงให้เห็นเพียงรูปด้านข้างเท่านั้น ซึ่งคล้ายกับภาพสัตว์ในกรอบสี่เหลี่ยมที่พบภาชนะดินเผา จากการขุดค้นที่เมืองโบราณคูเมือง อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งกำหนดอายุราวกับพุทธศตวรรษที่ ๑๒ –๑๔ นอกจากนี้ยังคล้ายกับภาพสลักบนแผ่นศิลาแลงที่เมืองสะเทิม ประเทศพม่า และภาพสลักบนแผ่นศิลาแลงในประเทศอินโดนีเซีย
ศาสตราจารย์ ดร. ชอง บัวเซอร์ลิเยร์ สันนิษฐานว่า ภาพสลักเหล่านี้ทำขึ้นในสมัยทวารวดี ราว พุ ทธศตวรรษที่ ๑๑ แต่ศาสตราจารย์ มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เชื่อว่าน่าจะมีอายุเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ ๗-๙ ร่วมสมัยฟูนัน เนื่องจากภาพสลักของมกรบางตัวทำท่ากำลังกระโดดคล้ายกับมกรในศิลปะอินเดียแบบอมราวดี พุทธศตวรรษที่ ๗-๙
โบราณสถานหมายเลข ๑๓ (สระกระท้อน)
อยู่นอกคูเมืองทางทิศใต้ห่างจากคูเมือง ๑๐๐ เมตร ห่างจากสระแก้วและสระโบราณหมายเลข ๕ ไปทางทิศตะวันออกระยะทาง ๓๐๐ เมตร อยู่ในที่ดินของนางเภา ธงไชย
ลักษณะของสระกระท้อน เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ลึก ๔ เมตร ปากสระหันไปทางทิศใต้ตัดแต่งเป็นเหลี่ยมย่อมุมคล้ายกับลักษณะฐานโยนิโทรณะที่ใช้ประดิษฐานศิวลึงค์ ที่ผนังสระไม่พบร่องรอยการแกะสลักภาพสัตว์
โบราณสถานหมายเลข ๑๔
จากรายงานการขุดแต่งโบราณสถานของหน่วยศิลปกรที่ ๕ โบราณสถานหมายเลข ๑๔ ตั้งอยู่ในเมืองพระรถด้านตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๖ ราว ๑๕๐ เมตร อยู่ในที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัด ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สูง ๑ เมตร มีเสาศิลาแลงตั้งเรียงเป็นระยะทั้ง ๔ ด้าน ไม่พบโบราณวัตถุ
แต่จากการสำรวจครั้งหลังสุดในขณะนี้ยังค้นหาโบราณสถานหมายเลข ๑๔ ไม่พบเนื่องจากบริเวณนี้มีการไถปรับพื้นที่อยู่ตลอดเวลา
โบราณสถานหมายเลข ๑๕
จากรายงานการขุดแต่งโบราณสถานของหน่วยศิลปกรที่ ๕ โบราณสถานหมายเลข ๑๕ ตั้งอยู่ในเมืองพระรถด้านตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัดใกล้วิหารหมายเลข ๑๔ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๑๓ เมตร สูง ๑ เมตร มีเสาศิลาแลงกว้าง ๖๓ เซนติเมตรตั้งเรียงเป็นระยะโดยรอบ บริเวณโบราณวัตถุที่พบได้แก่ แวดินเผา และเศษเครื่องถ้วยจีน
แต่จากการสำรวจครั้งหลังสุด(2528)ยังค้นหาโบราณสถานหมายเลข ๑๕ ยังไม่พบ เนื่องจากบริเวณนี้มีการไถปรับพื้นที่อยู่ตลอด
เวลา
โบราณสถานหมายเลข ๑๖
ตั้งอยู่คูเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากคูเมือง ๓๕๐ เมตร ห่างจากหนองขนากไปทางทิศเหนือ ๑๐๐ เมตร เขตหมู่บ้านสระมะเขือ
ลักษณะเป็นรากฐานอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างด้านละ ๑๓.๕๐ เมตร ยาวด้านละ ๑๔.๕๕ เมตร ด้านตะวันตกและด้านเหนือมีแผ่นศิลาแลงปูเป็นพื้นอาคาร มีผนังก่ออิฐด้านตะวันตกสูง ๓.๖๐ เมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร ลักษณะเป็นอิฐแบบทวารวดี โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ได้แก่ ภาพดินเผานูนสูงรูปเทวดาสมัยทวารวดี ลักษณะคล้ายกับที่พบเมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และเศษภาชนะดินเผา
โบราณสถานหมายเลข ๑๗
ตั้งอยู่นอกตัวเมืองออกไปทางทิศตะวันออกอยู่ห่างจากคูเมือง ๒๔๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๙ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทาง ๒๓๐ เมตร อยู่ในที่ดินของนายซุ่นไล้ เชาว์ดี เขตหมู่บ้านสระมะเขือ
โบราณสถานหมายเลข ๑๖
ตั้งอยู่คูเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากคูเมือง ๓๕๐ เมตร ห่างจากหนองขนากไปทางทิศเหนือ ๑๐๐ เมตร เขตหมู่บ้านสระมะเขือ
ลักษณะเป็นรากฐานอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างด้านละ ๑๓.๕๐ เมตร ยาวด้านละ ๑๔.๕๕ เมตร ด้านตะวันตกและด้านเหนือมีแผ่นศิลาแลงปูเป็นพื้นอาคาร มีผนังก่ออิฐด้านตะวันตกสูง ๓.๖๐ เมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร ลักษณะเป็นอิฐแบบทวารวดี โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ได้แก่ ภาพดินเผานูนสูงรูปเทวดาสมัยทวารวดี ลักษณะคล้ายกับที่พบเมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และเศษภาชนะดินเผา
โบราณสถานหมายเลข ๑๗
ตั้งอยู่นอกตัวเมืองออกไปทางทิศตะวันออกอยู่ห่างจากคูเมือง ๒๔๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๙ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทาง ๒๓๐ เมตร อยู่ในที่ดินของนายซุ่นไล้ เชาว์ดี เขตหมู่บ้านสระมะเขือ
ลักษณะเป็นรากฐานอาคารสี่เหลี่ยมด้านตะวันออกและด้านตะวันตกกว้างด้านละ ๑๖ เมตร ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ ๑๖.๓๐ เมตร สูง ๒ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง มีบันได ๓ ด้าน คือด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ ลานบันไดทำเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งดวง แบบเดียวกับโบราณสถานก่ออิฐที่เมืองกำแพงแสน จ. นครปฐม โบราณสถานหมายเลข ๑๖ ที่เมืองบน ต.โคกไม้เดน อ.พยุงคีรี จ.นครสวรรค์ เจดีย์ที่วัดหน้าพระเมรุกับวัดพระประโทน และโบราณสถานหมายเลข ๒๑ จ. นครปฐม
ทางด้านทิศตะวันตกของโบราณสถานมีเสาติดผนังคั่นเป็นครอบระหว่างซุ้มคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข ๑ ที่เมืองบน ต. โคกไม้เดน จ.นครสวรรค์
โบราณวัตถุที่พบจาการขุดแต่ง ได้แก่ แม่พิมพ์ดินเผา รูปคล้ายเรือ ขนาด ๕.๑ เซนติเมตร เทวรูปดินเผา กว้าง ๔.๕ เซนติเมตร ลูกปัด ๒ เม็ด เศษภาชนะดินเผาเป็นต้น
โบราณสถานหมายเลข ๑๙
ตั้งอยู่นอกตัวเมืองห่างจากคูเมืองไปทางทิศตะวันออกระยะทาง ๓๔๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๑๘ ไปทางทิศใต้ระยะทาง ๓๕๐ เมตร อยู่ในที่ดินของนายชุบ (ไม่ทราบนามสกุล) ติดกับด้านทิศตะวันตกของที่ดิน นายบู่ วงศ์สิน เขตหมู่บ้านสระมะเขือ
ลักษณะเป็นรากฐานโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๐.๖๐ เมตร ยาว ๒๗.๖๐ เมตร มีเสากลางก่อด้วยศิลาแลง ๒ แถว แถวละ ๕ ต้น ห่างกันเป็นช่วงๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสา ๔๐ เซนติเมตร พบลูกปัดและเศษภาชนะดินเผา
โบราณสถานหมายเลข๒๐
ตั้งอยู่นอกตัวเมืองห่างจากคูเมืองไปทางทิศตะวันออกระยะทาง ๓๙๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๑๙ ไปทางทิศตะวันออกระยะทาง ๒๓ เมตร อยู่ในที่ดินของนายบู่ วงศ์สิน
ลักษณะเป็นรากฐานอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด ๕.๓๐ x ๕.๓๐ เมตร สูง ๑.๓๐ เมตร ก่อด้วยศิลาแลงปนอิฐ โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งได้แก่ เศษภาชนะดินเผาฐานบัวรองบาทพระพุทธรูป ถูกทำลายแตกหักหลายชิ้น ยอดเจดีย์ศิลาแลงและนิ้วแม่มือซ้ายทำด้วยปูน ยาว ๑๕ ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ซม.
โบราณสถานหมายเลข๒๑
ตั้งอยู่นอกตัวเมืองห่างจากคูเมืองไปทางทิศตะวันออกระยะทาง ๓ กิโลเมตร อยู่ในเขตหมู่๖ บ้านหัวซา ต.หัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี เดิมอยู่ในที่ดินของนางพันธุ์ วรรณราช แต่ได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ วัดป่าพระธาตุโพธิ์ทอง เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๑๗)
ลักษณะเป็นรากฐานอาคารก่อศิลาแลงและอิฐสูงประมาณ ๒.๕๐ เมตร ฐานด้านล่างลดชั้น๕ ชั้นห่างกันชั้นละ ๒๐ ซม. ความสูงของฐานล่างรวม ๑ เมตร ชั้นถัดไปเป็นดินอัดและมีแนวผนังก่ออิฐเรียงแนวเป็น ๑ ชั้น ชั้นบนสุดปูพื้นด้วยศิลาแลงกว้าง ๕.๘๐ x ๕.๘๐ม. ตรงกลางมีรอยลักขุดและมีเจดีย์ขนาดเล็กบรรจุพระธาตุ ซึ่งนำมาจากเมืองศรีมโหสถ (ซื้อจากพวกลักขุด) ประดิษฐานอยู่ด้านบน
ฐานล่างสุดด้านเหนือยาว ๑๗.๓๕ เมตร ทิศใต้ยาว ๒๐ เมตร ทิศทิศตะวันออกยาว ๑๕ เมตร ทิศตะวันตกยาว ๑๕.๑๕ เมตร ด้านตะวันออกเป็นลานบันไดรูปครึ่งวงพระจันทร์ กว้าง ๘๐ ซม. ยาว ๓ เมตร ทิศใต้มีมีแนวท่อนเสาศิลาแลงต่อเรียงกัน ๗ ท่อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อนละ ๕๐ ซม. สูงท่อนละ ๔๐-๖๐ ซม.
โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งได้แก่ ขวานหินขัด ๑ อัน ลูกปัด ๒ เม็ด และเศษภาชนะดินเผา
โบราณสถานหมายเลข๒๒
ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองศรีมโหสถ อยู่ห่างจากคูเมืองด้านเหนือ ๒๖๐ เมตร ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๕๐๐ เมตร อยู่ในที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัด ลักษณะเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดย่อมจำนวน ๑๐ หลัง รากฐานด้านล่างก่อด้วยศิลาแลงด้านบนก่อด้วยอิฐ การขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๒ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วงดังนี้
ช่วงแรกขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๒/๑, ๒๒/๒ , ๒๒/๓ โบราณสถานหมายเลข ๒๒/๑ อยู่ทางด้านเหนือ กว้าง ๓ .๕๐ เมตร ยาว ๙.๒๐ เมตร สูง ๑.๑๕ เมตร ด้านตะวันออกทำเป็นมุขยื่นออกมา โบราณสถานหมายเลข ๒๒/๒ มีลักษณะคล้ายกับโบราณหมายเลขเลข ๒๒/๑ ตั้งอยู่ถัดลงไปด้านใต้ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๒๒/๑ ราว ๑ เมตร ขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๙.๐๐ เมตร สูง ๑.๑๕ เมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีลานศิลาแลงขนาด ๑๒.๕๐ x ๑.๕๐ เมตร ต่อยื่นออกไป โบราณหมายเลข ๒๒/๓ กว้าง ๓.๘๐ เมตร ยาว๑๕.๗๐ เมตร สูง๑.๕๐ เมตร ด้านล่างก่อตัวศิลาแลงด้านบนก่อด้วยอิฐ มีบ่อน้ำกรุด้วยสิลาแลงอยู่ในตัวโบราณสถานทางด้านทิศตะวันตก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕๐ เมตร โบราณวัตถุ ที่ขุดพบในกลุ่มโบราณสถานหมายเลข ๒๒/๑-๓ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา เครื่องเคลือบดินเผา กระเบื้องมุงหลังคา พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ของพระนารายณ์ ทำด้วยเครื่องสำริดเครื่องเมือเหล็ก และยอดบนของหมวกทรงชีโบ
ช่วงที่สองขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๒/๔ , ๒๒/๕ , ๒๒/๖ ,๒๒/๗ ,และ ๒๒/๘
โบราณสถานหมายเลข๒๒/๕ อยู่ห่างจากโบราณสถานหมายเลข๒๒/๔ ถัดลงไปทางใต้ ๔๐ ซม. ลักษณะเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รากฐานย่อมุม ๗ ครั้ง มีบันไดด้านตะวันออก กว้าง ๓.๓๕ เมตร ยาว ๑๖.๒๕ เมตร สูง ๖๐ ซม.
โบราณสถานหมายเลข๒๒/๖ ตั้งอยู่ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๓ ไปทางทิศตะวันออกเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง กว้าง ๕.๘๐ เมตร ยาว ๖.๕๐ เมตร สูง ๕๐ ซม. มีท่อนศิลาแลงวางวางเรียงรายอยู่โดยรอบ
โบราณสถานหมายเลข๒๒/๗ อยู่เยื้องกับโบราณสถานหมายเลข๒๒/๕ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างกันเพียงเล็กน้อยด้านล่างก่อด้วยศิลาแลง ด้านบนก่อด้วยอิฐ ขนาดอิฐไม่ใหญ่นักและไม่ใช่อิฐทวารวดี กว้าง ๔.๒๕ เมตร ยาว ๖.๑๐ เมตร สูง ๕๐ เมตร พบชิ้นส่วนประติมากรรมพระพิฆเนศอยู่บนเนินโบราณสถานแห่งนี้เกือบครบ
โบราณสถานหมายเลข ๒๒/๘ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของโบราณสถานหมายเลข ๒๒/๖ ห่างกันประมาณ ๓ เมตร ลักษณะเป็นรากฐานอาคารก่อด้วยศิลาและอิฐ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๓.๑๕ เมตร สภาพการขุดแต่งยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์ จะเห็นได้จากมีแนวของฐานอาคารขนาดใหญ่ซ้อนอยู่ด้านล่าง
โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๒/๔ – ๘ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา เศษกระเบื้องมุงหลังคา เศษเครื่องเคลือบดินเผา ประติมากรรมพระโพธิสัตว์ปาณีทรงครุฑศิลาทราย ประติมากรรมนูนสูงมหิษาสุรมรรทนีศิลาทราย ชิ้นส่วนพระพิฆเนศศิลาทรายเขียว เป็นต้น
ช่วงที่สามขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๒/๙ –๑๐
โบราณสถานหมายเลข๒๒/๖ กับ โบราณสถานหมายเลข ๒๒/๘ ห่างกันประมาณ ๓ เมตร ลักษณะเป็นรากฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง กว้าง ๓.๔๕ เมตร ยาว๓.๔๓ เมตร สูง ๑๐ ซม. สภาพการขุดแต่งยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์
โบราณสถานหมายเลข ๒๒/๑๐ อยู่ห่างด้านทิศตะวันออกของโบราณสถานหมายเลข ๘ กว้าง ๘เมตร ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ มีแท่งศิลาแลงจำหลักลวดลายประดับยื่นออกมาจากตัวอาคาร สภาพการขุดแต่งยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์
โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๒ / ๙ –๑๐ ไก้แก่ ระฆังหิน ๒ อัน เศษภาชนะดินเผาและเครื่องเคลือบดินเผา ชิ้นส่วนประติมากรรมพระพิฆเนศ เป็นต้น
โบราณสถานหมายเลข๒๓
ตั้งอยู่นอกตัวเมืองห่างจากคูเมืองออกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ๓๐๐ เมตร (ด้านหลังนิคมโรคเรื้อน) ลักษณะเป็นรากฐานอาคาร ๒ หลัง ตั้งอยู่ในแนวทิศเหนือ – ใต้ ห่างกัน ประมาณ ๑๐ เมตร
โบราณสถานหมายเลข๒๓/๑ ลักษณะเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐ และศิลาแลง มีมุขด้านตะวันออกและตะวันตก ด้านหน้าเป็นบันไดยื่นออกมา กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๖.๕๐ เมตร สูง ๑ เมตร
โบราณสถานหมายเลข๒๓/๒ ลักษณะเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด ๓.๘๐ x ๓.๘๐ เมตร ก่อด้วยศิลาแลงมีสภาพพังทลาย
สันนิษฐานว่าโบราณสถานหมายเลข๒๓/๑ เป็นวิหารส่วนโบราณสถานหมายเลข๒๓/๒ น่าจะเป็นเจดีย์เนื่องจากขุดพบศิลาแลงรูปแปดเหลี่ยมเจาะรูมีเดือยสำหรับสวมอยู่ใกล้ๆ กับรากฐาน
โบราณสถานหมายเลข๒๔ (สระบันได ๕ ชั้น)
ตั้งอยู่นอกเมืองห่างจากคูเมืองห่างออกไปทางทิศตะวันออกระยะทาง ๙๔๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข๒๐ ออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ๕๗๐ เมตร อยู่ในที่ดินของนายทวน – นางพวง บ้านสระมะเขือ
ลักษณะแนวสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกกว้าง ๗.๒๐ เมตร ทิศเหนือกับทิศใต้ ยาว ๙.๖๐ เมตร ปากสระหันไปทางทิศตะวันตก ปากสระตัดแต่งลักษณะคล้ายฐานโยนิโทรณะ ผนังสลักเป็นรูปเสาติดผนังขนาด ๓๐ ซม. มี ๕ เสา เสาแต่ละเสาห่างกันช่วงละ ๑.๕๐ เมตร ด้านบนของเสาติดผนังมีทับหลังทุกด้าน ปากสระด้านในกว้าง ๓ เมตร ด้านนอกกว้าง ๒ เมตร ความลึกเกือบ ๔ เมตร บริเวณโดยรอบมีเนินโบราณสถานของกลุ่มเนินโบราณสถาน กระจายอยู่มีสระบันได ๕ ชั้นอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง ๓๐ เมตร
สระบันได ๕ ชั้นมีลักษณะคล้ายกับสระกระท้อนและสระในนิคมโรคเรื้อนแต่ไม่ปรากฏภาพสลักรูปสัตว์เหมือนที่พบผนังสระแก้ว
โบราณสถานหมายเลข๒๕
ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองทางด้านใต้อยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๗๐ เมตร ห่างจากคูลูกศรไปทางทิศตะวันตกระยะทาง ๗๐ เมตร อยู่ในที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัด
ลักษณะเป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลงด้านล่างเป็นฐานกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สูง ๑ เมตร มีมุขและบันไดทางด้านตะวันออกกว้าง ๑.๕ เมตร ยาว ๔ เมตร ด้านบนเป็นผนังกว้าง ๙ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร สูง ๕๐ ซม. มีมุขยื่นออกมากว้าง ๑.๒๕ เมตร ยาว ๒.๒๕ เมตร มีเสาศิลาแลงทรงกระบอกวางอยู่ด้านบนอาคารที่มุมอาคารที่อยู่บนฐานล่างมุมละต้นรวม ๔ มุม อีกสอง ต้นวางอยู่ด้านหน้าห่างกันช่วงละ ๓. ๗๕ เมตร
โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๕ คือ เทวรูปพระนารายณ์สวมหมวกแขก ความสูงจากเดือยใต้พระบาทถึงยอดหมวก ๒๒๒ ซม. พระกรซ้ายหลังและขาวหลังหักหายไป กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ ๑๑ –๑๒ จัดอยู่ในกลุ่มศิลปะเทวรูปรุ่นเก่า จึงเชื่อกันว่า โบราณสถานหมายเลข๒๕ เป็นเทวสถานพระนารายณ์ของศาสนาฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย
โบราณสถานหมายเลข๒๖
ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองห่างจากโบราณสถานหมายเลข๒๕ ไปทางตะวันตก ๑๗ เมตร อยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๖๕ เมตร อยู่ในที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัด ลักษณะเป็นรากฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๓.๘๒ เมตร สูง ๑.๘๘ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ผนังตอนบนผายออกตอนล่างสอบเข้าเล็กน้อย
กลุ่มโบราณสถานวัดสระมรกต
ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ระยะทางประมาณ ๔ กม. ลักษณะเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ในชั้นต้นอาจแบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองสมัย ดังนี้
สมัยแรก พบรอยพระพุทธบาทคู่ขนาดใหญ่สลักบนพื้นศิลาแลง รอยพระบาทมีลักษณะเหมือนจริงอยู่ภายในรูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ เมตรเศษ มีเครื่องล้อมชั้นแรก ก่อด้วยอิฐ ชั้นที่สองก่อด้วยสิลาแลง และชั้นที่สามก่อด้วยอิฐล้อมรอบเป็นลานทักษิณอยู่ทางด้านตะวันตก กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ สมัยทวารวดี
สมัยที่สอง พบรากฐานศิลาแลงของกำแพงแก้วบรรณาลัยและรากฐานของปรางค์ประธาน พบโบราณวัตถุร่วมกับศิลปะบายน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
นอกจากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังพบศิลาจารึกเนินสระบัวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พระพุทธรูปและระฆังหินสมัยทวารวดี และศิวลึงค์ที่กลุ่มโบราณสถานแห่งนี้อีกด้วย
โบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดแต่งทางโบราณคดี
เนินโบราณสถานที่ยังไม่ได้ขุดแต่งโดยกรมศิลปกร หมายถึง เนินโบราณสถานที่ถูกลักขุดค้นหาโบราณวัตถุ และเนินโบราณสถานที่ถูกไถพื้นที่จนหมดสภาพหรือเกือบหมดสภาพ แบ่งเป็นเนินโบราณสถานที่อยู่ในตัวเมืองและนอกตัวเมือง
เนินโบราณสถานในตัวเมืองศรีมโหสถ (กลุ่มโบราณสถานกลางเมือง)
เนินโบราณสถานที่อยู่ในตัวเมืองที่ยังไม่ได้ขุดแต่งมีประมาณ ๑๓-๑๖ เนิน ดังนี้
๑. เนินโบราณสถานทางด้านตะวันออกของสระมะเฟือง อยู่ในป่ากล้วยและสวนมะม่วงอยู่ในที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัด ห่างจากสระมะเฟือง ๗๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ไม่สูงนักมีร่องรอยการถูกลักขุดหาโบราณวัตถุมีศิลาแลงกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้าง มีเนินยาวเป็นแนวจากสระมะเฟืองไปทางด้านตะวันออกและมีที่ลุ่มลักษณะคล้ายทางระบายน้ำจากที่สูงทางด้านตะวันออกลงมาสู่สระมะเฟือง
๒. เนินโบราณสถานในสวนของนางฉลอง พาลี ซึ่งเช่าที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัดทำกิน อยู่ห่างจากกกลุ่มโบราณสถานหมายเลข ๒๒ ปทางทิศตะวันออก ๗๐ เมตร ห่างจากสระมะเฟืองไปทางตะวันตก ๖๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่สูง ๒ เมตรเศษ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๐ เมตร ถูกลักขุดหาโบราณวัตถุใช้รถขุดตักเป็นเครื่องมือ ชาวบ้านเล่าว่าพวกลักขุดขุดได้ธรรมจักรศิลาจากเนินนี้และทางด้านเหนือห่างออกไปประมาณ ๑๐๐ เมตร ในส่วนของนางฉลอง พาลี มีเนินดินกว้างใหญ่ขวางอยู่มีศิลาแลงและอิฐกระจายอยู่เป็นตอนๆ
๓. กลุ่มเนินโบราณสถานในสวนของนายหมุด กับสวนนางทองพิณ สาลี เช่าที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัดทำกิน ลักษณะเป็นกลุ่มเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ ๒ เนิน สูง ๒ เมตรเศษ กว้างเนินละประมาณ ๔๐ เมตร ยาวเนินละประมาณ ๑๐๐ เมตร มีร่องรอยการถูกลักขุดหาโบราณวัตถุอยู่ห่างจากกลุ่มโบราณสถานหมายเลข ๒๒ ไปทางตะวันตกประมาณ ๕๐ เมตร โบราณวัตถุที่ขุดได้จากเนินนี้ คือ เม็ดข้าวสาลีมีสีดำ ชาวบ้านเรียกว่า “ข้าวสารดำ” มักนิยมนำมาป่นเป็นผงแล้วทำเป็นพระพิมพ์ตามความเชื่อทางโชคลางทางด้านตะวันออกของเนินใหญ่ของเนินทั้งสองมีกลุ่มโบราณสถานกระจายอยู่ใกล้ๆ มีร่องรอยการถูกลักขุดจากการสอบถามชาวบ้านได้ความว่า พวกลักขุดพบแผ่นทองคำมีลายดุนนูนต่ำเป็นรูปตางๆ และมีจารึกบนแผ่นทองนี้ด้วย
๔. เนินโบราณสถานในที่ดินของนายทองมา พาลี ( เช่าที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัดทำกิน) อยู่ในตัวเมืองห่างจากคูเมืองด้านเหนือ ๑๐๐ เมตร เป็นเนินโบราณสถานเล็กๆ เตี้ยๆ มีเศษดินและศิลาแลงกระจายอยู่
๕. เนินโบราณสถานบนฝั่งตะวันตกของสันคูลูกศร ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๒.๓๐ เมตร อยู่ในที่ดินของมิซซังคาทอลิกโคกวัด เป็นเนินโบราณสถานเตี้ยๆเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ เมตร สูง ๕๐ ซม.
๖. กลุ่มเนินโบราณสถานในสวนนายเล็ก กับสวนนางฉวี โยธามาตย์ มีเนินโบราณสถานอยู่ ๔ เนิน ถูกลักลอบขุดจากเมืองด้านใต้ประมาณ ๑๕๐ – ๑๗๐ เมตร ห่างจาก โบราณสถานหมายเลข ๒๕-๒๖ ไปทางตะวันตกประมาณ ๕๐-๑๐๐ เมตร เนินโบราณสถานกลุ่มนี้บางเนินอาจเป็นโบราณสถานหมายเลข ๖, ๑๔, ๑๕ ซึ่งถูกขุดแต่งโดยกรมศิลปกร (แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถลงตำแหน่งได้)
๗. เนินโบราณสถานในที่ดินของนางสมคิด มิ่งหมัด อยู่ทางด้านตะวันตกของตัวเมืองห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๓๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานถูกลักลอบขุดและไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ มีก้อนศิลาแลงและอิฐกระจายอยู่
เนินโบราณสถานนอกคูเมือง
พื้นที่รอบๆเมืองศรีมโหสถนอกคูเมืองออกไปทางสี่ทิศมีเนินโบราณสถานกระจายอยู่ทั่วไปรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๘๕ เนิน ในจำนวนนี้ได้แก่ นินโบราณสถานที่ถูกลักขุดและเนินโบราณสถานที่ถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เนินโบราณสถานนอกเมืองด้านเหนือที่ยังไม่ได้ขุดแต่งมี ๗ เนินดังนี้
๑. เนินโบราณสถานใต้ฐานโรงสีกิมล้ง หลังวัดคาทอลิกบ้านโคกวัด ลักษณะเป็นเนินสูงใหญ่
ภายหลังปลูกโรงสีคล่อมทับ ชาวบ้านเล่าว่าแท่นสีข้าวของโรงสีก็ตั้งอยู่บนแท่นศิลาแลงสี่เหลี่ยม
๒. เนินโบราณสถานในที่ดินของนางเฮี๊ยะ ฮวดหลี ตั้งอยู่กลางทุ่งริมชวดลำผักชี ห่างจากเนิน
โรงสีกิมล้ง ๑๕๐ เมตร เดิมมีขนาดใหญ่สูงเกือบเท่ายอดกล้วย ปัจจุบันถูกลักขุดจนหมดสภาพ เหลือความสูงประมาณ ๑ เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เมตร มีศิลาแลงและอิฐกระจายอยู่รอบๆ
๓. เนินโบราณสถานในที่ดินของนายเกษม ทองมา ถูกลักขุดจนหมดสภาพ ศิลาทรายและอิฐ
กระจายอยู่ ชาวบ้านเรียกว่าเกาะกลาง อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานในที่ดินของนางเฮี๊ยะ ฮวดหลี ประมาณ ๖๕ เมตร
๔. เนินโบราณสถานในที่ดินของนางแดงและทางทิศเหนืที่ดินของนางแดงลักษณะเป็นเนิน
โบราณสถาน ๒ เนิน ถูกลักขุดจนหมดสภาพ พบศิลาแลงอิฐและหินแกรนิตแท่งสี่เหลี่ยมโตๆ กระจายอยู่ทั่วไป อยู่ห่างจากเนินโรงสีกิมลังไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ๑๓๐ เมตร
๕. เนินโบราณสถานทางด้านตะวันตกของโรงเรียนสระมะเขือ ห่างจากโรงเรียนสระมะเขือ ๔๐
เมตร เป็นเนินดินขนาดใหญ่ ถูกลุกขุดและไถปรับจนหมดสภาพ มีกองอิฐและศิลาแลงกระจายอยู่ทั่วไป
๖. เนินโบราณสถานทางด้านตะวันตกของโรงเรียนสระมะเขือ ห่างจากโรงเรียนสระมะเขือ ๔๐
เมตร เป็นเนินดินขนาดใหญ่ ถูกลุกขุดและไถปรับจนหมดสภาพ มีกองอิฐและศิลาแลงกระจายอยู่ บนเนินมีสระน้ำใหญ่อยู่ทางตอนใต้
กลุ่มเนินโบราณสถานทางด้านตะวันออก
เนินโบราณสถานนอกเมืองด้านตะวันออก ที่ยังไม่ได้ขุดแต่งมีไม่น้อยกว่า ๔๐ เนิน เนินโบราณสถานที่น่าสนใจมีดังนี้
๑. กลุ่มเนินโบราณสถานทางด้านทิศเหนือและด้านตะวันตกแยงเหนือของสระบันได ๕ ชั้น (
กลุ่มเนินเนินโบราณสถานสระบันไดห้าชั้น) อยู่ในเขตหมู่บ้านสระมะเขือห่างจากคูเมืองด้านตะวันออกเฉลี่ย ๗๕๐ เมตร มีลักษณะเป็นกลุ่มโบราณสถานจำนวน ๑๗ เนิน ขนาดเล็กและขนาดกลางบางเนินถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ บางเนินถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ อยู่ในเขตที่ดินของนายหวน – นางพวง แพงดี นายไท- ยายสม นายอุทัย นายลั้ง นายอ่าง สมญา นายสงุน คังเชื้อ นางจุ่น นายประเสริฐ นายคำ – นางเสงี่ยม นายลั้ง กัลยา เป็นต้น รวมทั้งหมด ๗ เนิน
๒. กลุ่มเนินโบราณสถานหนองจระเข้ อยู่ในเขตหมู่บ้านสระมะเขือ อยู่ในที่ดินของนายมุ้ย ง่วน
กิจ นายบู่ วงศ์ศิลป์ นางสุกตา ทันยัง นายคำ ตันแพง นางสมศรี บุญมา นางเหลี่ยม ฯลฯ ห่างจากคูเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉลี่ย ๔๕๐ เมตร เป็นกลุ่มโบราณสถานที่กระจายอยู่ทางด้านใต้ ตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ ของหนองจระเข้จำนวน ๑๔ เนิน ส่วนใหญ่เป็นเนินที่ถูกไถปรับพื้นที่และเนินดินที่ถูกขุดหาโบราณวัตถุเนินที่น่าสนใจ คือ เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของผู้ใหญ่ทองคำ ซึ่งถูกลักขุดและไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพบริเวณนี้พวกลักขุดขุดได้ธรรมจักรสิลา ๑ อัน
๓. กลุ่มเนินโบราณสถานในที่ดินของนายพยอม จันทา อยู่ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๑๙ ไป
ทางทิศใต้ระยะทาง ๑๘๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข๑๗ ไปทางตะวันออกระยะทาง ๒๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินทรงกลม สูงประมาณ ๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เมตร มีร่องรอยการลักขุดหาโบราณวัตถุมีชิ้นส่วนของอิฐและศิลาแลงกระจายอยู่เป็นจุดๆ
๔. กลุ่มโบราณสถานบ้านนายเพิ่ม ไผ่ขาด นายคำพอง มีชัย อยู่ห่างจากคูเมืองไปทางทิศตะวัน
ออกระยะทางเฉลี่ย ๑๗๐ เมตร เป็นกลุ่มโบราณสถานจำนวน ๕ เนิน อยู่ในเขตที่ดินนายเพิ่ม ไผ่ขาด ๓ เนิน ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานเล็ก บางเนินถูกไถปรับพื้นที่และถูกขุดอยู่ในเขตที่ดินของนายคำพอง มีชัย ๒ เนิน ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานเล็ก ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ
๕. โบราณสถานในเขตที่ดินของนายเหมือน ดาราย และนายพยอมจันทา อยู่ห่างจากคูเมืองไป
ทางทิศตะวันออก ๑๒๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินสูงประมาณ ๒ เมตร รูปยาวรี ยาวประมาณ ๑๕ เมตร กว้าง ๘ เมตร
๖. เนินโบราณสถานทิศใต้ของหนองขนาก อยู่ในที่ดินของนางพิณ ชาญการ และนางประเมียน
มงคล อยู่ห่างจากหนองขนากไปทางทิศใต้ ๑๒๐ เมตร ห่างจากคูเมืองไปทางทิศตะวันออก ๒๕๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๑๘ ไปทางตะวันตะ ๖๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินดินลูกเล็กๆเตี้ยๆ ถูกขุดมีเศษศิลาแลงและอิฐกระจายอยู่
๗. กลุ่มกลุ่มโบราณสถานในเขตที่ดินนายซุ่นไล้ เชาว์ดี (ก.) อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันออกเฉลี่ย
ประมาณ ๑๐๐ เมตร มีเนินโบราณสถานอยู่ ๒ เนิน ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุและไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ
๘. กลุ่มโบราณสถานในเขตที่ดินของนางมะลิ อยู่ถัดลงมาทางตอนใต้ของที่ดินนายซุ่นไล้
เชาว์ดี อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันออก ๑๒๐ เมตร เป็นเนินทรงกลมลูกเล็กๆ สูงไม่เกินเนินละ ๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกินเนินละ ๑๐ เมตร รวม ๓ เนิน มีร่องรอยการขุดหาโบราณวัตถุ
กลุ่มเนินโบราณสถานนอกเมืองด้านใต้ (กลุ่มเนินโบราณสถานสระขอนขวาง)
เนินโบราณสถานนอกเมืองด้านทิศใต้ที่ยังไม่ขุดแต่งมีจำนวน ๓๐ เนิน ดังต่อไปนี้
๑. กลุ่มเนินโบราณสถานในที่ดินของนายสุพรรณ บันลือวงษ์ มีสองเนินถูกลักขุดและไถปรับ
พื้นที่มีศิลาแลงและอิฐกระจาย อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้ ๑๕๐ เมตร
๒. เนินโบราณสถานในที่ดินของนายสนิท สายพรหม อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้
๑๐๐ เมตร เป็นเนินถูกลักขุด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๙ เมตร
๓. เนินโบราณสถานบนสันคูด้านตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในเขตที่ดินของนายซุ่นไล้ เชาว์ดี (ข.)
ห่างจากคูเมือง ๕ เมตร เป็นเนินใหญ่แต่ถูกลักขุดจนหมดสภาพ มีศิลาแลงและอิฐกระจายอยู่
๔. กลุ่มเนินโบราณสถานในเขตที่ดินของนางเล็ก สักกะตะ มีเนินโบราณสถานทรงกลม ๓ เนิน
เรียงเป็นแนวในทางตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากคูเมือง ๑๕๐ – ๒๐๐ และ ๒๕๐ ตามลำดับ สูงเนินละ ๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเนินละ ๑๐ เมตร ถูกลักขุดมีเศษศิลาแลงและอิฐกระจายทั่วไป
๕. กลุ่มเนินโบราณสถานในเขตที่ดินของนายซุ่นไล้ เชาว์ดี (ค.) อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันออก
๑๘๐ เมตร เป็นเนินขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ เมตร สูง ๑ เมตร มีร่องรอยการลักขุด
๖. กลุ่มเนินโบราณสถานในเขตที่ดินของนายทองเจือ มนตรี อยู่ในป่ารกจำนวน ๔เนิน อยู่
ทางด้านตะวันตกหนองน้ำ ๒ เนิน เป็นเนินสูงประมาณ ๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เมตร มีร่องรอยการถูกลักขุดมีศิลาแลงและอิฐถูกรื้อกระจายออกมา ห่างจากคูเมืองประมาณ ๒๗๐ เมตร อีก ๒ เนิน อยู่ทางด้านตะวันออกของหนองน้ำ ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานบนคันดินยาว สูง ๑ เมตรเศษ ยาวประมาณ ๒๐ เมตร อีกเนินเป็นเนินโบราณสถานเล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๗ เมตร มีศิลาแลงกลมจมดินอยู่ เป็นคันดินสูง ๕๐ ซม. กว้างประมาณ ๕ เมตร ยาว ๖๐ เมตร ทอดเป็นแนวอยู่ด้านเหนือ
๗. กลุ่มเนินโบราณสถานในเขตที่ดินของพันโทเฉลิม มนตรี อยู่ทางด้านตะวันออกของที่ดินนาย
ทองเจือ มนตรี ห่างจากคูเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้ ๕๓๐ เมตร เป็นเนินถูกลักขุด ทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ เมตร สูง ๕๐ ซม.
๘. กลุ่มเนินโบราณสถานในเขตที่ดินของนายม้วน ดาราย อยู่ทางด้านใต้ของที่ดินพันโทเฉลิม
มนตรี มีเนินโบราณถูกปรับพื้นที่ ๒ จนหมดสภาพ ๒ เนิน อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ ๕๕๐ เมตร
๙. เนินดินที่พบพระพุทธรุปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ (หลวงพ่อทวารวดี) ในที่ดินของนิคมโรค
เรื้อน ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๖๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ มีเศษกระเบื้องดินเผาใช้มุงหลังคากระจายอยู่
๑๐. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของนายณรงค์ มะนาวมอง มี ๒ เนิน อยู่ห่างจากโบราณสถาน
หมายเลข ๒๓ (หลังนิคมโรคเรื้อน) ไปทางตะวันออกระยะทาง ๕๐ เมตร และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง ๗๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานถูกลักขุดและถูกไถปรับพื้นที่เพื่อทำการเกษตรจนหมดสภาพ มีแท่งศิลาแลงท่อนเสาศิลาแลง ถูกรื้อกระจัดกระจาย
๑๑. กลุ่ม เนินโบราณสถานทิศตะวันออกและทิศใต้ของหนองแฟบ (กลุ่มเนินโบราณสถานท้าย
นิคม) จำนวน ๑๐ เนิน อยู่ในพื้นที่ดังต่อไปนี้
๑๑.๑ เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายทองหล่อ วงษ์เทศ มี ๓ เนิน เนินแรกอยู่ห่างจากคูเมืองคานใต้ ๔๐๐ เมตร อยู่ทางด้านตะวันออกของหนองห่างจากหนองแฟบ ๑๕๐ เมตร เป็นเนินขนาดใหญู่ ถูกลักขุดจนหมดสภาพ มีอิฐ ศิลาแลงและกระเบื้องมุงหลังคาถูกรื้อกระจายอยู่ทั่วไป เนินที่สองอยู่ถัดลงมาทางใต้ห่างจากเนินแรก ๘๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินเตี้ย ๆ ถูกลักขุดมีแหล่งศิลาแลงถูกรื้อกระจายออกมา และเนินที่สามอยู่ถัดลงมาทางใต้ห่างจากเนินที่สอง ๕๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถาน ถูกไถปรับพื้นที่เพื่อทำการเกษตร
๑๑.๒ เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายใบ จงชัย จำนวน ๓ เนิน อยู่ทางใต้ของที่ดินของ นายทองหล่อ วงษ์เทศ อยู่ห่างจากหนองแฟบประมาณ ๒๐๐-๒๕๐ เมตร เป็นเนินโบราณสถานที่ถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ
๑๑.๓ เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นางตุ๊ ราชพิทักษ์ จำนวน ๑ เนิน ลักษณะเป็นเนินโบราณสถาน ถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ มีเศษอิฐ ศิลาแลงและเศษกระเบื้องมุงหลังคากระจายอยู่
๑๑.๔ เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายเทิน พามี อยู่ทางใต้ของที่ดิน นางตุ๊ ราชพิทักษ์ จำนวน ๓ เนิน เรียงกันอยู่ห่างจากหนองแฟบทางใต้ประมาณ ๒๕๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานถูกลักขุด อยู่ชายป่าทึบทางด้านตะวันออกมีร่องรอยทางน้ำไหลในฤดูน้ำมากลงสู่หนองแฟบ ทางน้ำนี้เริ่มที่สระบัวล้า ( เป็นสระข่อย ) ผ่านสระลึกด้านหลังโรงเรียนโคกปีปวิทยาคม ลงสู่หนองแฟบ
๑๒. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นางวันทอง ศักดิ์สง จำนวน ๒ เนิน เนินแรกอยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๓๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกลักขุดอยู่บนชายคันดินด้านนอกคูเมือง กว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เนินที่สองอยู่ห่างจากคูเมือง ๑๐๐ เมตร เป็นเนินถูกลักขุด กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สูง ๑ เมตร
๑๓. แหล่งสกัดท่อนเสาศิลาแลงทรงกลม อยู่ในที่ดินของนางวันทอง ศักดิ์สง อยู่ห่างจากคูเมือง ๕๐ เมตร ลักษณะเป็นพื้นของชั้นหินด้านบนของศิลาแลงมีรอรอการปาดหน้าดินลูกรังชั้นบนออก แล้วจึงตัดหรือสกัดเอาศิลาแลงทรงกลมที่ยังสกัดไม่เสร็จถูกทิ้งติดบนพื้นศิลาแลง มีร่องรอยการใช้เครื่องมือสกัดให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการอย่างชัดเจน
๑๔. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายมี สายบุญมา อยู่ทางด้านตะวันตกของหนองแฟบ อยู่นอกคันดินโบราณด้านใต้ของคูเมือง ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๓๔๐ เมตร เป็นเนินทรงกลมสูง ๒ เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เมตร มีร่องรอยการถูกลักขุดตรงกลางเนิน มีศิลาแลงถูกรื้อกระจายออกมา
๑๕. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นางเภา ธงชัย อยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๑๘๐ เมตร อยู่ห่างจากสระกระท้อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ๑๐๐ เมตร เป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่เพื่อทำการเกษตรจนหมดสภาพ
๑๖.กลุ่มเนินโบราณสถานทางตะวันตกของที่ดินนายมี สายบุญมา ( กลุ่มเนินโบราณสถานใต้สระกระท้อน ) จำนวน ๗ เนิน อยู่ห่างจากสระกระท้อนลงไปทางใต้ระยะทางประมาณ ๒๐๐ เมตร ห่างจากคูเมืองทางด้านใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร อยู่นอกคันดินโบราณสถานทางด้านใต้ของคูเมือง ลักษณะเป็นเนินถูกลักขุดและเป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่เพื่อทำการเกษตร มีศิลาแลงและอิฐถูกรื้อกระจาย มีต้นไม้ปกคลุม
๑๗. เนินโบราณสถานทางตะวันออกของที่ดิน นายสุข กลับชัย อยู่ทางด้านเหนือกลุ่มโบราณสถานในที่ดินของนายมี สายบุญมา ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๒๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ มีอิฐศิลาแลงและกระเบื้องมุงหลังคากระจายทั่วไป
๑๘. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายพัน ทาทิตย์ อยู่นอกคันดินโบราณที่อยู่ทางด้านใต้ของ คูเมือง ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๒๖๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินดินถูกไถปรับพื้นที่เพื่อทำการเกษตร มีศิลาแลงถูกรื้อออกมากระจายอยู่
๑๙. เนินโบราณสถานบนสันคูด้านนอก ที่ดินของหมอเซ้ง อยู่ห่างจากคูเมือง ๑๐ เมตร ห่างจากโบราณสถานหมายเลข ๕ ประมาณ ๕๐ เมตร ลักษณะป็นเนินทรงกลมสูง ๕๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ เมตร มีร่องรอยการถูกลักขุด
๒๐. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นางทองสุข ม่วงพรหม จำนวน ๒ เนิน อยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๘๐ เมตร อยู่ห่างจากสระแก้วไปทางด้านตะวันตกประมาณ ๖๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ ถูกลักขุดมีอิฐและศิลาแลงถูกรื้อกระจายออกมา
๒๑. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายโฮง เหรียญตระกูล อยู่ห่างจากคูเมืองด้านใต้ ๑๕๐ เมตร ห่างจากสระแก้วไปทางตะวันตก ๒๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานถูกลักขุดและถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ
กลุ่มเนินโบราณสถานนอกเมืองด้านตะวันตก(กลุ่มเนินโบราณสถานภูเขาทอง)
เนินโบราณสถานทางด้านตะวันตกของคูเมืองที่ยังไม่ได้ขุดแต่ง มีจำนวน ๑๑ แห่ง อยู่ในพื้นที่ดังต่อไปนี้.
๑. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นายเทพ โคว้ตระกูล ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๑๘๐ เมตร ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทาง ๒๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินเตี้ย ๆ หมดสภาพ มีรากฐานศิลาแลงโผล่ขึ้นมาให้เห็นเล็กน้อย เจ้าของที่ดินใช้เป็นที่ฝังอัฐิของบรรพบุรุษ
๒. เนินโบราณสถานด้านตะวันออกของเจดีย์ ภูเขาทอง ( ไม่ทราบชื่อเจ้าของที่ดิน ) อยู่ห่างจากคูเมือง ๖๐ เมตร อยู่ห่างจากโบราณสถานภูเขาทอง ๑๕ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ
๓. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางทองมี เหล็กม่วง อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๓๐๐ เมตร ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ๓๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานถูกลักขุดจนหมดสภาพ
๔. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางน้อย มีชัย อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๒๐๐ เมตร อยู่ห่างจากเจดีย์ภูเขาทอง ๑๐๐ เมตร เป็นเนินถูกลักขุดจนหมดสภาพ มีศิลาแลงกระจายอยู่
๕. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางเปีย มะนาวทอง จำนวน ๒ เนิน เป็นเนินใหญ่แต่ถูกลักขุดจนหมดสภาพ อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานบ้านนายน้อย มีชัย ไปทางตะวันตก ๓๐ เมตร และ ๖๐ เมตร ตามลำดับ
๖. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นายน้อย มะนาวทอง อยู่ในแนวเดียวกันกับเนินโบราณสถานในที่ดินของนางเปีย มะนาวทอง อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานบ้านนายน้อย มีชัย ไปทางตะวันตก ๕๐ เมตร เป็นเนินถูกลักขุดจนหมดสภาพ
๗. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางทองสุข พาทิตย์ อยู่ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ระยะทาง ๒๐๐ เมตร อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๒๕๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่เพื่อการเกษตร
๘. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายน้อย ถี่ถ้วน อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๓๕๐ เมตร ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ถัดจากเนินโบราณสถานที่ดิน นางทองสุข พาทิตย์ ระยะทาง ๓๐๐ เมตร เดิมเป็นเนินสูงใหญ่คล้ายเจดีย์ภูเขาทอง ชาวบ้านเรียกว่าเจดีย์ภูเขาทองน้อย ต่อมาถูกลักขุดจนหมดสภาพ
๙. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายตุ่น เหล็กนวล อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๙๐ เมตร เป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ มีอิฐและศิลาแลงกระจายอยู่เล็กน้อย
๙.๑ เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นางทองมี เหล็กม่วง มีร่องรอยการถูกลักขุด เป็นเนินนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร
๑๐. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายพลอย มีคำ อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๑๐๐ เมตร อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายตุ่น เหล็กนวล ไปทางใต้ ๔๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกลักขุดและถูกไถปรับพื้นที่เพื่อการทำการเกษตรจนหมดสภาพ
๑. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นายเทพ โคว้ตระกูล ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๑๘๐ เมตร ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะทาง ๒๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินเตี้ย ๆ หมดสภาพ มีรากฐานศิลาแลงโผล่ขึ้นมาให้เห็นเล็กน้อย เจ้าของที่ดินใช้เป็นที่ฝังอัฐิของบรรพบุรุษ
๒. เนินโบราณสถานด้านตะวันออกของเจดีย์ ภูเขาทอง ( ไม่ทราบชื่อเจ้าของที่ดิน ) อยู่ห่างจากคูเมือง ๖๐ เมตร อยู่ห่างจากโบราณสถานภูเขาทอง ๑๕ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ
๓. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางทองมี เหล็กม่วง อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๓๐๐ เมตร ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ๓๐๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานถูกลักขุดจนหมดสภาพ
๔. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางน้อย มีชัย อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๒๐๐ เมตร อยู่ห่างจากเจดีย์ภูเขาทอง ๑๐๐ เมตร เป็นเนินถูกลักขุดจนหมดสภาพ มีศิลาแลงกระจายอยู่
๕. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางเปีย มะนาวทอง จำนวน ๒ เนิน เป็นเนินใหญ่แต่ถูกลักขุดจนหมดสภาพ อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานบ้านนายน้อย มีชัย ไปทางตะวันตก ๓๐ เมตร และ ๖๐ เมตร ตามลำดับ
๖. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นายน้อย มะนาวทอง อยู่ในแนวเดียวกันกับเนินโบราณสถานในที่ดินของนางเปีย มะนาวทอง อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานบ้านนายน้อย มีชัย ไปทางตะวันตก ๕๐ เมตร เป็นเนินถูกลักขุดจนหมดสภาพ
๗. เนินโบราณสถานในที่ดินของ นางทองสุข พาทิตย์ อยู่ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ระยะทาง ๒๐๐ เมตร อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๒๕๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่เพื่อการเกษตร
๘. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายน้อย ถี่ถ้วน อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๓๕๐ เมตร ห่างจากเจดีย์ภูเขาทองไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ถัดจากเนินโบราณสถานที่ดิน นางทองสุข พาทิตย์ ระยะทาง ๓๐๐ เมตร เดิมเป็นเนินสูงใหญ่คล้ายเจดีย์ภูเขาทอง ชาวบ้านเรียกว่าเจดีย์ภูเขาทองน้อย ต่อมาถูกลักขุดจนหมดสภาพ
๙. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายตุ่น เหล็กนวล อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๙๐ เมตร เป็นเนินถูกไถปรับพื้นที่จนหมดสภาพ มีอิฐและศิลาแลงกระจายอยู่เล็กน้อย
๙.๑ เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นางทองมี เหล็กม่วง มีร่องรอยการถูกลักขุด เป็นเนินนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร
๑๐. เนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายพลอย มีคำ อยู่ห่างจากคูเมืองด้านตะวันตก ๑๐๐ เมตร อยู่ห่างจากเนินโบราณสถานในเขตที่ดินของ นายตุ่น เหล็กนวล ไปทางใต้ ๔๐ เมตร ลักษณะเป็นเนินถูกลักขุดและถูกไถปรับพื้นที่เพื่อการทำการเกษตรจนหมดสภาพ
หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของ ชุมชนโบราณ
หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยของชุมชนโบราณที่เมืองศรีมโหสถ คือ เศษภาชนะดินเผาประเภทต่าง ๆ จากการสำรวจพบว่าบริเวณที่มีเศษภาชนะดินเผากระจายอย่างหนาแน่น ได้แก่ ภายในตัวเมืองและนอกคูเมืองด้านตะวันออกและด้านตะวันตก จะพบเศษภาชนะดินเผาระยะไม่ห่างจากคูเมืองมากนัก สำหรับด้านใต้นอกคูเมืองออกไปนั้นพบเศษภาชนะดินเผาน้อยมากหรือแทบจะไม่พบเลย
เศษภาชนะดินเผาที่พบจากการสำรวจเมืองโบราณสถานมีทั้งชนิดเนื้อดินเผาธรรมดาและชนิดเครื่องเคลือบดินเผา อาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้ .
๑. เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดา
จากกการวิเคราะห์ส่วนผสมโดยวิธีทางกายภาพอาจแบ่งเศษภาชนะดินเผาที่พบในเมือง
โบราณศรีมโหสถ ออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ มีอัตราส่วนผสมของแกลบข้าวและฟางข้าวปนอยู่ในเนื้อดินมาก ส่วนใหญ่จะมีผิวสีคล้ำออกดำหรือน้ำตาลอมเทาเข้มมาก ใช้อุณหภูมิไม่สูงนัก ประมาณ ๙๐๐ องศา เนื้อเบาค่อนข้างหนา พบค่อนข้างมาก
๑. เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดา
จากกการวิเคราะห์ส่วนผสมโดยวิธีทางกายภาพอาจแบ่งเศษภาชนะดินเผาที่พบในเมือง
โบราณศรีมโหสถ ออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ มีอัตราส่วนผสมของแกลบข้าวและฟางข้าวปนอยู่ในเนื้อดินมาก ส่วนใหญ่จะมีผิวสีคล้ำออกดำหรือน้ำตาลอมเทาเข้มมาก ใช้อุณหภูมิไม่สูงนัก ประมาณ ๙๐๐ องศา เนื้อเบาค่อนข้างหนา พบค่อนข้างมาก
กลุ่มที่ ๒ มีอัตราส่วนของเม็ดดินลูกรังหรือก้อนปมศิลาแลงปนมาก ส่วนใหญ่จะมีผิวสีน้ำตาลปนแดง หรือเหลืองปนแดงใช้อุณหภูมิประมาณ ๑๐๐๐ องศา เนื้อหนักและหนาพบมาก
กลุ่มที่ ๓ ดินเหนียวเนื้อละเอียดปนทรายหยาบ สีเหลืองปนแดง เนื้อบางเบาพบน้อย อุณหภูมิประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ องศา
ลวดลายที่พบเป็นเศษภาชนะดินเผา อาจจำแนกได้ ดังนี้
ลวดลายที่พบเป็นเศษภาชนะดินเผา อาจจำแนกได้ ดังนี้
๑.ลายเชือกทาบ ใช้ไม้พันเชือกแล้วตีลายที่ตัวภาชนะ
๒. ลายประทับ หรือกดประทับด้วยเครื่องมือปลายแหลมรูปตัววีกลับหัว หรือกดประทับด้วยไม้ตีเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมหรือเป็นหลุม
๓.ลายขูดขีดเป็นตาราง รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
๔. ลายเขียนสี ที่ตัวภาชนะหรือขอบปาก เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบหรือลายขูดขีดเป็นตารางจะพบได้ทั่วไปในแหล่งโบราณคดีก่อน ประวัติศาสตร์ตอนปลายและสมัยประวัติศาสตร์ การกำหนดอายุอย่างแน่นอน จะต้องศึกษาชั้นดินโดยละเอียด ส่วนเศษภาชนะดินเผาที่ตกแต่งลายโดยการใช้เครื่องมือปลายแหลมกดประทับลายรูปตัววีกลับหัว ซ้อนกัน ๒ ครั้ง รอบ ๆ ส่วนคอภาชนะ ลายประทับเป็นตารางสี่เหลี่ยมหรือเป็นหลุมและลายเขียนสีที่ขอบปากภาชะพบมากในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี
นอกจากเศษภาชนะดินเผาที่ตกแต่งเป็นลวดลายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเศษภาชนะ ดินเผาเรียบไม่มีลาย บางชิ้นพบว่าเป็นของที่ทำเลียนแบบเครื่องเคลือบดินเผาของจีนในราชวงศ์ถัง ( พศว. ๑๔-๑๕) ได้แก่ พวยกาดินเผาหกเหลี่ยมของพื้นเมืองที่เลียนแบบพวยกาเหลี่ยมของเครื่องถ้วยฉางช่าแวร์ เป็นต้น พวยกาดินเผาเหลี่ยมดังกล่าวนี้ไม่พบว่านิยมทำในอินเดีย
๒. เศษเครื่องเคลือบดินเผา
เครื่องเคลือบดินเผาที่พบจากการสำรวจเมืองศรีมโหสถอาจจำแนกได้ เป็น ๓ ชนิด คือ เครื่องเคลือบดินเผาลพบุรี เครื่องถ้วยจีน และเครื่องเคลือบสมัยใหม่ (ร.๗ – ปัจจุบัน)
๒. เศษเครื่องเคลือบดินเผา
เครื่องเคลือบดินเผาที่พบจากการสำรวจเมืองศรีมโหสถอาจจำแนกได้ เป็น ๓ ชนิด คือ เครื่องเคลือบดินเผาลพบุรี เครื่องถ้วยจีน และเครื่องเคลือบสมัยใหม่ (ร.๗ – ปัจจุบัน)
๒.๑ เครื่องเคลือบดินเผาลพบุรี
เครื่องเคลือบดินเผาแบบลพบุรีที่พบจากการสำรวจเมืองโบราณศรีมโหสถ มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มเตาที่บ้านกรวดและกลุ่มเตาที่บ้านบาราแนะ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ พวกแรกมีลักษณะการเคลือบด้วยสีน้ำตาลไหม้ อมม่วง ปนเหลืองใส ตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ ด้วยลายลูกคลื่นซ้อน ๆ กัน และต่อเนื่องกันบนไหล่ภาชนะ ลายดังกล่าวเป็นลักษณะการเลียนแบบ เครื่องถ้วยซ้องซึ่งอยู่รวมกัน นอกจากนี้ยังนิยมทำลวดลายบัวลูกแล้วโดยขอบปาก หรือเหนือลาย ลูกคลื่น อีกพวกหนึ่งเคลือบสีเขียวใส ส่วนผสมในเนื้อภาชนะหนากว่าที่พบในเครื่องถ้วยจีนในขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดอายุเครื่องถ้วยลพบุรีได้อย่างแน่นอนจากการเปรียบเทียบขุดค้นที่ Royal Palace และบริเวณป่าช้าที่สระสรวง ( Sra Srang ) ของ จอร์จ โกรสลิเย่ ( George Groselier ) ( ๑) เนื่องจากภายหลังพบเครื่องเคลือบดินเผาลพบุรีแบบสีน้ำตาลไหม้อยู่ร่วมกับแบบสีเขียวใสในเตาเดียวกัน ดังนั้นการกำหนดอายุเครื่องถ้วยลพบุรีที่พบในเมืองโบราณศรีมโหสถ จึงอาจกำหนดอย่างกว้าง ๆ ตามจารึกในกระดิ่งที่พบที่เตาบ้านบาระแนะราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ หรือไม่เกินต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ( ข้อมูลจากอมรา ศรีสุชาติ ฝ่ายวิชาการกอง โบราณคดี )
๒.เครื่องถ้วยจีน
เครื่องเคลือบดินเผาแบบลพบุรีที่พบจากการสำรวจเมืองโบราณศรีมโหสถ มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มเตาที่บ้านกรวดและกลุ่มเตาที่บ้านบาราแนะ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ พวกแรกมีลักษณะการเคลือบด้วยสีน้ำตาลไหม้ อมม่วง ปนเหลืองใส ตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ ด้วยลายลูกคลื่นซ้อน ๆ กัน และต่อเนื่องกันบนไหล่ภาชนะ ลายดังกล่าวเป็นลักษณะการเลียนแบบ เครื่องถ้วยซ้องซึ่งอยู่รวมกัน นอกจากนี้ยังนิยมทำลวดลายบัวลูกแล้วโดยขอบปาก หรือเหนือลาย ลูกคลื่น อีกพวกหนึ่งเคลือบสีเขียวใส ส่วนผสมในเนื้อภาชนะหนากว่าที่พบในเครื่องถ้วยจีนในขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดอายุเครื่องถ้วยลพบุรีได้อย่างแน่นอนจากการเปรียบเทียบขุดค้นที่ Royal Palace และบริเวณป่าช้าที่สระสรวง ( Sra Srang ) ของ จอร์จ โกรสลิเย่ ( George Groselier ) ( ๑) เนื่องจากภายหลังพบเครื่องเคลือบดินเผาลพบุรีแบบสีน้ำตาลไหม้อยู่ร่วมกับแบบสีเขียวใสในเตาเดียวกัน ดังนั้นการกำหนดอายุเครื่องถ้วยลพบุรีที่พบในเมืองโบราณศรีมโหสถ จึงอาจกำหนดอย่างกว้าง ๆ ตามจารึกในกระดิ่งที่พบที่เตาบ้านบาระแนะราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ หรือไม่เกินต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ( ข้อมูลจากอมรา ศรีสุชาติ ฝ่ายวิชาการกอง โบราณคดี )
๒.เครื่องถ้วยจีน
เครื่องถ้วยจีนที่พบจากการสำรวจเมืองศรีมโหสถอาจจำแนกได้ดังนี้[5]
๒.๒.๑ เครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์ซ้อง ( ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖- ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ) แบ่งเป็น
๒.๒.๑.๑เครื่องถ้วยจากมณฑลกวางตุ้ง พุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ พบ ๒ ชนิด คือ เคลือบสีขาวขุ่น ผิวเคลือบแตกรานไม่มีลาย ได้แก่ ถ้วยชามและฝาชามกับชนิดเคลือบสองสีสีขาวกับสีเขียวใสไม่เขียนลาย พบในเครื่องถ้วยขนาดเล็ก เช่น ตลับฝาอบ เป็นต้น
๒.๒.๑.๑เครื่องถ้วยจากมณฑลกวางตุ้ง พุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ พบ ๒ ชนิด คือ เคลือบสีขาวขุ่น ผิวเคลือบแตกรานไม่มีลาย ได้แก่ ถ้วยชามและฝาชามกับชนิดเคลือบสองสีสีขาวกับสีเขียวใสไม่เขียนลาย พบในเครื่องถ้วยขนาดเล็ก เช่น ตลับฝาอบ เป็นต้น
๒.๒.๑.๒เครื่องถ้วยเต๋อฮัว มณฑลฝูเจี้ยน พุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ พบ ๓ ชนิด ชนิดแรกเคลือบสีขาวขุ่น ทำลวดลายใต้เคลือบเป็นเส้นรูปตัววีซ้อนกัน ชนิดที่สองเคลือบสีเขียวใสเรียกว่า เขียวซ้อง มีร่องรอยการวางปากประกบกันขณะเผาไม่เขียนลาย และชนิดที่สาม เคลือบสีน้ำตาลไหม้ปนเหลือง หรือปนดำ ขูดลายเป็นร่องซ้อนกัน เคลือบทั้งด้านในและด้านนอก
๒.๒.๒ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ( กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ต้นพุทธศตวรรษที่๒๐) พบเครื่องถ้วยชิงไป๋จากเตาจิ่งเต๋อเจิ้น ลักษณะเป็นเครื่องถ้วยขนาดเล็กจำพวกตลับคล้ายผลฟักทอง เคลือบสีขาวอมฟ้าไม่มีลาย เนื้อบางมากเคลือบทั้งด้านในและด้านนอก
๒.๒.๓ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง ( ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ) พบเครื่องถ้วยน้ำเงิน - ขาว ( Blue and white ) เขียนลายใต้เคลือบเป็นลายเส้นด้วยพู่กันเนื้อบาง
๒.๒.๔ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง ( ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - พ.ศ. ๒๔๕๔ ) พบ ๕ ชนิด
ชนิดแรกเป็นเครื่องถ้วยน้ำเงินขาว เขียนลายด้วยพู่กันใต้เคลือบก้นถ้วย ด้านบนเขียนลายวงกลมซ้อน ๆ กัน หรือลายม้วนซ้อนกัน มีลายเส้นปนด้วย
ชนิดที่สองเคลือบสีขาวอมเขียว ไม่เขียนลาย ไม่เคลือบก้นถ้วย
ชนิดที่สามเขียนลายสีเขียว เหลือง ชมพู ดำ บนเคลือบสีขาวใส ราชวงศ์ชิงตอนปลาย
ชนิดที่สี่ สีขาวใสเขียนยี่ห้อสีน้ำเงินใต้เคลือบ และชนิดที่ห้า เขียนลายใบไม้สีเขียวใต้เคลือบ
๒.๓เครื่องเคลือบดินเผาสมัยใหม่(ร.๗–ปัจจุบัน) มักพบตามแหล่งโบราณคดีที่มีการอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ซ้อนทับลงไป ลักษณะการเคลือบและการเขียนลวดลายค่อนข้างหยาบ สีภาชนะไม่สดใส ลายที่พบได้แก่ ลวดลายพรรณพฤกษาเป็นส่วนใหญ่
การกำหนดอายุเมืองโบราณศรีมโหสถ
การพบเครื่องมือขวานหินขัดที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๑ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตสำนัก สงฆ์วัดป่าพระธาตุโพธิ์ทอง หมู่ ๖ บ้านหัวชา ตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมหาโพธิ์ ห่างจากคูเมืองด้านตะวันอกประมาณ ๓ กิโลเมตร ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าคงจะมีชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่ใช้เครื่องมือหินขัดอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ เมื่อประมาณ ๒๔๐๐ – ๒๘๐๐ ปีมาแล้ว ( ราว ๓๐๐ ปี ก่อนพุทธศตวรรษถึงพุทธศตวรรษที่ ๔ ) ชุมชนนี้จะพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมื่อใดและมีโครงสร้างทางสังคมซับซ้อนเพียงใดนั้นยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนในการยืนยัน แต่จากการพบลูกปัดโรมันภายในตัวเมืองศรีมโหสถ ซึ่งกำหนดอายุจากการเปรียบกับเหรียญทองโรมัน ๒ เหรียญที่พบที่เมืองออกแก้วในแหลมโคชินจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เหรียญหนึ่งมีพระรูปของพระเจ้าอันโตนิอัส ( Antonius Pius )อีกเหรียญหนึ่งมีพระรูปของพระเจ้ามาคัส ออกเรริอัส ( Marcus Aurelius ) และภาพสลักรูปมกรที่ปรากฏอยู่บนผนังสระแก้ว ซึ่งทำท่ากำลังจะกระโดดก็มีลักษณะคล้ายกับมกรในศิลปะอินเดีย แบบอมราวดี ( ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๙ ) จึงอาจกล่าวได้ว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๗ นั้นเมืองศรีมโหสถมีพัฒนาการร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนัน ( พุทธศตวรรษที่ ๖ – ๑๑ ) และอาจมีการติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายกับอาณาจักรโรมัน และอินเดียไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม[6]
การกำหนดอายุเมืองโบราณศรีมโหสถ
การพบเครื่องมือขวานหินขัดที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๑ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตสำนัก สงฆ์วัดป่าพระธาตุโพธิ์ทอง หมู่ ๖ บ้านหัวชา ตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมหาโพธิ์ ห่างจากคูเมืองด้านตะวันอกประมาณ ๓ กิโลเมตร ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าคงจะมีชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่ใช้เครื่องมือหินขัดอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ เมื่อประมาณ ๒๔๐๐ – ๒๘๐๐ ปีมาแล้ว ( ราว ๓๐๐ ปี ก่อนพุทธศตวรรษถึงพุทธศตวรรษที่ ๔ ) ชุมชนนี้จะพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมื่อใดและมีโครงสร้างทางสังคมซับซ้อนเพียงใดนั้นยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนในการยืนยัน แต่จากการพบลูกปัดโรมันภายในตัวเมืองศรีมโหสถ ซึ่งกำหนดอายุจากการเปรียบกับเหรียญทองโรมัน ๒ เหรียญที่พบที่เมืองออกแก้วในแหลมโคชินจีน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม เหรียญหนึ่งมีพระรูปของพระเจ้าอันโตนิอัส ( Antonius Pius )อีกเหรียญหนึ่งมีพระรูปของพระเจ้ามาคัส ออกเรริอัส ( Marcus Aurelius ) และภาพสลักรูปมกรที่ปรากฏอยู่บนผนังสระแก้ว ซึ่งทำท่ากำลังจะกระโดดก็มีลักษณะคล้ายกับมกรในศิลปะอินเดีย แบบอมราวดี ( ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๙ ) จึงอาจกล่าวได้ว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๗ นั้นเมืองศรีมโหสถมีพัฒนาการร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนัน ( พุทธศตวรรษที่ ๖ – ๑๑ ) และอาจมีการติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายกับอาณาจักรโรมัน และอินเดียไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม[6]
จากการขุดแต่งโบราณสถานเนินสระบัวล้า ของกลุ่มโบราณสถานวัดสระมรกตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๙ ได้พบรอยพระพุทธบาทคู่ ลักษณะเหมือนรอยเท้ามนุษย์สลักอยู่บนพื้นลานศิลาแลง มีลานประทักษิณก่อโดยรอบตรงกลางพระบาททั้งสองข้าง มีเครื่องหมายธรรมจักรประดิษฐ์อยู่โดยมีร่องกากบาทอยู่ตรงกลาง ร่องกากบาทนี้มีลักษณะคล้ายเครื่องหมายสวัสดิกะมาก ส่วนรอยริ้วรูปวงกลมถูกลานประทักษิณคล่อมทับ ซึ่งสังเกตเห็นเพียงเล็กน้อยก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของรอยสลักรูปบัวรองบท รอยพระพุทธบาทคู่นี้จัดเป็นอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าตามคติของชาวอินเดียโบราณและชาวลังกา ซึ่งจะหันมาสร้างพระพุทธรูปในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ แต่จากการพบศิลาจารึกเนินสระบัว ( จารึกหลักที่ ๕๖ ) ซึ่งกล่าวถึงการสรรเสริญพระรัตนตรัย มหาศักราช ๖๘๓ ( พ.ศ. ๑๓๐๔ ) ณ บริเวณเนินสระบัวล้า จึงทำให้อาจกำหนดอายุรอยพระพุทธบาทคู่ อยู่ในต้นพุทธศตวรรษที่๑๔ นอกจากจะพบว่า กลุ่มโบราณสถานวัดสระมรกตสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาราว พ.ต.ว. ๑๙ แล้ว ยังปรากฏร่องรอยพระพุทธศาสนาในบริเวณอื่นด้วยทั้งภายในเมือง และนอกเมืองศรีมโหสถ อาทิ เนินดินนอกเมืองหลังนิคมโรคเรื้อนที่พบพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นต้น และตามประวัติจากคำบอกเล่าก็กล่าวถึงการพบธรรมจักรศิลาของพวกลักขุดที่เนินดินผู้ใหญ่ทองคำ บ้านสระมะเขือ และเนินดินด้านตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานหมายเลข ๒๒ ในตัวเมืองศรีมโหสถ และในขณะเดียวกันภายในตัวเมืองศรีมโหสถก็ปรากฏหลักฐานประติมากรรมทางศาสนาฮินดู ทั้งลัทธิไศวนิกายและลัทธิไวษณพนิกาย ซึ่งกำหนดอายุศิลปะอยู่ในกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ แสดงให้เห็นว่าในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑– ๑๔ ชาวเมืองศรีมโหสถรับนับถือลัทธิสำคัญทางศาสนา ๓ ลัทธิ พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ได้แก่ พุทธศาสนา ลัทธิไศวนิกาย และไวษณพนิกาย และเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า พุทธศาสนานั้นคงจะเป็นที่นิยมนับถือกันในกลุ่มใหญ่สามัญชนมากกว่า ในขณะที่ลัทธิไศวนิกาย และไวษณพนิกายซึ่งพบอยู่ภายในเมืองนั้นคงจะนับถือกันในกลุ่มของราชวงศ์ และข้าราชการสำนักคล้าย ๆ กับลักษณะการนับถือศาสนาฮินดูของราชสำนักขอมสมัยก่อนเมืองนครในช่วงเดียวกัน หลักฐานเกี่ยวกับเมืองศรีมโหสถในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๗ ค่อนข้างจะไม่แจ่มชัดนัก ถึงแม้ว่าจะมีการพบประติมากรรมศิวลึงค์ และโยนิคลึงค์จำนวนไม่น้อยภายในตัวเมืองศรีมโหสถ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านศิลาจารึก ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในการกำหนดอายุ และการตีความทางโบราณคดีเกี่ยวกับเมืองนี้ แต่จากการพบประติมากรรมภาพสลักนูนต่ำมหิษสุรมรรทนีที่โบราณสถานหมายเลข ๒๒ จากการเปรียบเทียบกับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศกัมพูชาว่าในช่วงศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๗ ก็อาจกล่าวได้ว่าศาสนาฮินดูคงจะมีอิทธิพลสูงมากในเมืองศรีมโหสถ จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงพบหลักฐานจารึกบนภาชนะสำริดจำนวน ๓ ชิ้น จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๑
ชิ้นแรกจารึกจุลศักราช ๑๑๐๙ ( พ.ศ. ๑๗๓๐ ) ชิ้นที่สองจารึกจุลศักราช ๑๑๑๕ ( พ.ศ. ๑๗๓๐๖ ) กล่าวถึงการอุทิศถวายเครื่องไทยธรรมแก่อโรคยศาลา ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ณ เมือง “ สังโวก” เหมือนกัน ชิ้นที่สามนั้นจารึกจุลศักราช ๑๑๑๕ กล่าวถึงการอุทิศถวายเครื่องไทยธรรมแก่อโรคยศาลาของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ แต่เรียกนามเมืองเสียใหม่ว่า “ อวัธยปุระ ” จึงอาจเป็นไปได้ว่า ในช่วงก่อนพุทธศักราช ๑๗๓๖ นั้น เมืองโบราณคดีศรีมโหสถมีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักว่าเมืองสังโวกตหรือสังโวก ภายหลังนามเมืองถูกเปลี่ยนมเรียกว่าอวัธยปุระอย่างเป็นทางการ เมืองศรีมโหสถคงมีความสัมพันธ์ หรืออาจเป็นเมืองที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และคงเป็นเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งนอกเหนือไปจากบรรดาชื่อเมืองโบราณที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างโรคยศาลา เพื่ออุทิศเป็นประโยชน์แก่ประชาชนของพระองค์ มิฉะนั้นแล้วภาชนะสำริดมีจารึกคงไม่ถูกนำมาเก็บรักษาหรือซ่อนเร้นรวมกันอยู่ ณ โบราณสถานหมายเลข ๑๑อย่างแน่นอน[7] อย่างไรก็ตาม ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นมาก็มิได้ปรากฏเรื่องราวของเมืองศรีมโหสถอีกเลย แม้จะมีเกร็ดพงศาวดารที่เล่าถึงการเดินทางทัพของพระยาวชิรปราการ ( พระเจ้าตากสิน ) ผ่านดงศรีมหาโพธิ์ หลังกรุงแตกครั้งที่ ๒ ก่อนจะเดินทางไปเมืองชลบุรี ระยอง และจันทบุรี จนกระทั่งตอนสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้กวาดต้อนเชลยสงครามครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ จากเมืองจำปาศักดิ์และหัวเมืองใกล้เคียงมาไว้ที่เมืองปราจีนบุรี จึงมีชุมชนของลาวพวนบางส่วน อาศัยอยู่บริเวณดงศรีมหาโพธิ์ และภายหลังมีชาวจีนเข้ามาอยู่สมทบด้วยแต่ก็เป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆ เท่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ความรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณเมืองศรีมโหสถได้เสื่อมสลายลงในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อันเป็นช่วงเดียวกับการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรขอมโบราณ[8]
บทสรุปและข้อคิดเห็นบางประการ
เมืองศรีมโหสถ เป็นเมืองโบราณ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมนค่อนข้างรี ล้อมรอบด้วยคูน้ำและคันดินขนาด ๗๐๐ x ๑,๕๐๐ เมตร ตั้งอยู่ในตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนที่ดอนชายดงศรีมหาโพธิ์ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลอนลูกคลื่น จัดอยู่ในชุดดินกบินทร์บุรี เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนเม็ดกรวดหรือเรียกว่า “ ดินลูกรัง ” จัดเป็นเมืองโบราณรุ่นแรก ๆ ที่ปรากฏในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในเขตมืองศรีมโหสถ แสดงให้เห็นถึงร่องรอยความซ้ำซ้อนทางวัฒนธรรม อันเกิดจากอิทธิพลศิลปะฟูนัน ศิลปะทวารวดี ศิลปะเทวรูปรุ่นเก่า และศิลปะขอมครอบงำอยู่เป็นช่วง ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๗ เรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเขตเมืองศรีมโหสถ อาจเป็นผลมาจากสภาพที่ตั้งของตัวเมือง มีลักษณะคล้ายรัฐกันชนระหว่างเขตวัฒนธรรมของอาณาจักรสำคัญที่ก่อตัวอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ดังจะเห็นจากหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยแรก ๆ ที่พบในตัวเมือง ได้แก่ ลูกปัดซึ่งคล้ายกับที่พบในเมืองนอกแล้ว ประเทศเวียดนามและเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๗ - ๙ แสดงให้เห็นว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๗ - ๙ นั้น เมืองศรีมโหสถได้ติดต่อสัมพันธ์กับอาณาจักรฟูนันมาจนกระทั่งอาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลง จึงปรากฏร่องรอยทางด้านศาสนาและศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทวารวดีเข้ามาแทนที่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๔ จากหลักฐานการพบพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ พระนิรันตราย พระพุทธรูปศิลาทรายสลักนูนสูงปางสมาธิมีสถูปประดิษฐานอยู่สองข้าง และการค้นพบธรรมจักรศิลา อันเป็นเครื่องหมายแห่งการประกาศศาสนาพุทธในดินแดนแถบนี้
ขณะที่เมืองศรีมโหสถรับอิทธิพลทางศิลปทวารวดีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๔ ก็มีศิลปกรรมอีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูทั้งลัทธิไศวนิกายและลัทธิไวษณพนิกายเกิดขึ้น ลักษณะของศิลปะดังกล่าวแสดงออกถึงสุนทรียภาพทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมที่มีโครงสร้างกล้ามเนื้อใกล้เคียงกับลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ นักโบราณคดีเรียกศิลปะนี้ว่า “ ศิลปะเทวรูปรุ่นเก่า ” และกำหนดอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ ศิลปเทวรูปเก่านี้พบที่เมืองโบราณศรีมโหสถ เมืองโบราณศรีเทพ และเมืองโบราณชายฝั่งทะเลภาคใต้บางส่วน โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะทางอินเดียตอนใต้สมัยราชวงศ์ปัลลวะ
การปรากฏศิลปเทวรูปรุ่นเก่าภายในตัวเมืองศรีมโหสถ ทำให้สันนิษฐานว่าเมืองโบราณแห่งนี้คงรับเอาแนวความคิดทางศาสนาฮินดูมาจากสองแหล่งคือทางอาณาจักรเจินละ ซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองสืบมาจากอาณาจักรฟูนัน และจากพ่อค้าชาวอินเดียโดยการติดต่อค้าขายทางทะเลเช่นเดียวกับเมืองโบราณชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอาอย่างธรรมเนียมการนับถือศาสนาฮินดูจากเจินละ ดังปรากฏหลักฐานประติมากรรมทางศาสนาฮินดูเป็นจำนวนมากภายในตัวเมืองศรีมโหสถ ในขณะที่พบหลักฐานประติมากรรมทางพุทธศาสนาภายในตัวเมืองน้อยมาก ตรงกันข้ามกลับพบร่องรอยทางพุทธศาสนาที่สำคัญบริเวณรอบนอกตัวเมืองเป็นส่วนใหญ่
เป็นที่ตระหนักว่าศิลาจารึกเนินสระบัว สร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลทางศาสนาพุทธที่รับผ่านมาจากอาณาจักรทวารวดี แต่มิได้หมายความว่า ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เมืองศรีมโหสถจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมจากอาณาจักรทวารวดีแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยสิ้นเชิงแต่ประการใด อิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีอาจแสดงออกแต่เฉพาะด้านศิลปะพุทธศาสนาเท่านั้น ประชาชนชาวศรีมโหสถยังสืบทอดขนบประเพณีและวัฒนธรรมที่ได้รับมาจากอาณาจักรเจินละอย่างเห็นได้ชัด
ดังปรากฏในบางตอนของศิลาจารึกเนินสระบัว ที่ใช้ภาษาขอมโบราณจารึกข้อความแสดงให้เห็นอิทธิพลทางอักษรศาสตร์ของอาณาจักรเจินละที่มีต่อเมืองศรีมโหสถ แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะยังไม่ค้นพบจารึกที่มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๗ แต่การใช้ภาษาขอมในจารึกที่เมืองศรีมโหสถก็ยังปรากฏอีกครั้งตอนกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อิทธิพลทางวัฒนธรรมอีกประการหนึ่งที่พบในจารึกเนินสระบัว คือ การใช้ชื่อชั้นยศ “ กมรเตง ” ของบุคคลชั้นสูงตามแบบอย่างขอมโบราณ และอาจสันนิษฐานได้ว่า ชาวศรีมโหสถชั้นสูงที่นับถือศาสนาพุทธ รับคติการสร้างศาสนสถานอุทิศแด่รูปเคารพบรรพบุรุษของตน รวมทั้งประเพณีการอุทิศถวายสิ่งของบำรุงศาสนสถานมาจากอาณาจักรเจินละผสมผสานกับความเชื่อการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษของชาวพื้นเมือง โดยกล่าวจากข้อความอุทิศถวายพระโคแก่รูปเคารพที่ใช้บรรจุอังคารของบรรพบุรุษ คือ “ กมรเตง…( ชคตะ ? ) ” ซึ่งอาจจะหมายถึงพระพุทธรูปก็ได้ คล้ายกับคติการสร้างเทวสถานเพื่อประดิษฐานศิวลึงค์ประจำรัชกาลกษัตริย์ของไศวนิกาย
ธิดา สาระยา ( ๒๕๒๙ ) สันนิษฐานว่า รอยพระพุทธบาทที่โบราณสถานสระมรกตมีอายุเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ ๖ โดยเชื่อว่าการสร้างพระพุทธบาทน่าจะมีขึ้นก่อนการเข้ามาของพระพุทธรูปสมัยอมราวดีที่บ้านพงตึกและโคราช ก่อนที่คติการสร้างธรรมจักรศิลาในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะปรากฏที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ แต่นักโบราณคดีบางท่าน ( สุภัทรดิศ : ๒๕๒๙ ) ก็เชื่อว่า รอยพระพุทธบาทที่โบราณสถานวัดสระมรกต มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕
ในระยะแรก ๆ การศึกษาศิลาจารึกเนินสระบัวไม่สู้จะให้ความกระจ่างต่อการตีความทางโบราณคดีเท่าใดนัก ครั้นเมื่อมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทคู่ที่โบราณสถานวัดสระมรกตในต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงทำให้การศึกษาจารึกเนินสระบัวเป็นไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของการกำหนดอายุรอยพระพุทธบาท เป็นต้น
ศิลาจารึกเนินสระบัว บรรทัดที่ ๑ – ๓ กล่าวถึงการประดิษฐานรอยพระพุทธบาทของชนชั้นสูงผู้หนึ่ง ( แห่งเมืองศรีมโหสถ ) ในปีฉลู นักษัตร แรม ๑ ค่ำ เดือนเจ็ด วันพุธ มหาศักราช ๖๘๓ ( พ.ศ. ๑๓๐๔ ) ข้อความสำคัญประโยคหนึ่งในบรรทัดที่ ๒ และ ๓ อาจนำมากำหนดอายุของรอยพระพุทธบาทค่อนข้างแน่นอน ดังนี้
“ ( มรเตง…) พุทธสิระ ประดิษฐานพระศาสดานั้น ฯ คำว่า “ พระศาดานั้น ” สันนิษฐานว่าหมายถึง รอยพระพุทธบาทคู่ ในรูปลักษณ์หรือความหมายแทนองค์พระพุทธเจ้า
พระพุทธบาทเป็นอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ที่สร้างขึ้นบูชาแทนองค์พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ ก่อนความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในแถบเอเชียอาคเนย์ ดังนั้น แทนที่ผู้สร้างรอยพระพุทธบาทจะจารึกประโยคว่า “ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ” ตรง ๆ กลับใช้ว่า “ ประดิษฐานพระศาสดานั้น ” แทน
ข้อความว่า “ …พระบาท พระผู้มีปัญญา…ผู้ไตร่ตรองศีลและปัญญา…” และข้อความ “ …พระบาทประดิษฐาน ( กมรเตง ) .. ” คงจะหมายถึง กมรเตง ( ชคตะ ? ) ผู้ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของผู้สร้างรอยพระพุทธบาทคู่ คำว่า “ ผู้ไตร่ตรอง ” หมายถึงผู้ที่มีสมาธิหรือไตร่ตรองโดยสมาธิ ผู้ไตร่ตรอง ( สมาธิ ) ศีลและปัญญาอันเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งทางพุทธศาสนาซึ่งเรียกว่าหลักไตรสิกขา ย่อมหมายถึง พุทธมามกะ ส่วน“ กมรเตง ( ชคตะ ? ) ” ในที่นี้สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปบรรจุอังคารบรรพบุรุษของ กมรเตงพุทธสิระ ผู้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทคู่นั่นเอง
จากการวิเคราะห์ศิลาจารึกเนินสระบัวดังกล่าวข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า รอยพระพุทธบาทคู่โบราณสถานวัดสระมรกต สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๑๓๐๔ ( ม.ศ. ๖๘๓ ) หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดยดั้บอิทธิพลทางศาสนาพุทธจากกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดีจากหลักฐานลักษณะพุทธศิลปะ ซึ่งปรากฏในประติมากรรมที่ดงศรีมหาโพธิ์ หรือ จะกล่าวได้ชัดเจน คือ รอยพระพุทธบาทคู่ที่โบราณสถานวัดสระมรกต สร้างขึ้นโดยชนชั้นสูงชาวพื้นเมืองศรีมโหสถที่นับถือศาสนาพุทธ ผู้ร่วมเผ่าพงศ์วงศากับกลุ่มชนชั้นสูงที่นับถือศาสนาฮินดูแห่งเมืองมโหสถ และผู้ที่ผลักดันให้เกิดศิลปะเทวรูปรุ่นเก่าขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ ที่เมืองศรีมโหสถ คือ กลุ่มชนชั้นสูงกลุ่นี้ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรเจินละ ซึ่งคงจะแผ่เข้ามาในดงศรีมหาโพธิ์สมัยพระเจ้าอิสานวรมันพร้อม ๆ กับการผนวกเอาดินแดนบางส่วน ( ตอนกลาง – ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ) เหนืออ่าวไทยแถบจังหวัดจันทบุรีจรดอาณาเขตทางทิศตะวันออกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นเขตอิทธิพลของอาณาจักรทวารวดี และหลักฐานในศิลาจารึกปราสาทด๊อกก๊อกธมที่เล่าถึงพระราชประวัติของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ แสดงให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมมาโดยตลอด
หลักฐานทางโบราณคดีที่สร้างเนื่องในศาสนาฮินดู อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๗ พบน้อยมากในเมืองศรีมโหสถ ในขั้นต้นนี้เข้าใจว่ารูปเคารพสำคัญในศาสนาฮินดูสมัยเทวรูปรุ่นเก่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔ อาจยังคงปรากฏมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๗ เลยก็ได้ มีเพียงภาพสลักศิลาทรายนูนต่ำมหิษสุรมรรทนีจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒๒ ( เทวสถานกลางเมือง ) รูปเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ ประติมากรรมดังกล่าวนุ่งผ้ายาวคร่อมข้อเท้าคล้ายกับการนุ่งผ้าของประติมากรรมขอมสมัยพบมดาหรือสมโบร์ไพรกุก ( ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ ) แต่ผ้าห้อยหน้ามีลักษณะอย่างประติมากรรมสมัยพระโค ( ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ) และผ้าพันเอวซึ่งปรากฏเค้าราง ๆ ให้เห็น มีลักษณะอย่างประติมากรรมสตรีที่ปราสาทเนียงเขมาศิลปะสมัยเกาะแกร์ ( ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ )
สำหรับศิวลึงค์ศิลาทรายขนาดใหญ่ที่เก็บรักษาไว้ที่วัดสระมรกตนับเป็นหลักฐานทางโบราณคดีเนื่องในลัทธิไศวนิกายที่ปรากฏโบราณสถานวัดสระมรกต ลักษณะที่น่าสนใจ คือ เป็นศิวลึงค์ที่สร้างขึ้นเพียง ๒ ภาค ได้แก่ รุทรภาคกับวิษณุภาค
น่าสังเกตว่า รุทรภาค มีขนาดสั้นมาก ขณะที่วิษณุภาคมีความยาวถึง ๕ เท่าของรุทรภาค และด้านหลังของศิวลึงค์นี้ทำแบนราบเรียบราวกับต้องการให้มองเห็นแต่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว ลักษณะของศิวลึงค์มี ๒ ภาคนี้จัดอยู่ในวิวัฒนาการช่วงปลาย อาจกำหนดอายุราวพุทธศตวรษที่ ๑๕ – ๑๗ ส่วน ศิวลึงค์ในรุ่นแรก ๆ แถบดงศรีมหาโพธิ์นั้น จะมีลักษณะคล้ายองค์กำเนิดเพศชายค่อนข้างชัดเจนและกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓
จากการพบศิวลึงค์ดังกล่าวที่โบราณสถานวัดสระมรกตทำให้เกิดความสงสัยว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้นที่นี่ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ต่อมาประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงพบหลักฐานพระพุทธรูปนาคปรกสวมกระบังหน้าแบบนครวัด ( ปลายพุทธศตวรษที่ ๑๗ ) พระพุทธรูปนาคปรกพระเนตรพริ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มแบบบายน ( พุทธศตวรษที่ ๑๘ ) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแบบบายนและพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ ( พุทธศตวรษที่ ๑๘ ) พร้อม ๆ กับการพบหลักฐานทางพุทธศาสนานิกายมหายานที่โบราณสถานหมายเลข ๑๑ และประติมากรรมพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑที่โบราณสถานกลางเมือง ( เทวสถานพระพิฆเนศ )
นั่นคือระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทรกแซงศาสนาพุทธที่โบราณสถานวัดสระมรกต เมื่อถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ จึงเกิดการฟื้นฟูศาสนาพุทธที่วัดสระมรกตอีกครั้งหนึ่ง และยังพบว่าศาสนาพุทธพยายามแทรกแซงศาสนาฮินดูที่เทวสถาน กลางเมืองศรีมโหสถอีกด้วย
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างเมืองศรีมโหสถกับดินแดนอื่น นอกเหนือไปจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับอาณาจักรฟูนัน หรือหลักฐานอิทธิพลทางศิลปะกับอิทธิพลทางศาสนาจากอาณาจักรทวารวดีและความสัมพันธ์ทางเครือข่ายวัฒนธรรมกับเมืองโบราณใกล้เคียงและอาณาจักรเจินละในช่วง ต้น ๆ ของพัฒนาการแหล่งวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีมโหสถแล้วยังปรากฏหลักฐานการติดต่อกับประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง ( พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ ) จากการพบชิ้นส่วนพวยกาดินเผารูปหกเหลี่ยม ซึ่งเชื่อว่าทำเลียนแบบพวยกาเหลี่ยมของเครื่องถ้วยฉางช่าแวร์ในสมัยราชวงศ์ถัง แต่กระนั้นก็ตามพวยกาดินเผาชิ้นนี้อาจทำเลียนแบบขึ้นในสมัยหลัง ๆ ก็ได้
การติดต่อทางการค้ากับประเทศจีนยังคงปรากฏให้เห็นต่อมา เมื่อสำรวจพบเครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์ซ้อง ( พุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ) จากมณฑลกวางตุ้งและเครื่องถ้วยเต๋อฮัวจากมณฑลฝูเจี้ยน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นช่วงแห่งความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของเมืองศรีมโหสถ และการพบเครื่องถ้วยจีนยังคงมีต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จากการพบเครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์หงวน , หมิง , และชิง
นอกจากเครื่องถ้วยจีนแล้วยังพบเครื่องถ้วยลพบุรีลักษณะคล้ายกับเครื่องเคลือบดินเผาซึ่งพบที่แหล่งเตาเผา อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ อาจกำหนดอายุในเบื้องต้นจากจารึกบนกระดิ่งดินเผาที่เตาบ้านบาระแนะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ แต่ไม่เกินต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ( ข้อมูลจาก อมรา ศรีสุชาติ , ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี ) แสดงให้เห็นว่าในช่วงดังกล่าวนี้เมืองศรีมโหสถยังติดต่อกับแหล่งวัฒนธรรมในลุ่มแม่น้ำมูลตอนใต้อีกด้วย
กล่าวโดยสรุป หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยต้น ๆ ของแหล่งวัฒนธรรมเมืองศรีมโหสถตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔ แสดงให้เห็นถึงการรับกระแสทางวัฒนธรรมต่างศาสนาจากอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรเจนละ อย่างปราศจากปรากฏการณ์รุนแรง ศาสนาฮินดูมีรากฐานอย่างมั่นคงภายใต้การรับใช้ชนชั้นสูงแห่งเมืองศรีมโหสถมาจนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในขณะที่ร่องรอยทางศาสนาพุทธปรากฏอยู่ทั่วไปนอกเขตเมือง แต่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ได้เกิดเหตุการณ์แทรกแซงกันทางศาสนาอย่างรุนแรงจากการปรากฏรูปเคารพในลัทธิไศวนิกายที่ศาสนสถานวัดสระมรกต ในช่วงนี้ศาสนาพุทธคงสดุดพัฒนาการของตนไปชั่วขณะหนึ่งกระทั่งปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงเกิดการฟื้นฟูทางพุทธศาสนาขึ้นทั่วทั้งเมืองศรีมโหสถ รวมทั้งอาจมีความพยายามในการขจัดศาสนาฮินดูออกจากเมืองศรีมโหสถ โดยประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑที่เทวสถานกลางเมืองในพุทธศตวรรษที่ ๑๘
การอ้างอิง
[1]สุจิตต์ วงษ์เทศ, วัดต้นโพธิ์, อักษรสัมพันธ์, พระนคร หน้า ๕๓-๕๕ (๒๕๑๑)
[2] สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ตำนานพระพุทธเจดีย์เล่ม๒, (๒๔๘๙)
[3] จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. ๑๙๑๒ (๒๔๕๕) กองสมุดแห่งชาติ หน้า ๓๓๖
[4] บรรจบ เทียมทัด โบราณคดีเมืองปราจีนบุรี, สารบรรณทหารเรือ, พระนคร หน้า ๗๐
[5] กรมศิลปากร , เครื่องถ้วยในประเทศไทย , อมรินทร์การพิมพ์ , กรุงเทพมหานคร , หน้า ๗๕ ปี ๒๕๒๓
[6] มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล “ อาณาจักรฟูนัน ” โบราณคดีดงศรีมหาโพธิ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า ๔๒ – ๔๓
[7] มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล “ ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม ” ศิลปากรปีที่ ๑๕ เล่ม ๒ กรกฏาคม ๒๕๑๔ หน้า ๒๖ – ๓๘
[8] พระครูศรีมหาโพธิ์คณารักษ์ , จังหวัดปราจีนบุรี ฯ , หน้า ๓๐
๑. กรมแผนที่ทหาร , แผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ, ระวาง ๕๒๓๖-๑ ลำดับชุด ๗๐๑๗ มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐
๒. กรมแผนที่ทหาร , แผนที่ประเทศไทย , มาตราส่วน ๑ : ๑,๐๐๐,๐๐๐
๓. กรมศิลปากร , เครื่องถ้วยในประเทศไทย , อมรินทร์การพิมพ์, กรุงเทพ, ๒๕๒๓.
๔. กรมศิลปากร , ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร , คุรุสภา , กรุงเทพ, ๒๕๑๖.
๕. กองหอสมุดแห่งชาติ ,จดหมายเหตุกิจรายวันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ค.ศ. ๑๙๑๒ (๒๔๕๕).
๖. นิคม มูสิกะคามะ และบรรจบ เทียมทัด , โบราณคดีเมืองปราจีนบุรี , กรมสารบรรณทหารเสือ การพิมพ์ , กรุงเทพฯ, ๒๕๑๕.
๗. พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ , จังหวัดปราจีนบุรี, อักษรสัมพันธ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๐”
๘. สุจิตต์ วงษ์เทศ, วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์, อักษรสัมพันธ์การพิมพ์,๒๕๑๐.
๙. สุภัทรดิศ ดิศกุล, มจ. ศาสนาพาหมณ์ในอาณาจักรขอม , ศิลปากร ปีที่ ๑๕ เล่ม ๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖.
๑๐. สุภัทรดิศ ดิศกุล, มจ. อาณาจักรฟูนัน , อักษรสัมพันธ์การพิมพ์, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๐.
๑๑. สมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ตำนานพุทธเจดีย์ เล่ม ๒ ,คุรุสภา , กรุงเทพฯ, ๒๔๕๕.
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555
รายงานการบูรณะพระปรางค์สามยอด พ.ศ.2537
รายงานการบูรณะโบราณสถานพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ปีงบประมาณ 2537 (กรกฎาคม 2538)
เสนอ กรมศิลปากร
(ศึกษาเปรียบเทียบ ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร)
ปีงบประมาณ 2537 (กรกฎาคม 2538)
เสนอ กรมศิลปากร
(ศึกษาเปรียบเทียบ ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร)
คำนำ
วิกฤตการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและความเจริญทางวัตถุอย่าไม่หยุดยั้ง เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการโยกย้ายถ่ายเทมวลสารประชากรและอื่นๆหลายกระแสโดยผ่านกระบวนการทางด้านการคมนาคม แม้ความหนาแน่นของการคมนาคมจะเป็นสิ่งบ่งชี้ระดับแห่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่เมื่อปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างและความมั่นคงของโบราณสถานอย่างรุนแรงแล้วองค์กรซึ่งรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ จำเป็นต้องรีบดำเนินการตรวจสอบป้องกันและแก้ไขโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
เนื่องด้วยการบูรณะโบราณสถานพระปรางค์สามยอดเป็นการดำเนินงานที่อยู่ในความสนใจอย่างยิ่งของมวลชน ห้างฯ จึงมีนโยบายให้บุคลากรทุกฝ่ายปฏิบัติงานอย่างรอบคอบรัดกุมเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรและทางฝ่ายราชการ โดยคำนึงถึงถึงปรัชญาในการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมของสภาระหว่างประเทศว่าด้วยอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (INTERNATIONAL COUNCIL ON MONUMENTS AND SITES) เจ็ดประการ ได้แก่ การป้องกันการเสื่อมสภาพ (PROTECTION) การสงวนรักษาภาพ (PRESERVATION) การอนุรักษ์ (CONSERVATION) การเสริมความมั่นคงแข็งแรง (CONSOLIDATION) การบูรณปฏิสังขรณ์ (RESTORATION) การฟื้นฟูสภาพตามเค้าโครงเดิมทางสถาปัตยกรรม (RECONSTRUCTION) และการรื้อแล้วประกอบคืนตามสภาพเดิม (ANASTYLOSIS) ภายใต้การควบคุมและแนะนำอย่างใกล้ชิดของผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร
แผนผังเมืองละโว้หรือลพบุรีซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโบราณสถานพระปรางค์สามยอดและโบราณสถานสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนี้ เชื่อกันว่าถูกสำรวจและรังวัดขึ้นโดย นาย เดอ ลา มาร์ (M.DE LA MARE) วิศวกรฝรั่งเศสที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ประมาณปี พ.ศ.2223-2230) นาย เดอ ลา มาร์ ผู้นี้เคยบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับกบฏมักกะสันในปี พ.ศ.2230 อย่างละเอียด จากการสังเกตการณ์และสอบถามผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน ต่อมาแผนผังฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในบันทึกจดหมายเหตุการเดินทางของชาวฝรั่งเศสบางเล่ม
พระปรางค์แต่ละองค์จะมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ แต่ละทิศล้วนมีบันไดทางขึ้นหรือร่องรอยของบันไดยื่นออกมา นอกจากนี้ ฉนวนที่เชื่อมปรางค์ทิศเหนือและทิศใต้เข้ากับปรางค์ประธานยังมีทางขึ้นและประตูทั้งด้านตะวันตกด้วย แต่น่าเสียดายประตูฉนวนบางด้านและหน้าต่างของมุขทิศถูกก่ออิฐบิดเสียแล้ว
ปัญหาที่ถูกนำมาพิจารณาขณะนี้คือรูแบบของบันไดทางขึ้นมุขทิศต่าง ๆ ภายหลังจากการซ่อมเมื่อปี พ.ศ. 2469 – 2471 นั้น มีลักษณะค่อนข้างกว้างกว่าและชันน้อยกว่ารูปแบบของบันไดทางขึ้นอาคารที่ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากศิลปะขอม ซึ่งก็คงจะได้ข้อยุติว่าจะมีการดำเนินการไปต่ออย่างไรหรือไม่ในระยะอันใกล้นี้
โบราณสถานที่ก่อเสริมขึ้นใหม่
1.วิหารทิศตะวันออก
ลักษณะเป็นวิหารก่ออิฐถือปูน ขนาด 15 x 10 เมตร ก่อเชื่อมเข้ากับมุขทิศด้านตะวันออกของปรางค์หมายเลข2 (ปรางค์ประธาน) หลังคาทรุดพังลงมา หลักฐานจากการขุดแต่งได้พบว่า วิหารนี้มุงหลังคาด้วยกระเบื้องกาบกล้วย การเชื่อมวิหารกับปรางค์เข้าด้วยกันนั้นพบว่าช่างได้เจาะหน้าบันศิลาทรายของมุขทิศด้านตะวันออกเป็นร่องสำหรับสอดแปทำหลังคาลดชั้นร่องสอดแปนี้จะปรากฏอยู่บนหน้าบันของมุขทิศด้านตะวันออกและตะวันตกของปรางค์หมายเลข2และ3 มุขทิศด้านตะวันออกของปรางค์หมายเลข1 และจากการขุดแต่งบริเวณทิศของปรางค์แต่ละจุดข้างต้น ล้วนได้พบชิ้นส่วนของกระเบื้องมุงหลัวคาแบบกาบกล้วยในบริเวณดังกล่าวทั้งสิ้นลักษณะของการทำร่องสอดแปนอกจากจะปรากฏอยู่หน้าบันมุขทิศของพระปรางค์สามยอดแล้วยังปรากฏอยู่บนหน้าบันปรางค์รายของวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย
2.ซากโบราณสถานด้านตะวันตกของปรางค์หมายเลข 2 (ปรางค์ประธาน)
ลักษณะเป็นเนินดินปกคลุมแนวรากฐานอิฐ ขนาด 10 x 8 เมตร ขุดพบร่องรอยของกระเบื้องมุงหลังคาแบบกาบกล้วยเช่นกัน
3.รากฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์หมายเลข 3
ตั้งอยู่ห่างจากปรางค์หมายเลข 3 ประมาณ 20 เมตร ลักษณะเป็นเนินดินมีหญ้าปกคลุม ภายหลังหารขุดแต่งได้พบว่าเนินดินดังกล่าวเป็นรากฐานอาคาร ขนาด 8 x 15 เมตร รูปทรงสันฐานคล้ายกับวิหารด้านตะวันออกของปรางค์ประธาน จากหลักฐานการขุดแต่งได้พบว่าผนังด้านสกัด (ด้านหุ้มกลอง) ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังนี้ได้ทรุดตัวลงไปทางด้านตะวันตกทั้งแถบ พบกระเบื้องมุงหลังคาแบบเกล็ดเต่า ซ้อนกันเป็นจำนวนมาก
ซุ้มหน้าบันระดับเหนือหลังมุขทิศตะวันออกของปรางค์หมายเลข 1 มีลวดลายปูนปั้นรูปมกรคายนาคห้าเศียรเป็นซุ้ม ภายในซุ้มตกแต่งเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิเหลือเพียงครึ่งองค์ลักษณะคล้ายพระพุทธรูปร่วมสมัยศิลปะบายนของกัมพูชา
ซุ้มหน้าบันทิศใต้ของปรางค์หมายเลข 3 ทำปลายซุ้มหน้าบันเป็นรูปมกรคายนาค ภายในมีรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก ประทับบนฐานบัวหงาย ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ วางพระหัตถ์บนเข่าคล้ายพระพุทธรูปศิลปะล้านนา แต่พระบาทนั้นไขว้กันหลวมๆ แบบพื้นเมืองภายใต้อิทธิพลทราวดี ส่วนรัดประคดนั้นทำเว้าลงแล้วหยักเป็นมุมแหลมตรงกลาง แลเห็นขอบชัดเจนตามแบบฉบับของศิลปะลพบุรี
แนวความคิดในการติดตั้งกลีบขนุนปรางค์เท่าที่ปรากฏจากการศึกษากลีบขนุนปรางค์ที่ยังหลงเหลืออยู่พบว่า แต่ละด้านจะมีกลีบขนุนปรางค์รูปเทพประจำทิศตรงกลาง ขนาบข้างด้วยกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชกุมกระบองด้านละหนึ่งองค์ (ซ้าย-ขวา) และกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชกุมกระบองของแต่ละด้านจะถูกขนาบด้วยกลีบขนุนปรางค์รูปพญานาคที่มุมของหลังคาปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ทุกชิ้นจะปรากฏร่องรอยการตกแต่งด้วยปูนปั้นอีกชั้นหนึ่งทั้งสิ้น
สิ่งที่น่าสนใจที่ได้พบจากการศึกษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานพระปรางค์สามยอดก็คือ การที่บริเวณหน้าบันของมุขทิศเกือบทุกด้านของโบราณสถานแห่งนี้จะมีร่องรอยการถูกเจาะเป็นร่องรูปหน้าจั่วแบบเดียวกัน เมื่อได้พบหลักฐานของกระเบื้องมุงหลังคาจากบริเวณตรงข้ามกับตำแหน่งหน้าบันของมุขทิศจำนวนมาก ทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่า การเจาะร่องดังกล่าวบนหน้าบันของมุขทิศน่าจะทำขึ้นเพื่อสอดแปมุงหลังคาในชั้นหลังนั่นเอง หลักฐานการสอดแปมุงหลังคายื่นออกมาจากหน้าบันมุขทิศเช่นนี้ ยังได้พบที่ปรางค์ทิศวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย
ส่วนฝ้าเพดานของพระปรางค์หมายเลข 1-2 นั้น มีร่องรอยของการประดับกระจกเป็นรูปดาวพื้นไม้ลงรักปิดทอง สภาพชำรุดทรุดโทรมค่อนข้างมาก
ปัญหาด้านวิศวกรรม
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ อาทิ อิทธิพลของกระแสลม ฝน แสงแดด และความชื้นในแต่ละปี ทำให้ศิลาแลงและศิลาทรายอันเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์สามยอดเกิดการเสื่อมสภาพ เมื่อถูกลิงปีนป่ายขึ้นไปขย่มบ่อยๆเข้าก็หลุดตกลงมา เบื้องล่างเป็นจำนวนมาก
จากการสำรวจแรงสั่นสะเทือนของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (A.I.T) แม้จะพบว่าแรงสั่นสะเทือนจากรถไฟและรถบรรทุกมีผลต่อรากฐานของพระปรางค์สามยอดไม่มากนัก การสำรวจมิได้ระบุถึงผลกระทบอันเกิดขึ้นต่อส่วนประกอบของเรือนธาตุ และหลังคาปรางค์ซึ่งได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องสะสมมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งมีรอยปริแยกหลายจุดบนองค์ปรางค์ อาทิ ที่มุขทิศตะวันออกของพระปรางค์หมายเลข 1 ที่หน้าบันบนชั้นเชิงบาตรของพระปรางค์หมายเลข 2 ซุ้มประตูและมุขทิศด้านตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 2 ซึ่งถูกค้ำยั่นด้านเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก อีกทั้งยังถูกรัดด้วยเหล็กแผ่นเพื่อกันมิให้มุขทิศด้านนี้ทรุดพังลงมา
บทที่ 2
การสำรวจเพื่อการบูรณะ
การวางผังบริเวณ
ช่างสำรวจได้กำหนดจุดต่างๆ โดยรอบพื้นที่โบราณสถานออกเป็น 4 จุด ได้แก่จุด RP.1 อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จุด RP.2 อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จุด RP.3 อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจุด RP.4 อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากนั้นจึงตีตารางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตรคลุมพื้นที่พระปรางค์สามยอด โดยมีจุด BM. อยู่ทางด้านตะวันออกของวิหาร ซึ่งต่อเสริมออกไปจากปรางค์ทิศตะวันออกของพระปรางค์หมายเลข 1 เป็นจุดกำหนดตายตัว มีระดับความสูงสมมติอยู่ที่ 10.000 เมตร การกำหนดจุด BM.มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับการกำหนด DATUM LINE ในการขุดแต่งโบราณสถาน กล่าวคือ DATUM LINE จะใช้ในการวัดระดับวัตถุที่อยู่ลึกลงไปในชั้นดิน ส่วน BM.LINE ใช้วัดระดับของโครงสร้างของโบราณสถานซึ่งอยู่เหนือผิวดินขึ้นไป
หลังจากทำแผนผังบริเวณในแนวราบแล้ว มีการติดตั้งนั่งร้านโครงเหล็กเพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงาน จากนั้นช่างสำรวจไก้ทำผังรูปด้านของพระปรางค์หมายเลข 1-2 เป็นตารางกริดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 1x1 เมตร เช่นเดียวกัน เพื่อควบคุมระดับความสูงของชั้นหินให้สัมพันธ์กับหลักฐานซึ่งจะถูกบันทึกลงบนสมุดกราฟ มิให้เกิดความผิดพลาดในการถอดชิ้นส่วนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมของโบราณเป้าหมาย จากนั้นช่างจึงได้กำหนดหมายเลขของตารางกริด โดยเริ่มจากจุด RP.2 มีเส้นตั้งเป็นแกน Y เส้นนอนเป็นแกน X มีหมายเลขกำกับช่องละ 1 เมตร ดังปรากฏในผังบริเวณ
หลังจากทำผังทั้งตามแนวดิ่งและแนวราบโดยใช้อุปกรณ์คือกล้องส่องระดับ ไม้ระดับ ลูกดิ่ง และเชือกแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนของการดำเนินการเพื่อการบูรณะ ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป
บทที่ 3
การบูรณะพระปรางค์หมายเลข 1 และพระปรางค์หมายเลข 2
การบูรณะพระปรางค์หมายเลข 1-2 มีขั้นตอนดังนี้
1.การถอดชิ้นส่วนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
1.1การถอดชิ้นส่วนพระปรางค์หมายเลข 1
1.1.1 การถอดกลศและฐานกลศ
เมื่อได้ทำผังตำแหน่งของกลศบนยอดปรางค์หมายเลข 1 แล้ว จากนั้นจึงถอดกลศโดยใช้เชือกรัดเป็นห่วงแล้วใช้รถเครนโรยโบราณวัตถุชิ้นนี้ลงมาอย่างระมัดระวัง หลังจากถอดกลศแล้วจึงรื้อฐานรองรับกลศซึ่งเป็นศิลาแลงลงมาด้วย ฐานรองกลศมีสภาพชำรุดมากเหลือศิลาแลงที่มรสภาพสมบูรณ์เพียงชิ้นเดียว นอกนั้นมีสภาพเป็นเศษศิลาแลง 2-3 ก้อน จึงได้เขียนรหัสศิลาของกลศเป็นชั้นที่ 1 ส่วนฐานรองรับกลศให้เป็นศิลาชั้นที่ 2 โดยใช้ระบบให้หมายเลขศิลาเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา
1.1.2 การถอดชิ้นส่วนศิลากลุ่มยอดบัวปรางค์
- การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3
หลังจากถอดชั้นกลศออกไปแล้ว ได้พบว่าชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ทางด้านตะวันออกมีสภาพชำรุดมาก เนื่องจากมีศิลาแลงหล่นหายไปหลายชิ้น จนเหลือศิลาแลงเพียง 11 ชิ้น ส่วนฐานด้านล่างของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ก็มีศิลาแลงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ศิลาแลงบางก้อนมีสภาพชำรุดมาก ศิลาแลงชั้นบนมีขนาดประมาณ 30x70x20 ซม.ศิลาแลงชั้นล่างมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย และได้พบหลักฐานว่ามีการใช้ปูนซิเมนต์มาซ่อมบัวยอดปรางค์ชั้นนี้ไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้
หลังจากกำหนดรหัสบนศิลาแลงแต่ละก้อนลงบนผังและบนศิลาแล้วจึงรื้อบัวยอดปรางค์ชั้นบนลงมาก่อนที่จะดำเนินการเช่นเดียวกันกับฐานของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 การรื้อบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ทำให้พบว่า ภายในมีการนำแท่งศิลาทรายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 50x50x20 ซม.วางเป็นศูนย์กลางของกลีบบัวยอดปรางค์ ซึ่งจะมีขอบด้านนอกบานออก ส่วนขอบด้านในเรียกว่า ไม่ปรากฏหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงแต่ละก้อนเข้าด้วยกัน
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2
บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ศิลาแลงชั้นบนกับชั้นล่าง รูปร่างของศิลาแลงแต่ละก้อนมีลักษณะคล้ายส่วนบนของกระดูก LONG BONE ที่ถูกแต่งส่วนล่างให้มน แล้ววางเรียงโดยการหันส่วนบนออกไปด้านนอก บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ส่วนบนประกอบด้วย ศิลาแลงจำนวน 16 ก้อนแต่เหลือเพียง 14 ก้อน
พบหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงก้อนที่ 11-12-13 (ชิ้นเดียวกับก้อนที่ 12) – 14 เข้าด้วยกัน โดยมีโลหะตะกั่วหลอมยึดเหล็กให้แน่นภายในร่องอีกครั้ง ศิลาแลงมีขนาดประมาณ 50x100x30 ซม.ส่วนฐานของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นั้น มีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงก้อนที่ 4 กับก้อนที่ 5 ก้อนที่ 9 กับก้อนที่ 10 และก้อนที่ 14 กับก้อนที่ 15 และก้อนที่ 16 เข้าด้วยกัน ปัญหาคือ ศิลาแลงบางก้อนอาจมีสภาพชำรุดเนื่องจากการเจาะฝังเหล็กรูปตัวไอ ดังปรากฏหลักฐานในแผนผังชั้นศิลาแนบท้ายรายงานฉบับนี้
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1
บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ส่วนบนประกอบด้วย ศิลาแลงทั้งชำรุดและสมบูรณ์รวม 35 ก้อน พบว่ามีการใช้เหล็กรูปตัวไอหลอมด้วยตะกั่วยึดหินก้อนที่ 7-8 ไว้เพียงจุดเดียวการเรียงศิลาแลงมีลักษณะวางส่วนของกลีบบัวยอดปรางค์ล้อมรอบแกนของบัวยอดปรางค์ด้านในเป็นวงกลม
ฐานของบัวยอดปรางค์ ประกอบด้วย ศิลาแลงจำนวนมากกว่า 35 ก้อน ศิลาแลงบางก้อนชำรุดหล่นหายไป บางก้อนอาจชำรุดเนื่องจากการใช้เหล็กรูปตัวไอยึด พบหลักฐานการใช้
เมื่อรื้อศิลาแลงของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 ออกไป จึงได้พบว่ามีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงทางด้านใต้ของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 3 (ส่วนบน) เพียงตัวเดียวเท่านั้น
การรื้อศิลาแลงตั้งแต่ส่วนกลศลงมาจนถึงชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 ออกไป ทำให้ได้พบแนวโน้มว่า การเรียงศิลาแลงชั้นบนๆ ช่างจะใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงเข้าด้วยกัน เนื่องจากศิลาแลงชั้นบนมีขนาดค่อนข้างเล็กและมีน้ำหนักไม่มากนัก การยึดด้วยเหล็กรูปตัวไอจะช่วยให้เกิดความมั่นคงได้มากในระยะแรก แต่ครั้นเวลาผ่านไปนานๆ ร่องที่ใช้วางเหล็กยึดศิลาแลงจะเป็นตัวปัญหาที่ทำให้ศิลาแลงแตกหรือชำรุดหล่นลงมายังพื้นด้านล่างเสียเอง เนื่องจากอุณหภูมิในอากาศจะทำให้ศิลาแลงหรือเหล็กและตะกั่วมีการหดและขยายตัวตามคุณสมบัติทางธรรมชาติของธาตุแต่ละอย่าง
หลักฐานที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่พบจากการรื้อชิ้นส่วนศิลาแลงก็คือ นักโบราณคดีได้พบว่า ช่างได้เรียงศิลาแลงให้มีลักษณะเวียนขวาจากบนลงมาด้านล่าง (หรือเวียนจากซ้ายขึ้นไป) ทำให้ศิลาแลงแต่ละชั้นจะมีลักษณะหลั่นเหลื่อมกันเล็กน้อย หากไม่สังเกตชั้นศิลาแลงจากหน้าตัดด้านในของโพรงศิลาแลงที่เหลื่อมกันตรงจุดศูนย์กลางของปรางค์แล้วจะไม่สามารถแลเห็นเป็นเทคนิคพิเศษนี้ได้เลย จึงอาจเรียกเทคนิคพิเศษนี้ว่า “การซ้อนหินหลั่นเหลื่อมกันแบบเกลียวสว่านวนขวาลงล่าง” ก็ได้ ประโยชน์ของการเรียงศิลาแลงเช่นนี้ เมื่อผสมผสานกับการเซาะบ่าของศิลาแลงบางก้อนเพื่อสอดเหลี่ยมของศิลาแลงอีกก้อนเข้ามา จะทำให้เกิดการขัดและการสอดรับกันของศิลาแต่ละก้อนทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ เพิ่มความมั่นคงให้เกิดแก่องค์ปรางค์ได้มากยิ่งขึ้น
เมื่อรื้อส่วนบนของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ลงไป ได้พบแท่งศิลาทรายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 50 x 50 x 20 ซม.มีรูสี่เหลี่ยมประมาณ 20 x 20 ซม.อยู่ตรงกลาง ซ้อนกัน 2 ชั้น เช่นเดียวกับที่พบในบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ของพระปรางค์หมายเลข 1 แต่ไม่ทราบประโยชน์หรือหน้าที่ของวัตถุดังกล่าวว่า มีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนาอย่างไร แท่งศิลาทรายดังกล่าวนี้วางปิดโพรงของปรางค์หมายเลข 2 ได้พอดี ได้พบชิ้นส่วนแผ่นทองแดงขนาดใหญ่ม้วนเป็นแผ่นกลมวางอยู่ทางด้านใต้ของแท่นศิลาทราย เมื่อคลี่ออกมากับไม่ปรากฏร่องรอยการจารึกใดๆทั้งสิ้น ระดับนี้ไม่พบเหล็กรูปตัวไอยึดศิลาทรายเอาไว้ แต่พบว่ามีการนำศิลาแลงเพียงก้อนเดียว ขนาดประมาณ 30 x 50 x 20 ซม.ปนอยู่กับศิลาทราย
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1
ศิลาทรายที่นำมาประกอบกันเป็นบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีการเซาะร่องเป็นแนวยาวตรงตามแกนทิศทั้งสี่ ซึ่งในชั้นนี้มีผู้ระบุว่า อาจเป็นรางระบายน้ำฝนมิให้ไหลลงไปภายในองค์ปรางค์ได้
ศิลาทรายของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ส่วนบน ประกอบด้วย หิน จำนวน 28 ก้อน รูปร่างคล้ายลิ่มหรือสี่เหลี่ยมคางหมู ชั้นหินส่วนกลางประกอบด้วยศิลาทราย จำนวน 30 ก้อน ชั้นหินส่วนล่างประกอบด้วยศิลาทราย จำนวน 29 ก้อน และมีหลักฐานใช้เหล็กรูปตัวไอหล่อด้วยตะกั่วยึดศิลาทรายเข้าด้วยกันถึง 11 จุด หรือประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1
1.2.2 การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตร (ชั้นบันแถลง)
- การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (ชั้นบันแถลงชั้นที่ 5)
ตั้งแต่ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 ของพระปรางค์หมายเลข 2 ลงไป ทัพสัมภาระส่วนนี้ทำจากศิลาแลงทั้งหมด ประกอบด้วยศิลาแลงประมาณ 30-31 ก้อน ขนาดประมาณ 100 x 60 x 40 ซม.ถึงประมาณ 50 x 30 x 20 ซม.ลดหลั่นปะปนกัน ส่วนบนพบหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงเข้าด้วยกันเพียง 2 จุดเท่านั้น ชั้นเชิงบาตรส่วนกลางพบเพียงจุดเดียว ชั้นเชิงบาตรส่วนล่างนั้นมีศิลาแลงเรียงไม่น้อยกว่า 41 ก้อน (บางก้อนหล่นหายไป)
-การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (ชั้นบันแถลงชั้นที่ 4)
ชั้นนี้มีการก่อปูนซิเมนต์เสริมความมั่นคงของแนวชั้นศิลาแลง (ระบุว่าซ่อมปี พ.ศ.2512) บางส่วน ชั้นหินส่วนกลางของชั้นเชิงบาตรระดับนี้มีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดประมาณ 5-6 จุด
การรื้อชิ้นส่วนและองค์ประกอบของบัวยอดปรางค์และชั้นเชิงบาตร มีการถ่ายรูปทำผังเอาไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการนำมาประกอบเข้าตามรูปเดิม และเพื่อการบูรณะโดยการเสริมศิลาส่วนที่หลุดหายไปให้สมบูรณ์มั่นคงดังเดิม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืนที่มีต่อตัวโบราณสถาน
จากนั้น ได้ทำความสะอาดพื้นที่ก่อนจะเจาะเหล็กรูปตัวยูยึดหินแต่ละก้อนไว้ และอัดด้วยกาววิทยาศาสตร์ ก่อนจะใช้ปูนขาวหมักเทรองพื้นคานป้องกันมิให้ปูนซิเมนต์ซึมลงไปทำลายเนื้อวัสดุเดิม (ศิลาแลง) เมื่อปูนหมักแห้งได้ที่แล้วจึงวางตะแกรงเหล็กไร้สนิมลงไปแทนที่เนื้อศิลาแลงที่ถูกสกัดออกไป ก่อนจะเทคอนกรีตซึ่งมีส่วนผสม 1:2:4 ลงไปยึดโครงสร้าง คสล. โดยตะแกรงเหล็กมีระยะการผูกเหล็กห่างกัน 20 ซม.ใช้เหล็กไร้สนิมเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม.เป็นแกนตะแกรง ใช้เวลาประมาณ 5 วัน เพื่อให้ คสล.อบตัวและแห้งอย่างเหมาะสม (บ่ม คสล.โดยขังน้ำไว้) แล้วจึงนำศิลาของแต่ละชั้นมาประกอบเข้าตามเดิม โดยได้เจาะฝังเหล็กไร้สนิมรูปตัวยูลงบนหินแต่ละก้อนแบบก้อนต่อก้อน ทุกๆจุดของหินแต่ละชั้น
การยึดหินแต่ละก้อนด้วยเหล็กไร้สนิม มีการอัดกาววิทยาศาสตร์เพิ่มความมั่นคงแข็งแรงเข้าไปด้วยทุกครั้ง เหล็กไร้สนิมรูปตัวยูมีขนาดยาวประมาณ 30 ซม.ส่วนที่งอเป็นขอนั้นยาว 15 ซม.
ช่องว่างของศิลาแลงหรือศิลาทรายแต่ละแห่งของทุกๆชั้น จะถูกหยอดปูนขาวหมักได้ที่ป้องกันการซึมผ่านของน้ำและความชื้นระดับหนึ่ง
เมื่อเรียงหินเข้าที่เดิมแล้วจึงได้คัดก้อนที่มีสภาพชำรุดมากๆทิ้งไป แล้วนำวัสดุใหม่ (ศิลาแลงใหม่) เข้าไปเสริมแทนที่ ก่อนที่จะสกัดให้มีรูปทรงกลมกลืนกับวัสดุเดิมตามรูปแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
การเสริมความมั่นคงของซุ้มประตูมุขทิศด้านตะวันออกของปรางค์หมายเลข 1 ใช้วิธีการเจาะสอดเหล็กไร้สนิม เอียงเป็นมุม 30-60 องศา ยาว 100 ซม.เข้าไปฝังไว้ที่ด้านหลังของแนวสันหลังคามุขทิศด้านตะวันตก จำนวน 30 จุด แล้วอัดน้ำปูนขาวหมักเข้มข้นลงไปในช่องว่างเพื่อให้ปูนขาวยึดเหล็กกับศิลาแลงเข้าด้วยกันอย่างแข็งแรง
3. การเสริมวัสดุใหม่เข้าไปแทนที่วัสดุที่ชำรุด
ได้กล่าวไปแล้วในขั้นตอนของการเสริมความมั่นคงและการประกอบชิ้นส่วนพระปรางค์กลับที่เดิม
4. การบูรณะฝ้าเพดานภายในครรภคฤหะของพระปรางค์หมายเลข 1-2
จากการศึกษาเทคนิคของการทำฝ้าเพดานของพระปรางค์หมายเลข 1-2 นักโบราณคดี ได้พบว่า ช่างได้บากชื่อตัวบนกับตัวล่างก่อนวางประกบกัน และยึดด้วยเดือยหรือตะปูเหล็กหัวกลมขนาดใหญ่ ส่วนกระดานบุฝ้านั้นจะถูกยึดด้วยเดือยไม้แผ่นต่อแผ่นอย่างแน่นหนา และมีหลักฐานว่าฉนวนของพระปรางค์สามยอดทั้งสองแห่งก็น่าจะมีการบุฝ้าเพดานด้วยเช่นกัน
นักโบราณคดีจึงดำเนินการปรึกษาหารือและค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ควรจะนำกลีบขนุนปรางค์กลับเข้าไปติดตั้งอย่างไร มิให้ขัดแย้งกับคติความเชื่อ ความเป็นมา และทิศทางการติดตั้งประติมากรรมตามจารีตดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมอันเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เนื่องจากเป็นเรื่องยากมากที่จะนำชิ้นส่วนซึ่งไม่ทราบตำแหน่งชัดเจนกลับขึ้นไปติดตั้งให้ถูกต้องได้
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งของกลีบขนุนปรางค์เดิมของพระปรางค์สามยอดจากภาพถ่ายในอดีต และจากการเปรียบเทียบกับกลีบขนุนปรางค์ของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ทำให้ได้ข้อยุติในชั้นต้นดังนี้
2.ระหว่างเทพประจำทิศทั้งสองด้านจะติดตั้งกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวช (เทวดา?)ยืนกุมกระบองขนาบเทพประจำทิศไว้ ด้านข้างของกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชจะมีกลีบขนุนปรางค์รูปเทพสตรียืนถือดอกบัวอยู่มุมละกลีบ ส่วนด้านข้างของเทพสตรีจะเป็นกลีบขนุนปรางค์รูปพญานาค 5 เศียร ติดตั้งอยู่มุมละ 2 ชิ้น
วิกฤตการณ์อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและความเจริญทางวัตถุอย่าไม่หยุดยั้ง เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการโยกย้ายถ่ายเทมวลสารประชากรและอื่นๆหลายกระแสโดยผ่านกระบวนการทางด้านการคมนาคม แม้ความหนาแน่นของการคมนาคมจะเป็นสิ่งบ่งชี้ระดับแห่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่เมื่อปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างและความมั่นคงของโบราณสถานอย่างรุนแรงแล้วองค์กรซึ่งรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ จำเป็นต้องรีบดำเนินการตรวจสอบป้องกันและแก้ไขโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
ในอดีตนั้น โบราณสถานสำคัญของชาติจำนวนมากต่างก็ถูกคุกคามจากการขยายตัวของประชากรและสังคมเมือง อาทิ การสร้างอาคารคร่อมทับหรือแวดล้อมโบราณสถาน การตัดถนนและการสร้างทางรถไฟผ่านโบราณสถาน การดัดแปลงสภาพคูเมืองเชื่อมเข้ากับคลองชลประทาน การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ การบุกรุกและรื้อโบราณสถานเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ด้วยความรู้เท่าไม่ถุงการณ์ ฯลฯ สาเหตุข้างต้นล้วนแต่ทำให้เกิดความสูญเสียโอกาสในการศึกษาหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมของอารยธรรมไทยทั้งสิ้น
กรมศิลปากรตระหนักถึงสภาวะอันน่าวิตกดังกล่าวจึงได้ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันและอนุรักษ์มิให้มรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชาติถูกทำลายด้วยเงื่อนไขต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอนุรักษ์พระปรางค์สามยอด อันเป็นโบราณสถานใจกลางเมืองลพบุรี ซึ่งบ่งบอกถึงพัฒนาการของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี โบราณสถานแห่งนี้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขยายตัวของผังเมืองและความหนาแน่นของการจราจร ทั้งยานยนต์และรถไฟ อันมิได้ตระหนักถึงความอยู่รอดใดๆ ทำให้โครงสร้างบางส่วนของพระปรางค์ปริแยกอย่างน่าเกรงว่าจะทรุดพังลงมา หากมิได้เร่งรีบดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะอย่างเหมาะสม
ขณะที่ลวดลายปูนปั้นของพระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุได้รับความเสียหายจากมูลนกพิราบ ส่วนพระปรางค์สามยอดก็ได้รับผลกระทบจากการรบกวนของลิงทั้งหลายที่ปีนป่ายหรืองัดแงะชิ้นส่วนต่างๆบนองค์ปรางค์ อาทิ ลวดลายปูนปั้น กลีบขนุนปรางค์ และศิลาแลงที่เสื่อมสภาพ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาจากการลักลอบนำชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรมออกไปจากองค์ปรางค์อย่างผิดกฎหมายด้วย ทำให้กรมศิลปากรต้องดำเนินการให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานพระปรางค์สามยอดด้วยวิธีการต่างๆอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2469 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ.2536 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง ได้รับมอบหมายจากกรมศิลปากรให้ดำเนินการบูรณะพระปรางค์หมายเลข 3 (ปรางค์ทิศเหนือ) แล้วเสร็จสมบูรณ์ด้วยดี ต่อมาในงบประมาณ 2537 ห้างฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการบูรณะปรางค์หมายเลข 1 (ปรางค์ทิศใต้) และปรางค์หมายเลข 2 (ปรางค์ประธาน) ระหว่างเดือนตุลาคม 2537-กรกฎาคม 2538 พร้อมกันไปกับการขุดแต่งและขุดค้นเพื่อตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดีและศึกษาโครงสร้างรากฐานของโบราณสถานแห่งนี้
เนื่องด้วยการบูรณะโบราณสถานพระปรางค์สามยอดเป็นการดำเนินงานที่อยู่ในความสนใจอย่างยิ่งของมวลชน ห้างฯ จึงมีนโยบายให้บุคลากรทุกฝ่ายปฏิบัติงานอย่างรอบคอบรัดกุมเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรและทางฝ่ายราชการ โดยคำนึงถึงถึงปรัชญาในการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมของสภาระหว่างประเทศว่าด้วยอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (INTERNATIONAL COUNCIL ON MONUMENTS AND SITES) เจ็ดประการ ได้แก่ การป้องกันการเสื่อมสภาพ (PROTECTION) การสงวนรักษาภาพ (PRESERVATION) การอนุรักษ์ (CONSERVATION) การเสริมความมั่นคงแข็งแรง (CONSOLIDATION) การบูรณปฏิสังขรณ์ (RESTORATION) การฟื้นฟูสภาพตามเค้าโครงเดิมทางสถาปัตยกรรม (RECONSTRUCTION) และการรื้อแล้วประกอบคืนตามสภาพเดิม (ANASTYLOSIS) ภายใต้การควบคุมและแนะนำอย่างใกล้ชิดของผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร
ห้างฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์ต่อการศึกษาเปรียบเทียบและเป็นแบบอย่างในการตัดสินใจดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถาน เพื่อป้องกันและแก้ไขการคุกคามหรือการทำลายโบราณสถานสำคัญแห่งอื่นๆของชาติในโอกาสต่อไป
ผู้ร่วมงาน
1. นายสุรชัย ธรมธัช ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง
2. นายเจตนพันธุ์ ธนะสุนทร นักโบราณคดี
3. นายพิทยะ ศรัวัฒนสาร นักโบราณคดี
4. นายกฤษฏา ตะก้อง ช่างสำรวจ
5. นายสัมพันธ์ สุขพัทธี ช่างศิลปกรรม
6. นายสุเมธ ทองสุก ผู้ช่วยช่างศิลปกรรม
7. นายธีระกุล สิงหะแสนยาพงษ์ ผู้ช่วยช่างสำรวจ
8. นายวินิต พูนเพิ่ม ช่างฝีมือแรงงาน
9. นายสมชาย คำแตง ช่างฝีมือแรงงาน
10. นายสุรชัย บุญโย ช่างฝีมือแรงงาน
11. นายลบ มาประโคน ช่างฝีมือแรงงาน
12. นายพินิจ คงทวี ช่างฝีมือแรงงาน
13. นายเจ้ย เกียรรัมย์ ช่างฝีมือแรงงาน
14. นายฉาย ขุนกลาง ช่างฝีมือแรงงาน
15. นายเตียน สมหมาย ช่างฝีมือแรงงาน
16. นายวันชัย ฤทธิ์เจริญ ช่างฝีมือแรงงาน
17. นายคูณ ปุนประโคน ช่างฝีมือแรงงาน
18. นายหลี ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา ช่างฝีมือแรงงาน
19. นายบุรินทร์ ภาสดา ช่างฝีมือแรงงาน
20. นายชาติ มหาดไทย หัวหน้าคนงาน
21. นางจินดา กำเนิดเพ็ชร คนงาน
บทนำ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโบราณสถานพระปรางค์สามยอด
ที่ตั้ง
โบราณสถานพระปรางค์สามยอด เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ประมาณ พิกัด PS 741368 หรือที่ประมาณเส้นรุ้งที่ 14 องศา 47 ลิปดา 08 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแสงที่ 100 องศา 36 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ตามแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ จังหวัดลพบุรี มาตราส่วน 1 : 50000 พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD ระวาง 5138 IV
ผู้ร่วมงาน
1. นายสุรชัย ธรมธัช ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง
2. นายเจตนพันธุ์ ธนะสุนทร นักโบราณคดี
3. นายพิทยะ ศรัวัฒนสาร นักโบราณคดี
4. นายกฤษฏา ตะก้อง ช่างสำรวจ
5. นายสัมพันธ์ สุขพัทธี ช่างศิลปกรรม
6. นายสุเมธ ทองสุก ผู้ช่วยช่างศิลปกรรม
7. นายธีระกุล สิงหะแสนยาพงษ์ ผู้ช่วยช่างสำรวจ
8. นายวินิต พูนเพิ่ม ช่างฝีมือแรงงาน
9. นายสมชาย คำแตง ช่างฝีมือแรงงาน
10. นายสุรชัย บุญโย ช่างฝีมือแรงงาน
11. นายลบ มาประโคน ช่างฝีมือแรงงาน
12. นายพินิจ คงทวี ช่างฝีมือแรงงาน
13. นายเจ้ย เกียรรัมย์ ช่างฝีมือแรงงาน
14. นายฉาย ขุนกลาง ช่างฝีมือแรงงาน
15. นายเตียน สมหมาย ช่างฝีมือแรงงาน
16. นายวันชัย ฤทธิ์เจริญ ช่างฝีมือแรงงาน
17. นายคูณ ปุนประโคน ช่างฝีมือแรงงาน
18. นายหลี ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา ช่างฝีมือแรงงาน
19. นายบุรินทร์ ภาสดา ช่างฝีมือแรงงาน
20. นายชาติ มหาดไทย หัวหน้าคนงาน
21. นางจินดา กำเนิดเพ็ชร คนงาน
บทนำ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโบราณสถานพระปรางค์สามยอด
ที่ตั้ง
โบราณสถานพระปรางค์สามยอด เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ประมาณ พิกัด PS 741368 หรือที่ประมาณเส้นรุ้งที่ 14 องศา 47 ลิปดา 08 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแสงที่ 100 องศา 36 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ตามแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ จังหวัดลพบุรี มาตราส่วน 1 : 50000 พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD ระวาง 5138 IV
พระปรางค์สามยอด เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีขอบเขตพื้นที่ตามแนวเขตรั้วโบราณสถานปัจจุบันประมาณ 2 ไร่เศษ
ทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์มาลัยรามา และห้างทวีกิจ ระหว่างโรงภาพยนตร์มาลัยรามากับโบราณสถานพระปรางค์สามยอดมีทางเดินสาธารณะทอดยาวไปตามแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทางเดินสาธารณะสายนี้ ชาวเมืองลพบุรีเคยเรียกว่า “ประตูผี” ใช้เป็นทางแห่ศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดปาธรรมโสภณ ปัจจุบันคือถนนมโนราห์ กับถนนคูเมืองหรือถนนบนเมืองเส้นใดเส้นหนึ่ง และหากนำแผนที่ของวิศวกรชาวฝรั่งเศสมาเทียบประกอบการวิเคราะห์ก็จะพบว่า ทางเดินสายนี้เดิมถูกตัดเป็นแนวเส้นตรง มีจุดเริ่มต้นที่ประตูเมืองริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีทางเหนือของศาลลูกศร ผ่านบ้านหลวงรับราชฑูตผ่านจวนเจ้าพระยาพระคลัง (อันเป็นที่ดินส่วนใหญ่ของคุณนายรุจี) ผ่านขึ้นไปยังพระปรางค์สามยอด จากนั้นก็จึงเป็นเส้นทางที่สามารถจะเดินทางไปด้านใดก็ได้ อาทิ หากไปทางตะวันออก ก็จะเป็นเมืองชั้นในด้านหน้าของพระราชอุทยานในสมเด็จพระนารายณ์ หากไปทางทิศเหนือก็จะเป็นประตูเมืองด้านตรงข้ามกับวัดตองปุ เป็นต้น
ทิศตะวันออก มีทางรถไฟตัดผ่านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถัดขึ้นไปเป็นถนนราชมนู อันเป็นถนนที่เชื่อมกับวงเวียนศาลพระกาฬทางด้านใต้ และทัศออกไปทางทิศตะวันออก เป็นสนามกีฬาของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
ทิศใต้ มีถนนวิชาเยนทร์ตัดผ่าน ตามแผนผังของฝรั่งเศส ถนนสายนี้เริ่มต้นที่ประตูเมืองฝั่งริมแม่น้ำลพบุรี ระหว่างวัดปืนกับจวนราชทูตเปอร์เซีย ผ่านบ้านหลวงรับราชทูต จวนเจ้าพระยาพระคลังกับปรางค์แขก ผ่านพระปรางค์สามยอดไปสิ้นสุดที่ศาลพระกาฬ ถนนวิชาเยนทร์นี้เป็นเส้นทางที่ขนานกับถนนมโนราห์กับถนนบนเมืองและถนนคูเมือง ปัจจุบันมีอาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ตลอดแนว
ทิศตะวันตก มีถนนพระปรางค์สามยอดตัดผ่านฝั่งตรงข่ามถนนมีอาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ตลอดแนว ถนนพระปรางค์สามยอดนี้ เป็นถนนที่ถูกตัดขึ้นใหม่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผ่านเนินพระปรางค์สามยอดทางด้านใต้ (จากถนนวิชาเยนทร์) ไปตัดกับถนนสุระสงครามที่บริเวณสี่แยกท่าโพธิ์ จัดเป็นทางคมนาคมสำคัญระหว่างจังหวัดลพบุรีกับจังหวัดสิงห์บุรี
การศึกษาความสัมพันธ์ของที่ตั้งโบราณสถานพระปรางค์สามยอดกับโบราณสถานอื่นๆ
ก่อนจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างโบราณสถานพระปรางสามยอดกับโบราณสถาน
อื่นๆในเมืองลพบุรี (แม้จะกล่าวไปบ้างแล้วก็ตาม) ขอประเมินคุณค่าของเอกสารสำคัญ (แผนที่ของวิศวกร
ฝรั่งเศสสมัยพระนารายณ์) ที่จะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเนื้อหาในที่นี้เป็นเบื้องต้นสักเล็กน้อย
ทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์มาลัยรามา และห้างทวีกิจ ระหว่างโรงภาพยนตร์มาลัยรามากับโบราณสถานพระปรางค์สามยอดมีทางเดินสาธารณะทอดยาวไปตามแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทางเดินสาธารณะสายนี้ ชาวเมืองลพบุรีเคยเรียกว่า “ประตูผี” ใช้เป็นทางแห่ศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดปาธรรมโสภณ ปัจจุบันคือถนนมโนราห์ กับถนนคูเมืองหรือถนนบนเมืองเส้นใดเส้นหนึ่ง และหากนำแผนที่ของวิศวกรชาวฝรั่งเศสมาเทียบประกอบการวิเคราะห์ก็จะพบว่า ทางเดินสายนี้เดิมถูกตัดเป็นแนวเส้นตรง มีจุดเริ่มต้นที่ประตูเมืองริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีทางเหนือของศาลลูกศร ผ่านบ้านหลวงรับราชฑูตผ่านจวนเจ้าพระยาพระคลัง (อันเป็นที่ดินส่วนใหญ่ของคุณนายรุจี) ผ่านขึ้นไปยังพระปรางค์สามยอด จากนั้นก็จึงเป็นเส้นทางที่สามารถจะเดินทางไปด้านใดก็ได้ อาทิ หากไปทางตะวันออก ก็จะเป็นเมืองชั้นในด้านหน้าของพระราชอุทยานในสมเด็จพระนารายณ์ หากไปทางทิศเหนือก็จะเป็นประตูเมืองด้านตรงข้ามกับวัดตองปุ เป็นต้น
ทิศตะวันออก มีทางรถไฟตัดผ่านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถัดขึ้นไปเป็นถนนราชมนู อันเป็นถนนที่เชื่อมกับวงเวียนศาลพระกาฬทางด้านใต้ และทัศออกไปทางทิศตะวันออก เป็นสนามกีฬาของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
ทิศใต้ มีถนนวิชาเยนทร์ตัดผ่าน ตามแผนผังของฝรั่งเศส ถนนสายนี้เริ่มต้นที่ประตูเมืองฝั่งริมแม่น้ำลพบุรี ระหว่างวัดปืนกับจวนราชทูตเปอร์เซีย ผ่านบ้านหลวงรับราชทูต จวนเจ้าพระยาพระคลังกับปรางค์แขก ผ่านพระปรางค์สามยอดไปสิ้นสุดที่ศาลพระกาฬ ถนนวิชาเยนทร์นี้เป็นเส้นทางที่ขนานกับถนนมโนราห์กับถนนบนเมืองและถนนคูเมือง ปัจจุบันมีอาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ตลอดแนว
ทิศตะวันตก มีถนนพระปรางค์สามยอดตัดผ่านฝั่งตรงข่ามถนนมีอาคารพาณิชย์ตั้งอยู่ตลอดแนว ถนนพระปรางค์สามยอดนี้ เป็นถนนที่ถูกตัดขึ้นใหม่สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผ่านเนินพระปรางค์สามยอดทางด้านใต้ (จากถนนวิชาเยนทร์) ไปตัดกับถนนสุระสงครามที่บริเวณสี่แยกท่าโพธิ์ จัดเป็นทางคมนาคมสำคัญระหว่างจังหวัดลพบุรีกับจังหวัดสิงห์บุรี
การศึกษาความสัมพันธ์ของที่ตั้งโบราณสถานพระปรางค์สามยอดกับโบราณสถานอื่นๆ
ก่อนจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างโบราณสถานพระปรางสามยอดกับโบราณสถาน
อื่นๆในเมืองลพบุรี (แม้จะกล่าวไปบ้างแล้วก็ตาม) ขอประเมินคุณค่าของเอกสารสำคัญ (แผนที่ของวิศวกร
ฝรั่งเศสสมัยพระนารายณ์) ที่จะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเนื้อหาในที่นี้เป็นเบื้องต้นสักเล็กน้อย
แผนผังเมืองละโว้หรือลพบุรีซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโบราณสถานพระปรางค์สามยอดและโบราณสถานสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนี้ เชื่อกันว่าถูกสำรวจและรังวัดขึ้นโดย นาย เดอ ลา มาร์ (M.DE LA MARE) วิศวกรฝรั่งเศสที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ประมาณปี พ.ศ.2223-2230) นาย เดอ ลา มาร์ ผู้นี้เคยบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับกบฏมักกะสันในปี พ.ศ.2230 อย่างละเอียด จากการสังเกตการณ์และสอบถามผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน ต่อมาแผนผังฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในบันทึกจดหมายเหตุการเดินทางของชาวฝรั่งเศสบางเล่ม
ลักษณะแผนผังเมืองลพบุรีของนาย เดอ ลา มาร์ นั้น ได้แสดงพื้นที่ขอบเขตกำแพงเมืองเพียง 2 ชั้น ภายในกำแพงเมืองได้ระบุที่ตั้งของอาคาร สถานที่ เส้นทางอย่างเป็นสัดส่วน มีการแสดงลักษณะลำน้ำและแนวป่าด้วย น่าเสียดายที่แผนผังมิได้ลงตำแหน่งของพระที่นั่งเย็น ซึ่งอยู่ห่างจากประตูเพนียดออกไปประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ แต่มีหลักฐานว่าสภาพแวดล้อมของพระที่นั่งเย็นขณะนั้นเป็นหนองน้ำและ ป่าไม้ มีพื้นที่กว้างประมาณสิบห้าหรือยี่สิบลิเออ (1 ลิเออ เท่ากับ 100 เส้น) เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ ช้าง แรด เสือ กวาง และสมัน
แผนผังของนาย เดอ ลา มาร์ ใช้มาตราส่วนเป็นระบบวาของฝรั่งเศส หรือเรียกว่าตัว (TOISE) 1 ตัว เท่ากับ 180 เซนติเมตร หรือ 6 ฟุต (หรือ 2 เมตรโดยประมาณ) เมื่อนำแผนผังเมืองลพบุรีจากการสำรวจของกองโบราณคดี กรมศิลปากร ปรากฏว่าสามารถเทียบเคียงกันได้ด้วยดี (เนื่องจากมีการอ้างอิงแผนผังของเดอ ลา มาร์) ทำให้แลเห็นวิวัฒนาการและขอบเขตพื้นที่ของโบราณสถานในเมืองลพบุรีที่ถูกดัดแปลงในชั้นหลังได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ดังตัวอย่างเช่น แผนผังระบุว่า ประตูพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์มีเพียงด้านเหนือกับด้านใต้เพียงด้านละ 2 ประตูเท่านั้น แสดงว่าเมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นจากเรือที่ประตูเมืองทางด้านตะวันตกริมแม่น้ำลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์ทรงเสด็จเข้าสู่พระราชวังแห่งนี้ที่ประตูวังตรงข้ามกับวัดกวิศราราม และถนนหนทางส่วนใหญ่ในเมืองลพบุรีล้วนแต่ยังคงรักษาเส้นทางดั้งเดิมเอาไว้แบบทั้งสิ้น
สิ่งที่น่าสนใจคือ พื้นที่เดิมซึ่งน่าจะเป็นสนามหลวง หรือทุ่งพระเมรุของเมืองลพบุรี ทาง ด้านตะวันออกของพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์นั้น ปัจจุบันมีสภาพเป็นตึกแถวและสถานที่ราชการ มี พื้นที่ของสวนราชานุสรณ์เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยังคงเหลือร่องรอยดังกล่าวไว้ให้เห็น (ปัจจุบันคือที่ตั้งของหน่วยศิลปากรที่ 1 )
พระปรางค์สามยอด อยู่ห่างจากโบราณสถานปรางค์แขกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 400 เมตร อยู่ห่างจากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปทางทิศเหนือประมาณ 500 เมตร อยู่ห่างจากศาลพระกาฬไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 120 เมตร
เมื่อได้สำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพระปรางค์สามยอดจากที่สูง จะพบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โบราณสถานพระปรางค์สามยอดกับโบราณสถานพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นระนาบเดียวกันตามแนวแกนทิศเหนือกับทิศใต้อย่างน่าประหลาดใจ
เมื่อได้สำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพระปรางค์สามยอดจากที่สูง จะพบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โบราณสถานพระปรางค์สามยอดกับโบราณสถานพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นระนาบเดียวกันตามแนวแกนทิศเหนือกับทิศใต้อย่างน่าประหลาดใจ
ปรางค์แขกนั้น จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมบ่งชี้ให้เห็นว่า ถูกสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ลักษณะเป็นปรางค์ก่ออิฐ 3 องค์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก รากฐานเดิมถูกดินทับถมเกือบถึงธรณีประตูขององค์ปรางค์อย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น หากมีการขุดแต่งหารากฐานเดิมจะช่วยให้การวิเคราะห์ลักษณะฐานของพระปรางค์สามยอดและฐานของพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมีความถูกต้องยิ่งขึ้น
พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น เชื่อกันว่ามีการสร้างขึ้นทับซ้อนบนรากฐานเดิม 2 สมัย กล่าวคือ สมัยแรกเป็นรากฐานพระปรางค์ส่วนล่าง (ปัจจุบันคือฐานไพที) สร้างประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7 ครั้นมีการทรุดพังลงไปจึงได้มีการก่อพระปรางค์องค์ใหม่ขึ้นบนรากฐานเดิมเมื่อประมาณคริสตวรรษที่ 12 ลักษณะของพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงขนาดเล็กตั้งแต่ฐานขึ้นไป เมื่อมีการซ่อมแซมในชั้นหลังจึงมีการเสริมเรือนฐานด้วยอิฐฉาบปูนจนถึงยอดปรางค์ที่ทำด้วยหินทราย แต่ได้หักตกลงมาทางด้านใต้ของปรางค์เสียแล้ว
พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้นจะประกอบไปด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันเช่นเดียวกับพระปรางค์สามยอดและเทวสถานปรางค์แขกหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าสงสัยเนื่องจากรากฐานของโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐทางด้านเหนือและด้านใต้ของปรางค์นั้นมีขนาดเล็กเกินกว่าจะรองรับโครงสร้างของสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเป็นปรางค์ได้ และถ้าหากจะมองว่าเป็นอาคารมุขที่ยื่นออกมาจากพระปรางค์ประธานก็ยังจะต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมอีกมากเช่นกัน
สภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์พระปรางค์สามยอดก่อนปี พ.ศ.2537
ก่อนที่โบราณสถานพระปรางค์สามยอดจะถูกแวดล้อมด้วยอาคารพาณิชย์ดังเช่นปัจจุบันนั้น ระหว่างปี พ.ศ.2483-2490 อันเป็นช่วงที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำริให้มีการวางผังเมืองใหม่ลพบุรีขยายออกไปทางทิศตะวันออกของเมืองเก่า สภาพแวดล้อมของพระปรางค์สามยอดมีลักษณะเป็นโบราณสถานที่ถูกปกคลุมด้วยเนินดินสูงเกือบถึงฐานไพทีหรือฐานบัวหงาย มีต้นไม้ต้นหญ้าปกคลุมค่อนข้างรก จากหลักฐานภาพถ่ายก่อนปี พ.ศ.2469 แสดงให้เห็นว่าหน้าบันทางทิศตะวันตกของพระปรางค์ด้านทิศเหนือได้หลุดร่วงลงมาบางส่วนแล้ว ทั้งนี้คงจะมีสาเหตุมาจากปรางค์องค์นี้ถูกลักลอดเอาทับหลังออกไป ขณะที่ซุ้มประตูทุกด้านยังมิได้ถูกปิดด้วยประตูไม้และลูกกรงเหล็กในระยะหลัง
สภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์พระปรางค์สามยอดก่อนปี พ.ศ.2537
ก่อนที่โบราณสถานพระปรางค์สามยอดจะถูกแวดล้อมด้วยอาคารพาณิชย์ดังเช่นปัจจุบันนั้น ระหว่างปี พ.ศ.2483-2490 อันเป็นช่วงที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำริให้มีการวางผังเมืองใหม่ลพบุรีขยายออกไปทางทิศตะวันออกของเมืองเก่า สภาพแวดล้อมของพระปรางค์สามยอดมีลักษณะเป็นโบราณสถานที่ถูกปกคลุมด้วยเนินดินสูงเกือบถึงฐานไพทีหรือฐานบัวหงาย มีต้นไม้ต้นหญ้าปกคลุมค่อนข้างรก จากหลักฐานภาพถ่ายก่อนปี พ.ศ.2469 แสดงให้เห็นว่าหน้าบันทางทิศตะวันตกของพระปรางค์ด้านทิศเหนือได้หลุดร่วงลงมาบางส่วนแล้ว ทั้งนี้คงจะมีสาเหตุมาจากปรางค์องค์นี้ถูกลักลอดเอาทับหลังออกไป ขณะที่ซุ้มประตูทุกด้านยังมิได้ถูกปิดด้วยประตูไม้และลูกกรงเหล็กในระยะหลัง
จากการสัมภาษณ์ราษฎรในละแวกใกล้เคียงทำให้ได้ทราบว่า บริเวณซากวิหารทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระปรางค์นั้น แต่เดิมเป็นที่ทิ้งขยะของเทศบาลเมืองลพบุรีเป็นเวลานาน ทำให้การขุดแต่งบริเวณนั้นได้พบหลักฐานการรบกวนและความแปรปรวนจากร่องรอยกิจกรรมดังกล่าว ตั้งแต่ระดับผิวดินจนถึงระดับ 30 เซนติเมตรจากผืนดินเลยทีเดียว การตัดถนนพระปรางค์สามยอดทางด้านตะวันตกของโบราณสถานแห่งนี้ด้วยการขุดหน้าปรางค์ นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ข้อมูลว่า เคยมีขอทานเข้าไปฆ่ากันตายข้างในองค์ปรางค์เมื่อประมาณหลายสิบปีก่อน แต่ประเด็นนี้ไม่สำคัญเท่าใดนัก ปัญหาที่น่าวิตกก็คือการบุกรุกเข้าไปใช้โบราณสถานปิดวัตถุประสงค์ของเยาวชนชาวลพบุรีบางกลุ่มที่ติดสารระเหยประเภทกาวและสารทินเนอร์ในยามวิกาล เนื่องจากได้พบหลักฐานกระป๋องกาวตกอยู่จำนวนหนึ่งทางด้านตะวันออกขององค์ปรางค์ เป็นสิ่งบ่งชี้ให้คำนึงถึงปัญหาคุณภาพของสังคมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานพระปรางค์สามยอด
โบราณสถานพระปรางค์สามยอด เป็นสถาปัตยกรรมทรงปรางค์สามองค์ที่ถูกสร้างขึ้นบนฐานค่อนข้างเตี้ย ตั้งอยู่บนเนินดินสูงจากผิวถนนประมาณ 3 เมตร ลักษณะของปรางค์ทั้งสามองค์ตั้งเรียงกันตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ปรางค์ประธาน (ปรางค์หมายเลข 2) สูงจากพื้นดินประมาณ 20 เมตร ปรางค์ทิศเหนือ (ปรางค์หมายเลข 3) และปรางค์ทิศใต้ (ปรางค์หมายเลข 1) เคยมีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาทรายปางนาคปรกประดิษฐานในพระปรางค์หมายเลข 2 (ปรางค์ประธาน) ส่วนพระปรางค์หมายเลย 3 (ปรางค์ทิศเหนือ) พบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลเกติเตศวรศิลาทราย และพระปรางค์หมายเลข 1 (ปรางค์ทิศใต้) พบรูปจำหลักนางปรัชญา ปารมิตรอันเป็นศักติ(ชายา)ของพระโพธิสัตว์อวโลเกติเตศวร ประดิษฐานอยู่ภายใน รูปเคารพทั้งสามเป็นประติมา กรรมที่ถูกสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธนิกายมหายาน
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานพระปรางค์สามยอด
โบราณสถานพระปรางค์สามยอด เป็นสถาปัตยกรรมทรงปรางค์สามองค์ที่ถูกสร้างขึ้นบนฐานค่อนข้างเตี้ย ตั้งอยู่บนเนินดินสูงจากผิวถนนประมาณ 3 เมตร ลักษณะของปรางค์ทั้งสามองค์ตั้งเรียงกันตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ปรางค์ประธาน (ปรางค์หมายเลข 2) สูงจากพื้นดินประมาณ 20 เมตร ปรางค์ทิศเหนือ (ปรางค์หมายเลข 3) และปรางค์ทิศใต้ (ปรางค์หมายเลข 1) เคยมีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาทรายปางนาคปรกประดิษฐานในพระปรางค์หมายเลข 2 (ปรางค์ประธาน) ส่วนพระปรางค์หมายเลย 3 (ปรางค์ทิศเหนือ) พบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลเกติเตศวรศิลาทราย และพระปรางค์หมายเลข 1 (ปรางค์ทิศใต้) พบรูปจำหลักนางปรัชญา ปารมิตรอันเป็นศักติ(ชายา)ของพระโพธิสัตว์อวโลเกติเตศวร ประดิษฐานอยู่ภายใน รูปเคารพทั้งสามเป็นประติมา กรรมที่ถูกสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธนิกายมหายาน
จากหลักฐานรูปแบบและลวดลายที่ปรากฏในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งหลักฐานจากโบราณวัตถุและศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ และอื่น ๆ ทำให้เชื่อกันว่าโบราณสถานพระปรางค์สามยอด เป็นศาสนสถานที่ถูกสร้างขึ้นมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับศิลปะภายในประเทศกัมพูชา
จากลักษณะรากฐานของพระปรางค์องค์ที่1 (ปรางค์ทิศใต้) ยกเว้นบันไดทางขึ้นมุขทิศใต้ น่าจะเป็นส่วนประกอบการทางสถาปัตยกรรมที่ยังไม่เคยถูกดัดแปลงแก้ไขหรือซ่อมแซมบูรณะดังนั้น เมื่อได้พิจารณารูปแบบของฐานพระปรางค์หมายเลข 1 ที่มุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณบันไดทางขึ้นฉนวนระหว่างพระปรางค์หมายเลข 1 กับพระปรางค์หมายเลข 2 จะพบร่องรอยของการทำหลักฐานเป็นรูปหน้ากระดานอกไก่อยู่คั่นฐานบัวคว่ำด้านล่าง กับฐานบัวหงายด้านบนเอาไว้ แระพื้นที่บนฐานบัวหงายนี้อาจจะมีลักษณะเป็นฐานไพที ซึ่งใช้เดินประทักษิณโดยรอบปรางค์ทั้งสามองค์ต่อเนื่องกันไปกับฐานไพทีของพระปรางค์หมายเลข 2 และหมายเลข 3
ร่องรอยดังกล่าวอาจจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า การซ่อมฐานพระปรางค์หมายเลข2 และหมายเลข 3 เมื่อปี พ.ศ. 2469 – 2471 นั้น เป็นการซ่อมโดยยังดงรักษารูปแบบดั้งเดิมทางสถาปัตยกรรมของฐานพระปรางค์สามยอดเอาไว้ ดังจะเห็นว่าฐานหน้ากระดานอกไก่ที่คั่นฐานบัวคว่ำบัวหงายของพระปรางค์สามยอดนั่น มีลักษณะคล้ายกับฐานไพทีของพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุตุลพบุรี ทั้งฐานชั้นบนและฐานชั้นล่าง รวมทั้งมีลักษณะคล้ายกับฐานของซากโบราณสถานศิลาทรายทางด้านใต้นอกระเบียงคตพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุอีกด้วย
พระปรางค์แต่ละองค์จะมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ แต่ละทิศล้วนมีบันไดทางขึ้นหรือร่องรอยของบันไดยื่นออกมา นอกจากนี้ ฉนวนที่เชื่อมปรางค์ทิศเหนือและทิศใต้เข้ากับปรางค์ประธานยังมีทางขึ้นและประตูทั้งด้านตะวันตกด้วย แต่น่าเสียดายประตูฉนวนบางด้านและหน้าต่างของมุขทิศถูกก่ออิฐบิดเสียแล้ว
ปัญหาที่ถูกนำมาพิจารณาขณะนี้คือรูแบบของบันไดทางขึ้นมุขทิศต่าง ๆ ภายหลังจากการซ่อมเมื่อปี พ.ศ. 2469 – 2471 นั้น มีลักษณะค่อนข้างกว้างกว่าและชันน้อยกว่ารูปแบบของบันไดทางขึ้นอาคารที่ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากศิลปะขอม ซึ่งก็คงจะได้ข้อยุติว่าจะมีการดำเนินการไปต่ออย่างไรหรือไม่ในระยะอันใกล้นี้
โบราณสถานที่ก่อเสริมขึ้นใหม่
1.วิหารทิศตะวันออก
ลักษณะเป็นวิหารก่ออิฐถือปูน ขนาด 15 x 10 เมตร ก่อเชื่อมเข้ากับมุขทิศด้านตะวันออกของปรางค์หมายเลข2 (ปรางค์ประธาน) หลังคาทรุดพังลงมา หลักฐานจากการขุดแต่งได้พบว่า วิหารนี้มุงหลังคาด้วยกระเบื้องกาบกล้วย การเชื่อมวิหารกับปรางค์เข้าด้วยกันนั้นพบว่าช่างได้เจาะหน้าบันศิลาทรายของมุขทิศด้านตะวันออกเป็นร่องสำหรับสอดแปทำหลังคาลดชั้นร่องสอดแปนี้จะปรากฏอยู่บนหน้าบันของมุขทิศด้านตะวันออกและตะวันตกของปรางค์หมายเลข2และ3 มุขทิศด้านตะวันออกของปรางค์หมายเลข1 และจากการขุดแต่งบริเวณทิศของปรางค์แต่ละจุดข้างต้น ล้วนได้พบชิ้นส่วนของกระเบื้องมุงหลัวคาแบบกาบกล้วยในบริเวณดังกล่าวทั้งสิ้นลักษณะของการทำร่องสอดแปนอกจากจะปรากฏอยู่หน้าบันมุขทิศของพระปรางค์สามยอดแล้วยังปรากฏอยู่บนหน้าบันปรางค์รายของวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย
2.ซากโบราณสถานด้านตะวันตกของปรางค์หมายเลข 2 (ปรางค์ประธาน)
ลักษณะเป็นเนินดินปกคลุมแนวรากฐานอิฐ ขนาด 10 x 8 เมตร ขุดพบร่องรอยของกระเบื้องมุงหลังคาแบบกาบกล้วยเช่นกัน
3.รากฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์หมายเลข 3
ตั้งอยู่ห่างจากปรางค์หมายเลข 3 ประมาณ 20 เมตร ลักษณะเป็นเนินดินมีหญ้าปกคลุม ภายหลังหารขุดแต่งได้พบว่าเนินดินดังกล่าวเป็นรากฐานอาคาร ขนาด 8 x 15 เมตร รูปทรงสันฐานคล้ายกับวิหารด้านตะวันออกของปรางค์ประธาน จากหลักฐานการขุดแต่งได้พบว่าผนังด้านสกัด (ด้านหุ้มกลอง) ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังนี้ได้ทรุดตัวลงไปทางด้านตะวันตกทั้งแถบ พบกระเบื้องมุงหลังคาแบบเกล็ดเต่า ซ้อนกันเป็นจำนวนมาก
อาคารและรากฐานอาคารทั้งสาม น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) ดังรูปแบบประตูและหน้าต่างมีลักษณะเป็นวงโค้งการใช้ผนังอาคารเป็นตัวช่วยในการรับน้ำหนักเครื่องบนของวิหาร โดยไม่ปรากฏร่องรอยของการทำเสารับโครงสร้างหลังคาภายในอาคารตามรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยโบราณ เป็นต้น
ลวดลายปูนปั้นที่พระปรางค์สามยอด
แม้โบราณสถานทั้งสามองค์จะมีขนาดลดหลั่นกัน โดยปรางค์ประธานมีขนาดสูงที่สุด ส่วนปรางค์ทิศเหนือกับปรางค์ทิศใต้มีความสูงน้อยกว่าดังได้กล่าวไปแล้ว แต่การตกแต่งลวดลายปูนปั้นของพระปรางค์ทั้งสามนั้น มีรูปแบบคล้ายคลึงกันมาก ความแตกต่างของลวดลายปูนปั้นอาจจะมีบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้คงจะเป็นผลมาจากการซ่อมแซมและปฏิสังขรณ์ในชั้นหลังนั่นเอง การศึกษาลวดลายปูนปั้นของโบราณสถานพระปรางค์สามยอดให้เข้าใจโดยทั่วไปนั้น ควรจำแนกและเปรียบเทียบลักษณะลวดลายตามองค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมทั้งสามองค์ออกเป็น 5 ส่วน โดยเริ่มจากส่วนล่างขึ้นไปด้านบนดังนี้
1.ลวดลายปูนปั้นที่เรือนธาตุส่วนล่าง
ประกอบด้วย ลายด้านล่างสุดเป็นลายหน้ากระดานรูปดอกไม้สี่กลีบในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือลายดอกซีกดอกซ้อน ถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลายบัวคว่ำคั่นด้วยลวดบัว เหนือลวดบัวขึ้นไปทำเป็นลายดอกไม้ (คล้ายดอกบัว) ตั้งขึ้น มีลายเทพนมประดับที่มุม ลักษณะดังกล่าวข้างต้นเป็นรูปแบบการตกแต่งเรือนธาตุส่วนล่างของมุขทิศปรางค์แต่ละองค์ในขณะที่เรือนธาตุส่วนล่างของปรางค์นั้นเท่าที่ปรากฏหลักฐานลวดลายจะเริ่มด้วยลายบัวคว่ำ ถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลวดบัว แล้วจึงเป็นรูปหน้าของอสูร ทรงมงกุฎแบบหน้านางยอดมงกุฎทำเป็นลายช่อดอกไม้ตั้งขึ้น ใบหน้าอสูรแต่ละหน้าจะถูกคั่นด้วยช่อดอกไม้ลักษณะแบบเดียวกัน อสูรมีใบหน้ากลม ตาโปน ปากแสยะ ทรงตุ้มหูลายดอกไม้ คิ้วอสูรมีลักษณะต่อกันเป็นรูปปีกกา แลดูถมึงทึง ทำให้ต้องนึกถึงประติมากรรมปูนปั้นศิลปะแบบทราวดี (แบบละโว้) ที่พบในเมืองลพบุรีและเมืองหริภุญไชย ลวดลายรูปหน้าอสูรมีสภาพเสียหายไปมากแล้วในปัจจุบัน
2.ลวดลายปูนปั้นที่เรือนธาตุส่วนบน (ระดับเดียวกับทับหลัง)
ประกอบด้วย ลวดบัวด้านล่างสุด ถัดขึ้นไปเป็นลวดลายพวงอุบะหรือลายช่อชัยพฤกษ์ทิ้งชายลง คั่นด้วยลวดบัว ถัดขึ้นไปทำเป็นลายดอกบัวตูมมีชั้นบัวหงายเรียงรายอยู่ด้านบน ถัดจากชั้นบัวหงายขึ้นไปเป็นลวดลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลวดลายบัวหงายแบบบัวฟันยักษ์ ถัดจากบัวฟันยักษ์เป็นลายกลีบบัวซ้อนกันอย่างวิจิตร แล้วจึงเป็นลายก้นหอยอยู่ด้านบนของส่วนลวดลายชุดนี้
3.ลวดลายปูนปั้นเหนือเรือนธาตุส่วนบน (ระดับเดียวกับกรอบหน้าบันมุขทิศ)
ประกอบด้วย ลวดลายช่อชัยพฤกษ์ทิ้งชายลงเบื้องล่าง ถัดขึ้นไปเป็นลายดอกบัวตูมถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลายบัวหงาย ถัดขึ้นไปเป็นลายประจำยามก้านเกี้ยว ถัดขึ้นไปเป็นลายบัวคว่ำ ถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลายดอกบัวตูม แล้วจึงเป็นลายกระจังอยู่ด้านบนสุดของลวดลายชุดนี้
4.ลวดลายปูนปั้นบนชั้นเชิงบาตร (เหนือระดับสันหลังคามุขทิศหรือหลังคาฉนวน)
ประกอบด้วย ลวดลายหน้ากากมีเขี้ยวยึดช่อชัยพฤกษ์อยู่ภายในแถวหน้ากระดานลวดบัวบนและล่าง ถัดขึ้นไปเป็นลายดอกบัวตูม ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวหงาย ถัดขึ้นไปเป็นลายหน้ากระดานบรรจุลายหงส์ (ลักษณะคล้ายคลึงกับหงส์ที่ปรากฏในเศษภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี และหงส์ในเศษภาชนะดินเผาเตาบ้านบางปูน) ถัดขึ้นไปเป็นลายประจำยามดอกซีกดอกซ้อน (ลายดอกไม้สี่กลีบในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน) ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวหงาย และจึงเป็นชั้นหน้ากระดานดอกจันอยู่ด้านบนสุด
5.ลวดลายปูนปั้นบนหน้ากระดานใต้กลีบขนุนปรางค์แถวล่างสุด
สังเกตพบเพียงลวดลายดอกไม้สี่กลีบใหญ่คั่นด้วยกลีบขนาดเล็กอีก 4 กลีบ สลับกันภายในช่องกระจกเท่านั้น
นอกเหนือจากลวดลายปูนปั้นที่ตกแต่งอยู่ตามโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพระปรางค์แล้วยังมีลวดลายที่น่าสนใจ ดังนี้
ซุ้มหน้าบันมุขทิศเหนือของปรางค์หมายเลข 3 ปั้นเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ
ซุ้มหน้าบันมุขทิศตะวันออกของปรางค์หมายเลข 2 มีลวดลายจำหลักขนาดเล็กบนศิลาทรายรูปบุคคลประทับยืนกุมกระบองคล้ายกลีบขนุนปรางค์รูปบุคคลกุมกระบอง
ลวดลายปูนปั้นที่พระปรางค์สามยอด
แม้โบราณสถานทั้งสามองค์จะมีขนาดลดหลั่นกัน โดยปรางค์ประธานมีขนาดสูงที่สุด ส่วนปรางค์ทิศเหนือกับปรางค์ทิศใต้มีความสูงน้อยกว่าดังได้กล่าวไปแล้ว แต่การตกแต่งลวดลายปูนปั้นของพระปรางค์ทั้งสามนั้น มีรูปแบบคล้ายคลึงกันมาก ความแตกต่างของลวดลายปูนปั้นอาจจะมีบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้คงจะเป็นผลมาจากการซ่อมแซมและปฏิสังขรณ์ในชั้นหลังนั่นเอง การศึกษาลวดลายปูนปั้นของโบราณสถานพระปรางค์สามยอดให้เข้าใจโดยทั่วไปนั้น ควรจำแนกและเปรียบเทียบลักษณะลวดลายตามองค์ประกอบของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมทั้งสามองค์ออกเป็น 5 ส่วน โดยเริ่มจากส่วนล่างขึ้นไปด้านบนดังนี้
1.ลวดลายปูนปั้นที่เรือนธาตุส่วนล่าง
ประกอบด้วย ลายด้านล่างสุดเป็นลายหน้ากระดานรูปดอกไม้สี่กลีบในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือลายดอกซีกดอกซ้อน ถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลายบัวคว่ำคั่นด้วยลวดบัว เหนือลวดบัวขึ้นไปทำเป็นลายดอกไม้ (คล้ายดอกบัว) ตั้งขึ้น มีลายเทพนมประดับที่มุม ลักษณะดังกล่าวข้างต้นเป็นรูปแบบการตกแต่งเรือนธาตุส่วนล่างของมุขทิศปรางค์แต่ละองค์ในขณะที่เรือนธาตุส่วนล่างของปรางค์นั้นเท่าที่ปรากฏหลักฐานลวดลายจะเริ่มด้วยลายบัวคว่ำ ถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลวดบัว แล้วจึงเป็นรูปหน้าของอสูร ทรงมงกุฎแบบหน้านางยอดมงกุฎทำเป็นลายช่อดอกไม้ตั้งขึ้น ใบหน้าอสูรแต่ละหน้าจะถูกคั่นด้วยช่อดอกไม้ลักษณะแบบเดียวกัน อสูรมีใบหน้ากลม ตาโปน ปากแสยะ ทรงตุ้มหูลายดอกไม้ คิ้วอสูรมีลักษณะต่อกันเป็นรูปปีกกา แลดูถมึงทึง ทำให้ต้องนึกถึงประติมากรรมปูนปั้นศิลปะแบบทราวดี (แบบละโว้) ที่พบในเมืองลพบุรีและเมืองหริภุญไชย ลวดลายรูปหน้าอสูรมีสภาพเสียหายไปมากแล้วในปัจจุบัน
2.ลวดลายปูนปั้นที่เรือนธาตุส่วนบน (ระดับเดียวกับทับหลัง)
ประกอบด้วย ลวดบัวด้านล่างสุด ถัดขึ้นไปเป็นลวดลายพวงอุบะหรือลายช่อชัยพฤกษ์ทิ้งชายลง คั่นด้วยลวดบัว ถัดขึ้นไปทำเป็นลายดอกบัวตูมมีชั้นบัวหงายเรียงรายอยู่ด้านบน ถัดจากชั้นบัวหงายขึ้นไปเป็นลวดลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลวดลายบัวหงายแบบบัวฟันยักษ์ ถัดจากบัวฟันยักษ์เป็นลายกลีบบัวซ้อนกันอย่างวิจิตร แล้วจึงเป็นลายก้นหอยอยู่ด้านบนของส่วนลวดลายชุดนี้
3.ลวดลายปูนปั้นเหนือเรือนธาตุส่วนบน (ระดับเดียวกับกรอบหน้าบันมุขทิศ)
ประกอบด้วย ลวดลายช่อชัยพฤกษ์ทิ้งชายลงเบื้องล่าง ถัดขึ้นไปเป็นลายดอกบัวตูมถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลายบัวหงาย ถัดขึ้นไปเป็นลายประจำยามก้านเกี้ยว ถัดขึ้นไปเป็นลายบัวคว่ำ ถัดขึ้นไปเป็นลายใบไม้ม้วน ถัดขึ้นไปเป็นลายดอกบัวตูม แล้วจึงเป็นลายกระจังอยู่ด้านบนสุดของลวดลายชุดนี้
4.ลวดลายปูนปั้นบนชั้นเชิงบาตร (เหนือระดับสันหลังคามุขทิศหรือหลังคาฉนวน)
ประกอบด้วย ลวดลายหน้ากากมีเขี้ยวยึดช่อชัยพฤกษ์อยู่ภายในแถวหน้ากระดานลวดบัวบนและล่าง ถัดขึ้นไปเป็นลายดอกบัวตูม ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวหงาย ถัดขึ้นไปเป็นลายหน้ากระดานบรรจุลายหงส์ (ลักษณะคล้ายคลึงกับหงส์ที่ปรากฏในเศษภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี และหงส์ในเศษภาชนะดินเผาเตาบ้านบางปูน) ถัดขึ้นไปเป็นลายประจำยามดอกซีกดอกซ้อน (ลายดอกไม้สี่กลีบในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน) ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวหงาย และจึงเป็นชั้นหน้ากระดานดอกจันอยู่ด้านบนสุด
5.ลวดลายปูนปั้นบนหน้ากระดานใต้กลีบขนุนปรางค์แถวล่างสุด
สังเกตพบเพียงลวดลายดอกไม้สี่กลีบใหญ่คั่นด้วยกลีบขนาดเล็กอีก 4 กลีบ สลับกันภายในช่องกระจกเท่านั้น
นอกเหนือจากลวดลายปูนปั้นที่ตกแต่งอยู่ตามโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพระปรางค์แล้วยังมีลวดลายที่น่าสนใจ ดังนี้
ซุ้มหน้าบันมุขทิศเหนือของปรางค์หมายเลข 3 ปั้นเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ
ซุ้มหน้าบันมุขทิศตะวันออกของปรางค์หมายเลข 2 มีลวดลายจำหลักขนาดเล็กบนศิลาทรายรูปบุคคลประทับยืนกุมกระบองคล้ายกลีบขนุนปรางค์รูปบุคคลกุมกระบอง
ซุ้มหน้าบันระดับเหนือหลังมุขทิศตะวันออกของปรางค์หมายเลข 1 มีลวดลายปูนปั้นรูปมกรคายนาคห้าเศียรเป็นซุ้ม ภายในซุ้มตกแต่งเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิเหลือเพียงครึ่งองค์ลักษณะคล้ายพระพุทธรูปร่วมสมัยศิลปะบายนของกัมพูชา
ซุ้มหน้าบันทิศใต้ของปรางค์หมายเลข 3 ทำปลายซุ้มหน้าบันเป็นรูปมกรคายนาค ภายในมีรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก ประทับบนฐานบัวหงาย ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ วางพระหัตถ์บนเข่าคล้ายพระพุทธรูปศิลปะล้านนา แต่พระบาทนั้นไขว้กันหลวมๆ แบบพื้นเมืองภายใต้อิทธิพลทราวดี ส่วนรัดประคดนั้นทำเว้าลงแล้วหยักเป็นมุมแหลมตรงกลาง แลเห็นขอบชัดเจนตามแบบฉบับของศิลปะลพบุรี
ปรางค์หมายเลข 2 ทางด้านเหนือมีกลีบขนุนปรางค์รูปบุคคลแบบบุรุษอีกหนึ่งไว้ด้านบนแสดงกิริยาการเหาะไปในอากาศ (ชำรุด) ซึ่งปกติควรจะทำเป็นรูปท้าวกุเวรทรงคชสีห์หรือพระพรหมทรงหงส์ ทางทิศตะวันออกมีกลีบขนุนปรางค์จำหลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ด้านใต้เป็นรูปพระยมทรงโค ด้านตะวันตกเป็นรูปพระวรุณทรงหงส์
แนวความคิดในการติดตั้งกลีบขนุนปรางค์เท่าที่ปรากฏจากการศึกษากลีบขนุนปรางค์ที่ยังหลงเหลืออยู่พบว่า แต่ละด้านจะมีกลีบขนุนปรางค์รูปเทพประจำทิศตรงกลาง ขนาบข้างด้วยกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชกุมกระบองด้านละหนึ่งองค์ (ซ้าย-ขวา) และกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชกุมกระบองของแต่ละด้านจะถูกขนาบด้วยกลีบขนุนปรางค์รูปพญานาคที่มุมของหลังคาปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ทุกชิ้นจะปรากฏร่องรอยการตกแต่งด้วยปูนปั้นอีกชั้นหนึ่งทั้งสิ้น
ที่น่าสนใจคือ การขุดพบกลีบขนุนปรางค์รูปนางเทพอัปสรทรงดอกบัว ? (ชำรุด ศีรษะหักหายไป) ตกอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกของปรางค์ประธานประมาณ 15 เมตร กลีบขนุนปรางค์นี้อาจอยู่บนตำแหน่งที่สัมพันธ์กับกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชกุมกระบองก็ได้ ดังจะพบว่าปราสาทหินเขาพนมรุ้งก็มีกลีบขนุนปรางค์รูปนางเทพอัปสร ? วางคั่นระหว่างกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชกับพญานาค
สำหรับเสาประดับกรอบประตูของพระปรางค์ทั้งสามองค์นั้น ทำด้วยศิลาทรายรูปแปดเหลี่ยม จำหลักเส้นลวดตลอดจากบนลงล่างแบบเสาประดับกรอบประตูในศิลปะบายนกัมพูชาที่โคนเสาจำหลักรูปฤาษีนั่งไขว้ขาประนมมือภายในซุ้มประดับด้วยรวยระกา โดยเสาบางท่อนมีการใช้ชิ้นส่วนกระเบื้องเคลือบสีเหลืองมาซ่อมด้วย ส่วนฤาษีโคนเสาอิงกรอบประตูที่ปราสาทเขาพนมรุ้งนั้นนั่งไขว่ห้างเอียงข้างหันหน้าออก มือถือคัมภีร์ ใบหน้าแสดงอาการยิ้มเล็กน้อย ไม่ถมึงทึงหรือเคร่งเครียดแต่อย่างใด
จากการศึกษาเปรียบเทียบในชั้นต้นนี้ได้พบว่า ลักษณะปลายซุ้มหน้าบันรูปมกรคายนาคที่โบราณสถานพระปรางค์สามยอดนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายปูนปั้นรูปมกรคายนาคที่วัดล้มกลางเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังอาจโยงความสัมพันธ์ของซุ้มหน้าบันรูปมกรคายนาคของพระปรางค์สามยอดและพระปรางค์วัดล้ม เข้ากับบันไดรูปมกรคายนาคมีคนแคระแบกที่วัดธรรมิกราชอีกแห่งหนึ่งด้วย จะทำให้มองเห็นความเกี่ยวเนื่องจากศิลปกรรมของโบราณสถานในเมืองลพบุรีและเมืองพระนครศรีอยุธยาได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับลวดลายการตกแต่งบนองค์ปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายปูนปั้นที่พระปรางค์สามยอดค่อนข้างมาก จึงควรจะได้มีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปะโดยละเอียด จะทำให้สามารถทราบวิวัฒนาการศิลปกรรมของเมืองลพบุรีได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป
บทที่ 1
สภาพโบราณสถานก่อนการบูรณะ
จากการศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทำให้สามารถแบ่งโบราณสถานพระปรางค์สามยอดออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ก.ส่วนที่หนึ่ง คือ พระปรางค์สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานแยกต่างหากจากกัน ก่อด้วยศิลาแลงและศิลาทรายบางส่วน สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
ข.ส่วนที่สอง คือ โบราณสถานก่ออิฐถือปูนที่ถูกสร้างเสริมขึ้นมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นอย่างน้อย ได้แก่ ซากวิหารด้านตะวันออกของปรางค์ประธาน (ปรางค์หมายเลข 2) รากฐานอาคารด้านตะวันตกของปรางค์ประธาน (ปรางค์หมายเลข 2) และรากฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระปรางค์สามยอด
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
ความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อศาสนสถาน ทำให้พระปรางค์สามยอดได้รับการอนุรักษ์ด้วยดีมาตั้งแต่ครั้งอดีต หลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า สมเด็จพระนารายณ์แห่งราชวงศ์ปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้มีการซ่อมแซมและบูรณะพระอารามต่างๆ ในเมืองลพบุรีอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งในสมัยหลังทั้งราชบัณฑิตสภาและกรมศิลปากร รวมทั้งองค์กรท้องถิ่นอื่นๆต่างก็ให้ความสนใจในการอนุรักษ์พระปรางค์สามยอดอย่างต่อเนื่อง ทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีองค์ปาระกอบทางสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างสมบูรณ์นับตั้งแต่บัวยอดปรางค์ ชั้นเชิงบาตร ชั้นหลังคาเรือนธาตุ และฐานพระปรางค์ แม้ในเวลาต่อมาปัจจัยต่างๆจะทำให้ชิ้นส่วนของหลังคาปรางค์บางอันหลุดตกลงมาบ้าง
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์หมายเลข 1 มีดังนี้
1.กลศ (หินชั้นที่ 1-2)
คือ ส่วนยอดของหลังคาปรางค์ รูปร่างคล้ายไข่ผ่าครึ่งด้านหน้าตัดสูง 20 ซม. ทำจากศิลาทรายสีเทา 2 ชิ้นวางประกบกัน มีรูตรงกลาง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ซม. ตั้งอยู่บนชั้นศิลาแลง 3-4 ก้อนอย่างหมิ่นเหม่ ชั้นศิลาแลงนี้แต่เดิมคงจะมีลักษณะเป็นรูปกลีบบัวหรือทรงฟักทอง (ทรงเฟือง)
2.กลุ่มบัวยอดปรางค์ แบ่งเป็น
- บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 (หินชั้นที่3-4) มีลักษณะเป็นชั้นบัวคว่ำบัวหงาย มีลวดบัวคั่น ทำจากศิลาแลงฉาบปูนขาวซึ่งหลุดร่วงไปเกือบหมดสิ้นแล้ว บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ประกอบด้วยชั้นศิลาแลง 2 ชั้น สูงประมาณ 80 ซม.มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 170 ซม.องค์ประกอบบางส่วนของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 อาทิ กลีบบัวหงายรูปคล้ายลิ่ม และฐานบัวหงาย (คือส่วนที่เป็นบัวคว่ำ) หล่นหายไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากศิลาแลงแต่ละก้อนไม่ได้ถูกยึดด้วยเหล็กรูปตัวไอ
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 (หินชั้นที่ 5 – 6) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 280 ซม.ประกอบด้วย ชั้นศิลาแลง 2 ชั้น มีลักษณะเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายเช่นกัน มีศิลาแลงหลุดตกลงไป 2 ชิ้น ทางด้านตะวันออกและตะวันตก
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 (หินชั้นที่ 7-8) มีเส้นผ่าศูนย์กลางชั้นบนประมาณ 350 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นล่างประมาณ 400 ซม.ประกอบด้วยศิลาแลง 3 ชั้น
3.กลุ่มชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลง (ชั้นหน้าบัน)
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (บันแถลงชั้นที่5) (หินชั้นที่10-11-12) มีเส้นผ่าศูนย์กลางชั้นบนประมาณ 380 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นล่างประมาณ 370 ซม.ประกอบด้วยศิลาแลง 3 ชั้น
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (บันแถลงชั้นที่4) (หินชั้นที่13-14) เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นบนกว้างประมาณ 500 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นล่างกว้างประมาณ 480 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 3 (บันแถลงชั้นที่3) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 2 (บันแถลงชั้นที่2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 550 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 1 (บันแถลงชั้นที่1) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 550 ซม.
ชั้นเชิงบาตรพระปรางค์หมายเลข 1 มีกลีบขนุนปรางค์เหลืออยู่เพียงด้านละ 1-2 ชิ้นเท่านั้น
4.หลังคามุมทิศ
หลังคามุขทิศด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 1 มีกรอบหน้าบันลดชั้น 2 ชั้น (ช้อนกัน) ประกอบกด้วยศิลาแลงและศิลาทราย มุขทิศแต่ละด้านยื่นออกมาประมาณ 4 เมตร ส่วนมุขทิศเหนือมีลักษณะเป็นฉนวนเชื่อมกับพระปรางค์หมายเลข 2 มีกรอบหน้าบันเพียงชั้นเดียว
5.เรือนธาตุ
ถัดจาดหลังคามุขทิศลงมาเป็นเรือนธาตุของพระปรางค์และเรือนธาตุของมุขทิศ ทำลดชั้นย่อมุมออกไป ภายในเรือนธาตุเรียกว่า “ครรภคฟหะ” ประดิษฐานแท่นโยนิโทรณะ หรือแท่นประดิษฐานรูปเคารพ มีรางน้ำหันไปทางทิศเหนือ แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
6.ฐาน
ฐานของพระปรางค์หมายเลข 1 มีสภาพทรุดพัง แต่ก็ยังพอจะแลเห็นร่องรอยของฐานบัวคว่ำบัวหงาย โดยมีลวดบัวหรือหน้ากระดานอกไก่คั่นที่บริเวณฐานของฉนวนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะของฐานดังกล่าวคงจะคล้ายคลึงกับฐานของพระปรางค์หมายเลข 2 และพระปรางค์หมายเลข 3 ซึ่งได้รับการซ่อมแซมไปแล้ว เหตุที่มั่นใจว่าฐานดั้งเดิมของพระปรางค์หมายเลข 1 มีรูปแบบเช่นนั้น เนื่องจากเมื่อนำรูปแบบของฐานปราสาทหินเขาพนมรุ้งมาศึกษาเปรียบเทียบแล้ว จะพบว่าฐานของพระปรางค์สามยอดและฐานของปรางค์ประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ต่างก็มีส่วนที่ควรจะเรียกในที่นี้ว่า “ฐานไพทีย่อมุม” หรือฐานบัวคว่ำบัวหงาย ยื่นออกมาโดยรอบเช่นกัน เพียงแต่ลักษณะของบันไดพระปรางค์หมายเลข 1 และพระปรางค์องค์อื่นๆ เท่านั้นที่ถูกซ่อมผิดจารีตโครงสร้างสถาปัตยกรรมซึ่งได้รับอิทธิพลของศิลปกรรมเขมรโบราณ
บทที่ 1
สภาพโบราณสถานก่อนการบูรณะ
จากการศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรม ทำให้สามารถแบ่งโบราณสถานพระปรางค์สามยอดออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ก.ส่วนที่หนึ่ง คือ พระปรางค์สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานแยกต่างหากจากกัน ก่อด้วยศิลาแลงและศิลาทรายบางส่วน สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
ข.ส่วนที่สอง คือ โบราณสถานก่ออิฐถือปูนที่ถูกสร้างเสริมขึ้นมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นอย่างน้อย ได้แก่ ซากวิหารด้านตะวันออกของปรางค์ประธาน (ปรางค์หมายเลข 2) รากฐานอาคารด้านตะวันตกของปรางค์ประธาน (ปรางค์หมายเลข 2) และรากฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระปรางค์สามยอด
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
ความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อศาสนสถาน ทำให้พระปรางค์สามยอดได้รับการอนุรักษ์ด้วยดีมาตั้งแต่ครั้งอดีต หลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า สมเด็จพระนารายณ์แห่งราชวงศ์ปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้มีการซ่อมแซมและบูรณะพระอารามต่างๆ ในเมืองลพบุรีอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งในสมัยหลังทั้งราชบัณฑิตสภาและกรมศิลปากร รวมทั้งองค์กรท้องถิ่นอื่นๆต่างก็ให้ความสนใจในการอนุรักษ์พระปรางค์สามยอดอย่างต่อเนื่อง ทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีองค์ปาระกอบทางสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างสมบูรณ์นับตั้งแต่บัวยอดปรางค์ ชั้นเชิงบาตร ชั้นหลังคาเรือนธาตุ และฐานพระปรางค์ แม้ในเวลาต่อมาปัจจัยต่างๆจะทำให้ชิ้นส่วนของหลังคาปรางค์บางอันหลุดตกลงมาบ้าง
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์หมายเลข 1 มีดังนี้
1.กลศ (หินชั้นที่ 1-2)
คือ ส่วนยอดของหลังคาปรางค์ รูปร่างคล้ายไข่ผ่าครึ่งด้านหน้าตัดสูง 20 ซม. ทำจากศิลาทรายสีเทา 2 ชิ้นวางประกบกัน มีรูตรงกลาง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ซม. ตั้งอยู่บนชั้นศิลาแลง 3-4 ก้อนอย่างหมิ่นเหม่ ชั้นศิลาแลงนี้แต่เดิมคงจะมีลักษณะเป็นรูปกลีบบัวหรือทรงฟักทอง (ทรงเฟือง)
2.กลุ่มบัวยอดปรางค์ แบ่งเป็น
- บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 (หินชั้นที่3-4) มีลักษณะเป็นชั้นบัวคว่ำบัวหงาย มีลวดบัวคั่น ทำจากศิลาแลงฉาบปูนขาวซึ่งหลุดร่วงไปเกือบหมดสิ้นแล้ว บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ประกอบด้วยชั้นศิลาแลง 2 ชั้น สูงประมาณ 80 ซม.มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 170 ซม.องค์ประกอบบางส่วนของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 อาทิ กลีบบัวหงายรูปคล้ายลิ่ม และฐานบัวหงาย (คือส่วนที่เป็นบัวคว่ำ) หล่นหายไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากศิลาแลงแต่ละก้อนไม่ได้ถูกยึดด้วยเหล็กรูปตัวไอ
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 (หินชั้นที่ 5 – 6) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 280 ซม.ประกอบด้วย ชั้นศิลาแลง 2 ชั้น มีลักษณะเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายเช่นกัน มีศิลาแลงหลุดตกลงไป 2 ชิ้น ทางด้านตะวันออกและตะวันตก
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 (หินชั้นที่ 7-8) มีเส้นผ่าศูนย์กลางชั้นบนประมาณ 350 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นล่างประมาณ 400 ซม.ประกอบด้วยศิลาแลง 3 ชั้น
3.กลุ่มชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลง (ชั้นหน้าบัน)
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (บันแถลงชั้นที่5) (หินชั้นที่10-11-12) มีเส้นผ่าศูนย์กลางชั้นบนประมาณ 380 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นล่างประมาณ 370 ซม.ประกอบด้วยศิลาแลง 3 ชั้น
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (บันแถลงชั้นที่4) (หินชั้นที่13-14) เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นบนกว้างประมาณ 500 ซม.เส้นผ่าศูนย์กลางชั้นล่างกว้างประมาณ 480 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 3 (บันแถลงชั้นที่3) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 2 (บันแถลงชั้นที่2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 550 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 1 (บันแถลงชั้นที่1) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 550 ซม.
ชั้นเชิงบาตรพระปรางค์หมายเลข 1 มีกลีบขนุนปรางค์เหลืออยู่เพียงด้านละ 1-2 ชิ้นเท่านั้น
4.หลังคามุมทิศ
หลังคามุขทิศด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 1 มีกรอบหน้าบันลดชั้น 2 ชั้น (ช้อนกัน) ประกอบกด้วยศิลาแลงและศิลาทราย มุขทิศแต่ละด้านยื่นออกมาประมาณ 4 เมตร ส่วนมุขทิศเหนือมีลักษณะเป็นฉนวนเชื่อมกับพระปรางค์หมายเลข 2 มีกรอบหน้าบันเพียงชั้นเดียว
5.เรือนธาตุ
ถัดจาดหลังคามุขทิศลงมาเป็นเรือนธาตุของพระปรางค์และเรือนธาตุของมุขทิศ ทำลดชั้นย่อมุมออกไป ภายในเรือนธาตุเรียกว่า “ครรภคฟหะ” ประดิษฐานแท่นโยนิโทรณะ หรือแท่นประดิษฐานรูปเคารพ มีรางน้ำหันไปทางทิศเหนือ แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
6.ฐาน
ฐานของพระปรางค์หมายเลข 1 มีสภาพทรุดพัง แต่ก็ยังพอจะแลเห็นร่องรอยของฐานบัวคว่ำบัวหงาย โดยมีลวดบัวหรือหน้ากระดานอกไก่คั่นที่บริเวณฐานของฉนวนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะของฐานดังกล่าวคงจะคล้ายคลึงกับฐานของพระปรางค์หมายเลข 2 และพระปรางค์หมายเลข 3 ซึ่งได้รับการซ่อมแซมไปแล้ว เหตุที่มั่นใจว่าฐานดั้งเดิมของพระปรางค์หมายเลข 1 มีรูปแบบเช่นนั้น เนื่องจากเมื่อนำรูปแบบของฐานปราสาทหินเขาพนมรุ้งมาศึกษาเปรียบเทียบแล้ว จะพบว่าฐานของพระปรางค์สามยอดและฐานของปรางค์ประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ต่างก็มีส่วนที่ควรจะเรียกในที่นี้ว่า “ฐานไพทีย่อมุม” หรือฐานบัวคว่ำบัวหงาย ยื่นออกมาโดยรอบเช่นกัน เพียงแต่ลักษณะของบันไดพระปรางค์หมายเลข 1 และพระปรางค์องค์อื่นๆ เท่านั้นที่ถูกซ่อมผิดจารีตโครงสร้างสถาปัตยกรรมซึ่งได้รับอิทธิพลของศิลปกรรมเขมรโบราณ
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์หมายเลข 2 (ปรางค์ประธาน) มีดังนี้
1.กลศ
พร้อมทั้งส่วนฐานของกลศ หล่นหายไป แต่กลับมีสายล่อฟ้าของใหม่ และอิฐที่ก่อรับสายล่อฟ้าแทนที่
2.กลุ่มบัวยอด แบ่งเป็น
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ลักษณะเป็นศิลาทราย จำหลักเป็นรูปทรงบัวคว่ำบัวหงายเส้นผ่าศูนย์กลาง 230 ซม.บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 นี้ เหลือศิลาทรายประกอบกันเป็นรูปบัวทรงเฟืองเพียง 5 ก้อน โดยส่วนบัวหงายทางด้านตะวันตกหลุดหายไป เหลือแต่ส่วนกลีบบัวคว่ำด้านล่าง สำหรับส่วนประกอบบัวยอดปรางค์ตรงกลางทำจากศิลาทรายก้อนใหญ่ประกบกัน 2 ก้อน ตามแนวเหนือ-ใต้ มีรูตรงกลางกว้างประมาณ 30 ซม.ฐานบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ส่วนล่างของศิลาทรายก้อนใหญ่มีสภาพแตกออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ 2-3 ชิ้น
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ลักษณะเป็นศิลาทรายวางเรียงกันตามแนวเหนือ-ใต้ 2 ชั้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ซม.ประกอบด้วยศิลาทรายตั้งซ้อนกัน 2 ชั้น มีการจำหลักศิลาทรายชั้นบนเป็นรูปกลีบบัวชัดเจน บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นี้ยังคงมีลักษณะเป็นทรงเฟืองอยู่
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ลักษณะเป็นศิลาทรายเรียงซ้อนกัน 3 ชั้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 400 ซม.กรอบนอกของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 นี้ ยังคงมีรูปทรงเฟืองและจำหลักลวดลายกลีบบัวเพิ่มเข้าไปด้วย
3.กลุ่มชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลง (ชั้นหน้าบัน)
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (บันแถลงชั้นที่ 5) ส่วนบนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 400 ซม.ส่วนล่างมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 ซม.ทำจากศิลาแลงทั้งหมด
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (บันแถลงชั้นที่ 4) มีเส้นผ่าศูนย์กลางทั้งชั้นบนและชั้นล่างประมาณ 500 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 3 (บันแถลงชั้นที่ 3) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 600-620 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 2 (บันแถลงชั้นที่ 2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 600 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 1 (บันแถลงชั้นที่ 1) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 650 ซม.
ชั้นเชิงบาตรพระปรางค์หมายเลข 2 มีกลีบขนุนปรางค์เหลืออยู่ด้านละไม่กี่ชั้นเช่นกัน
4.หลังคามุขทิศ
หลังคามุขทิศทางด้านตะวันออกและทิศตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 2 มีกรอบหน้าบันลดชั้น 2 ชั้น ประกอบด้วย ศิลาแลงและศิลาทราย ส่วนมุขทิศเหนือและใต้มีหน้าบันยื่นออกมาเพียงชั้นเดียว เนื่องจากมีฉนวนเชื่อมกับปรางค์หมายเลข 1 ทางทิศใต้ และปรางค์หมายเลข 3 ทางทิศเหนือ อย่างพอเหมาะอยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มีการจำหลักรูปบุคคลขนาดเล็กกุมกระบอง มีเคราที่คาง คล้ายนักบวชหรือโยคีส่วนบนของซุ้มหน้าบันมุขทิศตะวันออกของปรางค์ประธานหมายเลข 2 คล้ายรูปนักบวชที่กลีบขนุนปรางค์และโคนเสาประดับกรอบประตู
5.เรือนธาตุ
ภายในเรือนธาตุของพระปรางค์หมายเลข 2 นี้ แต่เดิมเคยประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกศิลาทราย ปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานโยนิโทรณะหรือแท่นประดิษฐานรูปเคารพ
6.ฐาน
ฐานของพระปรางค์หมายเลข 2 มีสภาพแข็งแรง เนื่องจากเคยได้รับการซ่อมแซมมาแล้ว
ปัจจุบันภายในเรือนธาตุทั้งของพระปรางค์ทั้งสามองค์ มีสภาพเป็นอิฐ ปูพื้นสูงเท่ากับระดับขอบบนของฐานโยนิโทรณะ เข้าใจว่าน่าจะถูกก่อขั้นเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากยังมีผู้จำได้ว่าเดิมพื้นปรางค์ด้านในอยู่ต่ำกว่านี้ สำหรับผนังปรางค์ด้านในทั้ง 3 องค์ มีการก่ออิฐคล้ายอาสนสงฆ์ ส่วนหน้าต่างของปรางค์ทั้งสามองค์ถูกก่ออิฐปิดหมดทุกด้านเสียแล้ว
1.กลศ
พร้อมทั้งส่วนฐานของกลศ หล่นหายไป แต่กลับมีสายล่อฟ้าของใหม่ และอิฐที่ก่อรับสายล่อฟ้าแทนที่
2.กลุ่มบัวยอด แบ่งเป็น
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ลักษณะเป็นศิลาทราย จำหลักเป็นรูปทรงบัวคว่ำบัวหงายเส้นผ่าศูนย์กลาง 230 ซม.บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 นี้ เหลือศิลาทรายประกอบกันเป็นรูปบัวทรงเฟืองเพียง 5 ก้อน โดยส่วนบัวหงายทางด้านตะวันตกหลุดหายไป เหลือแต่ส่วนกลีบบัวคว่ำด้านล่าง สำหรับส่วนประกอบบัวยอดปรางค์ตรงกลางทำจากศิลาทรายก้อนใหญ่ประกบกัน 2 ก้อน ตามแนวเหนือ-ใต้ มีรูตรงกลางกว้างประมาณ 30 ซม.ฐานบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ส่วนล่างของศิลาทรายก้อนใหญ่มีสภาพแตกออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ 2-3 ชิ้น
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ลักษณะเป็นศิลาทรายวางเรียงกันตามแนวเหนือ-ใต้ 2 ชั้น มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ซม.ประกอบด้วยศิลาทรายตั้งซ้อนกัน 2 ชั้น มีการจำหลักศิลาทรายชั้นบนเป็นรูปกลีบบัวชัดเจน บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นี้ยังคงมีลักษณะเป็นทรงเฟืองอยู่
-บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ลักษณะเป็นศิลาทรายเรียงซ้อนกัน 3 ชั้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 400 ซม.กรอบนอกของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 นี้ ยังคงมีรูปทรงเฟืองและจำหลักลวดลายกลีบบัวเพิ่มเข้าไปด้วย
3.กลุ่มชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลง (ชั้นหน้าบัน)
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (บันแถลงชั้นที่ 5) ส่วนบนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 400 ซม.ส่วนล่างมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 ซม.ทำจากศิลาแลงทั้งหมด
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (บันแถลงชั้นที่ 4) มีเส้นผ่าศูนย์กลางทั้งชั้นบนและชั้นล่างประมาณ 500 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 3 (บันแถลงชั้นที่ 3) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 600-620 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 2 (บันแถลงชั้นที่ 2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 600 ซม.
-ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 1 (บันแถลงชั้นที่ 1) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 650 ซม.
ชั้นเชิงบาตรพระปรางค์หมายเลข 2 มีกลีบขนุนปรางค์เหลืออยู่ด้านละไม่กี่ชั้นเช่นกัน
4.หลังคามุขทิศ
หลังคามุขทิศทางด้านตะวันออกและทิศตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 2 มีกรอบหน้าบันลดชั้น 2 ชั้น ประกอบด้วย ศิลาแลงและศิลาทราย ส่วนมุขทิศเหนือและใต้มีหน้าบันยื่นออกมาเพียงชั้นเดียว เนื่องจากมีฉนวนเชื่อมกับปรางค์หมายเลข 1 ทางทิศใต้ และปรางค์หมายเลข 3 ทางทิศเหนือ อย่างพอเหมาะอยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มีการจำหลักรูปบุคคลขนาดเล็กกุมกระบอง มีเคราที่คาง คล้ายนักบวชหรือโยคีส่วนบนของซุ้มหน้าบันมุขทิศตะวันออกของปรางค์ประธานหมายเลข 2 คล้ายรูปนักบวชที่กลีบขนุนปรางค์และโคนเสาประดับกรอบประตู
5.เรือนธาตุ
ภายในเรือนธาตุของพระปรางค์หมายเลข 2 นี้ แต่เดิมเคยประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกศิลาทราย ปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานโยนิโทรณะหรือแท่นประดิษฐานรูปเคารพ
6.ฐาน
ฐานของพระปรางค์หมายเลข 2 มีสภาพแข็งแรง เนื่องจากเคยได้รับการซ่อมแซมมาแล้ว
ปัจจุบันภายในเรือนธาตุทั้งของพระปรางค์ทั้งสามองค์ มีสภาพเป็นอิฐ ปูพื้นสูงเท่ากับระดับขอบบนของฐานโยนิโทรณะ เข้าใจว่าน่าจะถูกก่อขั้นเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากยังมีผู้จำได้ว่าเดิมพื้นปรางค์ด้านในอยู่ต่ำกว่านี้ สำหรับผนังปรางค์ด้านในทั้ง 3 องค์ มีการก่ออิฐคล้ายอาสนสงฆ์ ส่วนหน้าต่างของปรางค์ทั้งสามองค์ถูกก่ออิฐปิดหมดทุกด้านเสียแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจที่ได้พบจากการศึกษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานพระปรางค์สามยอดก็คือ การที่บริเวณหน้าบันของมุขทิศเกือบทุกด้านของโบราณสถานแห่งนี้จะมีร่องรอยการถูกเจาะเป็นร่องรูปหน้าจั่วแบบเดียวกัน เมื่อได้พบหลักฐานของกระเบื้องมุงหลังคาจากบริเวณตรงข้ามกับตำแหน่งหน้าบันของมุขทิศจำนวนมาก ทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่า การเจาะร่องดังกล่าวบนหน้าบันของมุขทิศน่าจะทำขึ้นเพื่อสอดแปมุงหลังคาในชั้นหลังนั่นเอง หลักฐานการสอดแปมุงหลังคายื่นออกมาจากหน้าบันมุขทิศเช่นนี้ ยังได้พบที่ปรางค์ทิศวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย
ส่วนฝ้าเพดานของพระปรางค์หมายเลข 1-2 นั้น มีร่องรอยของการประดับกระจกเป็นรูปดาวพื้นไม้ลงรักปิดทอง สภาพชำรุดทรุดโทรมค่อนข้างมาก
ปัญหาด้านวิศวกรรม
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ อาทิ อิทธิพลของกระแสลม ฝน แสงแดด และความชื้นในแต่ละปี ทำให้ศิลาแลงและศิลาทรายอันเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์สามยอดเกิดการเสื่อมสภาพ เมื่อถูกลิงปีนป่ายขึ้นไปขย่มบ่อยๆเข้าก็หลุดตกลงมา เบื้องล่างเป็นจำนวนมาก
จากการสำรวจแรงสั่นสะเทือนของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (A.I.T) แม้จะพบว่าแรงสั่นสะเทือนจากรถไฟและรถบรรทุกมีผลต่อรากฐานของพระปรางค์สามยอดไม่มากนัก การสำรวจมิได้ระบุถึงผลกระทบอันเกิดขึ้นต่อส่วนประกอบของเรือนธาตุ และหลังคาปรางค์ซึ่งได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องสะสมมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งมีรอยปริแยกหลายจุดบนองค์ปรางค์ อาทิ ที่มุขทิศตะวันออกของพระปรางค์หมายเลข 1 ที่หน้าบันบนชั้นเชิงบาตรของพระปรางค์หมายเลข 2 ซุ้มประตูและมุขทิศด้านตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 2 ซึ่งถูกค้ำยั่นด้านเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก อีกทั้งยังถูกรัดด้วยเหล็กแผ่นเพื่อกันมิให้มุขทิศด้านนี้ทรุดพังลงมา
บทที่ 2
การสำรวจเพื่อการบูรณะ
การวางผังบริเวณ
ช่างสำรวจได้กำหนดจุดต่างๆ โดยรอบพื้นที่โบราณสถานออกเป็น 4 จุด ได้แก่จุด RP.1 อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จุด RP.2 อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จุด RP.3 อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจุด RP.4 อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากนั้นจึงตีตารางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 เมตรคลุมพื้นที่พระปรางค์สามยอด โดยมีจุด BM. อยู่ทางด้านตะวันออกของวิหาร ซึ่งต่อเสริมออกไปจากปรางค์ทิศตะวันออกของพระปรางค์หมายเลข 1 เป็นจุดกำหนดตายตัว มีระดับความสูงสมมติอยู่ที่ 10.000 เมตร การกำหนดจุด BM.มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับการกำหนด DATUM LINE ในการขุดแต่งโบราณสถาน กล่าวคือ DATUM LINE จะใช้ในการวัดระดับวัตถุที่อยู่ลึกลงไปในชั้นดิน ส่วน BM.LINE ใช้วัดระดับของโครงสร้างของโบราณสถานซึ่งอยู่เหนือผิวดินขึ้นไป
หลังจากทำแผนผังบริเวณในแนวราบแล้ว มีการติดตั้งนั่งร้านโครงเหล็กเพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงาน จากนั้นช่างสำรวจไก้ทำผังรูปด้านของพระปรางค์หมายเลข 1-2 เป็นตารางกริดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 1x1 เมตร เช่นเดียวกัน เพื่อควบคุมระดับความสูงของชั้นหินให้สัมพันธ์กับหลักฐานซึ่งจะถูกบันทึกลงบนสมุดกราฟ มิให้เกิดความผิดพลาดในการถอดชิ้นส่วนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมของโบราณเป้าหมาย จากนั้นช่างจึงได้กำหนดหมายเลขของตารางกริด โดยเริ่มจากจุด RP.2 มีเส้นตั้งเป็นแกน Y เส้นนอนเป็นแกน X มีหมายเลขกำกับช่องละ 1 เมตร ดังปรากฏในผังบริเวณ
หลังจากทำผังทั้งตามแนวดิ่งและแนวราบโดยใช้อุปกรณ์คือกล้องส่องระดับ ไม้ระดับ ลูกดิ่ง และเชือกแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนของการดำเนินการเพื่อการบูรณะ ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป
บทที่ 3
การบูรณะพระปรางค์หมายเลข 1 และพระปรางค์หมายเลข 2
การบูรณะพระปรางค์หมายเลข 1-2 มีขั้นตอนดังนี้
1.การถอดชิ้นส่วนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
1.1การถอดชิ้นส่วนพระปรางค์หมายเลข 1
1.1.1 การถอดกลศและฐานกลศ
เมื่อได้ทำผังตำแหน่งของกลศบนยอดปรางค์หมายเลข 1 แล้ว จากนั้นจึงถอดกลศโดยใช้เชือกรัดเป็นห่วงแล้วใช้รถเครนโรยโบราณวัตถุชิ้นนี้ลงมาอย่างระมัดระวัง หลังจากถอดกลศแล้วจึงรื้อฐานรองรับกลศซึ่งเป็นศิลาแลงลงมาด้วย ฐานรองกลศมีสภาพชำรุดมากเหลือศิลาแลงที่มรสภาพสมบูรณ์เพียงชิ้นเดียว นอกนั้นมีสภาพเป็นเศษศิลาแลง 2-3 ก้อน จึงได้เขียนรหัสศิลาของกลศเป็นชั้นที่ 1 ส่วนฐานรองรับกลศให้เป็นศิลาชั้นที่ 2 โดยใช้ระบบให้หมายเลขศิลาเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา
1.1.2 การถอดชิ้นส่วนศิลากลุ่มยอดบัวปรางค์
- การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3
หลังจากถอดชั้นกลศออกไปแล้ว ได้พบว่าชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ทางด้านตะวันออกมีสภาพชำรุดมาก เนื่องจากมีศิลาแลงหล่นหายไปหลายชิ้น จนเหลือศิลาแลงเพียง 11 ชิ้น ส่วนฐานด้านล่างของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ก็มีศิลาแลงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ศิลาแลงบางก้อนมีสภาพชำรุดมาก ศิลาแลงชั้นบนมีขนาดประมาณ 30x70x20 ซม.ศิลาแลงชั้นล่างมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย และได้พบหลักฐานว่ามีการใช้ปูนซิเมนต์มาซ่อมบัวยอดปรางค์ชั้นนี้ไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้
หลังจากกำหนดรหัสบนศิลาแลงแต่ละก้อนลงบนผังและบนศิลาแล้วจึงรื้อบัวยอดปรางค์ชั้นบนลงมาก่อนที่จะดำเนินการเช่นเดียวกันกับฐานของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 การรื้อบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ทำให้พบว่า ภายในมีการนำแท่งศิลาทรายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 50x50x20 ซม.วางเป็นศูนย์กลางของกลีบบัวยอดปรางค์ ซึ่งจะมีขอบด้านนอกบานออก ส่วนขอบด้านในเรียกว่า ไม่ปรากฏหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงแต่ละก้อนเข้าด้วยกัน
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2
บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ศิลาแลงชั้นบนกับชั้นล่าง รูปร่างของศิลาแลงแต่ละก้อนมีลักษณะคล้ายส่วนบนของกระดูก LONG BONE ที่ถูกแต่งส่วนล่างให้มน แล้ววางเรียงโดยการหันส่วนบนออกไปด้านนอก บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ส่วนบนประกอบด้วย ศิลาแลงจำนวน 16 ก้อนแต่เหลือเพียง 14 ก้อน
พบหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงก้อนที่ 11-12-13 (ชิ้นเดียวกับก้อนที่ 12) – 14 เข้าด้วยกัน โดยมีโลหะตะกั่วหลอมยึดเหล็กให้แน่นภายในร่องอีกครั้ง ศิลาแลงมีขนาดประมาณ 50x100x30 ซม.ส่วนฐานของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นั้น มีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงก้อนที่ 4 กับก้อนที่ 5 ก้อนที่ 9 กับก้อนที่ 10 และก้อนที่ 14 กับก้อนที่ 15 และก้อนที่ 16 เข้าด้วยกัน ปัญหาคือ ศิลาแลงบางก้อนอาจมีสภาพชำรุดเนื่องจากการเจาะฝังเหล็กรูปตัวไอ ดังปรากฏหลักฐานในแผนผังชั้นศิลาแนบท้ายรายงานฉบับนี้
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1
บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ส่วนบนประกอบด้วย ศิลาแลงทั้งชำรุดและสมบูรณ์รวม 35 ก้อน พบว่ามีการใช้เหล็กรูปตัวไอหลอมด้วยตะกั่วยึดหินก้อนที่ 7-8 ไว้เพียงจุดเดียวการเรียงศิลาแลงมีลักษณะวางส่วนของกลีบบัวยอดปรางค์ล้อมรอบแกนของบัวยอดปรางค์ด้านในเป็นวงกลม
ฐานของบัวยอดปรางค์ ประกอบด้วย ศิลาแลงจำนวนมากกว่า 35 ก้อน ศิลาแลงบางก้อนชำรุดหล่นหายไป บางก้อนอาจชำรุดเนื่องจากการใช้เหล็กรูปตัวไอยึด พบหลักฐานการใช้
เหล็กรูปตัวไอหลอมด้วยตะกั่วยึดศิลาแต่ละก้อนเข้าด้วยกันเกือบรอบฐานชั้นล่างของบัวยอดปรางค์ชั้นนี้
การรื้อบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ทั้งส่วนบนและส่วนฐาน มีการถ่ายรูปทำผัง กำหนดรหัสศิลาแลงแต่ละก้อนเป็นหลักฐานรัดกุม
1.1.3 การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตร (ชั้นบันแถลง)
-การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (หน้าบันชั้นที่ 5)
ชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลงหรือหน้าบันชั้นที่ 5 นี้ ประกอบด้วยศิลาแลงจำนวน 36 ก้อน ขนาดไม่เท่ากัน ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดประมาณ 100 x 50 x 30 ซม.ศิลาบางก้อนมีลักษณะเป็นแท่งเล็กๆ สอดระหว่างศิลาก้อนใหญ่เพื่อให้องค์ปรางค์มีความมั่นคง ไม่ปริแยกออกจากกันโดยง่าย ไม่ปรากฏหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแต่ละก้อนเอาไว้ ศิลาบางก้อนของฐานชั้นกลางของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 จะถูกเซาะร่องทำบ่าเพื่อรับกับเหลี่ยมศิลาแลงด้านนอกที่สอดแทรกเข้ามา เช่นเดียวกีบศิลาแลงชั้นล่างของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 นี้
-การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (หน้าบันชั้นที่ 4)
ชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลงหรือชั้นหน้าบันชั้นที่ 4 ประกอบด้วยศิลาแลงขนาดต่างๆกัน ศิลาก้อนที่ใหญ่ที่สุดมีขนากประมาณ 100 x 60 x 50 ซม.มีศิลาแลงหล่นหายไปบ้าง เหลือศิลาแลงประมาณ 44-45 ก้อน ขอบด้านนอกบางส่วนของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 นี้ ถูกก่อเสริมด้วยอิฐถือซิเมนต์ เมื่อปี พ.ศ.2512 (มีการเขียนปีที่ซ่อมไว้บนแผ่นซิเมนต์ที่ก่อเสริมด้วย) ชั้นล่าง (ส่วนล่าง) ของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 นี้ เหลือศิลาแลงประมาณ 45-46 ก้อน ศิลาแลงบางก้อนก็มีลักษณะเป็นลิ่มหรือตัวเสริมตัวแทรกให้มีความแน่นหนา ไม่ปรากฏว่ามีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงเข้าด้วยกันในระดับนี้
การรื้อบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ทั้งส่วนบนและส่วนฐาน มีการถ่ายรูปทำผัง กำหนดรหัสศิลาแลงแต่ละก้อนเป็นหลักฐานรัดกุม
1.1.3 การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตร (ชั้นบันแถลง)
-การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (หน้าบันชั้นที่ 5)
ชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลงหรือหน้าบันชั้นที่ 5 นี้ ประกอบด้วยศิลาแลงจำนวน 36 ก้อน ขนาดไม่เท่ากัน ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดประมาณ 100 x 50 x 30 ซม.ศิลาบางก้อนมีลักษณะเป็นแท่งเล็กๆ สอดระหว่างศิลาก้อนใหญ่เพื่อให้องค์ปรางค์มีความมั่นคง ไม่ปริแยกออกจากกันโดยง่าย ไม่ปรากฏหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแต่ละก้อนเอาไว้ ศิลาบางก้อนของฐานชั้นกลางของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 จะถูกเซาะร่องทำบ่าเพื่อรับกับเหลี่ยมศิลาแลงด้านนอกที่สอดแทรกเข้ามา เช่นเดียวกีบศิลาแลงชั้นล่างของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 นี้
-การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (หน้าบันชั้นที่ 4)
ชั้นเชิงบาตรหรือชั้นบันแถลงหรือชั้นหน้าบันชั้นที่ 4 ประกอบด้วยศิลาแลงขนาดต่างๆกัน ศิลาก้อนที่ใหญ่ที่สุดมีขนากประมาณ 100 x 60 x 50 ซม.มีศิลาแลงหล่นหายไปบ้าง เหลือศิลาแลงประมาณ 44-45 ก้อน ขอบด้านนอกบางส่วนของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 นี้ ถูกก่อเสริมด้วยอิฐถือซิเมนต์ เมื่อปี พ.ศ.2512 (มีการเขียนปีที่ซ่อมไว้บนแผ่นซิเมนต์ที่ก่อเสริมด้วย) ชั้นล่าง (ส่วนล่าง) ของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 นี้ เหลือศิลาแลงประมาณ 45-46 ก้อน ศิลาแลงบางก้อนก็มีลักษณะเป็นลิ่มหรือตัวเสริมตัวแทรกให้มีความแน่นหนา ไม่ปรากฏว่ามีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงเข้าด้วยกันในระดับนี้
เมื่อรื้อศิลาแลงของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 ออกไป จึงได้พบว่ามีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงทางด้านใต้ของชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 3 (ส่วนบน) เพียงตัวเดียวเท่านั้น
การรื้อศิลาแลงตั้งแต่ส่วนกลศลงมาจนถึงชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 ออกไป ทำให้ได้พบแนวโน้มว่า การเรียงศิลาแลงชั้นบนๆ ช่างจะใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงเข้าด้วยกัน เนื่องจากศิลาแลงชั้นบนมีขนาดค่อนข้างเล็กและมีน้ำหนักไม่มากนัก การยึดด้วยเหล็กรูปตัวไอจะช่วยให้เกิดความมั่นคงได้มากในระยะแรก แต่ครั้นเวลาผ่านไปนานๆ ร่องที่ใช้วางเหล็กยึดศิลาแลงจะเป็นตัวปัญหาที่ทำให้ศิลาแลงแตกหรือชำรุดหล่นลงมายังพื้นด้านล่างเสียเอง เนื่องจากอุณหภูมิในอากาศจะทำให้ศิลาแลงหรือเหล็กและตะกั่วมีการหดและขยายตัวตามคุณสมบัติทางธรรมชาติของธาตุแต่ละอย่าง
หลักฐานที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่พบจากการรื้อชิ้นส่วนศิลาแลงก็คือ นักโบราณคดีได้พบว่า ช่างได้เรียงศิลาแลงให้มีลักษณะเวียนขวาจากบนลงมาด้านล่าง (หรือเวียนจากซ้ายขึ้นไป) ทำให้ศิลาแลงแต่ละชั้นจะมีลักษณะหลั่นเหลื่อมกันเล็กน้อย หากไม่สังเกตชั้นศิลาแลงจากหน้าตัดด้านในของโพรงศิลาแลงที่เหลื่อมกันตรงจุดศูนย์กลางของปรางค์แล้วจะไม่สามารถแลเห็นเป็นเทคนิคพิเศษนี้ได้เลย จึงอาจเรียกเทคนิคพิเศษนี้ว่า “การซ้อนหินหลั่นเหลื่อมกันแบบเกลียวสว่านวนขวาลงล่าง” ก็ได้ ประโยชน์ของการเรียงศิลาแลงเช่นนี้ เมื่อผสมผสานกับการเซาะบ่าของศิลาแลงบางก้อนเพื่อสอดเหลี่ยมของศิลาแลงอีกก้อนเข้ามา จะทำให้เกิดการขัดและการสอดรับกันของศิลาแต่ละก้อนทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ เพิ่มความมั่นคงให้เกิดแก่องค์ปรางค์ได้มากยิ่งขึ้น
จึงตอบปัญหาบางอย่างได้ว่าเหตุใดศิลาแลงบางชั้นจึงมีเหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงไว้บางก้อนหรือบางส่วนเท่านั้น และการเจาะหรือบากร่องเพื่อใส่เหล็กรูปตัวไอบนศิลาแลงทุกก้อนอาจจะมีส่วนทำให้ศิลาแลงชำรุดและปริออกมาเสียเองก็ได้
1.2 การถอดชิ้นส่วนพระปรางค์หมายเลข 2
1.2.1 การถอดชิ้นส่วนกลุ่มบัวยอดปรางค์
- การถอดชิ้นส่วนกลุ่มบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3
ช่างผู้ปฏิบัติงานบูรณะได้ถอดเสาสายล่อฟ้า แล้วจึงสกัดฐานอิฐที่ใช้ตั้งสายล่อฟ้าออกไป ก่อนจะทำผังและดำเนินการตามเทคนิคการถอดชิ้นส่วนองค์ประกอบของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 นี้ เหลือศิลาทรายเพียง 5 ก้อน ก้อนที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 130 x 100 x 50 ซม.
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2
การรื้อชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ออกไป ทำให้พบว่า การเรียงศิลาทรายของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นี้ ได้เรียงตามแนวนอน (ตะวันออก-ตะวันตก) มีการใช้เหล็กรูปตัวไอหลอมตะกั่วยึดศิลาทรายก้อนที่ 1-2-3 และยึดศิลาทรายก้อนที่ 9-10 เข้าด้วยกัน ศิลาทรายที่ประกอบกันเป็นบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นี้ ก้อนใหญ่ที่สุดมีขนาด 150 x 30 x 30 ซม.
1.2 การถอดชิ้นส่วนพระปรางค์หมายเลข 2
1.2.1 การถอดชิ้นส่วนกลุ่มบัวยอดปรางค์
- การถอดชิ้นส่วนกลุ่มบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3
ช่างผู้ปฏิบัติงานบูรณะได้ถอดเสาสายล่อฟ้า แล้วจึงสกัดฐานอิฐที่ใช้ตั้งสายล่อฟ้าออกไป ก่อนจะทำผังและดำเนินการตามเทคนิคการถอดชิ้นส่วนองค์ประกอบของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 บัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 นี้ เหลือศิลาทรายเพียง 5 ก้อน ก้อนที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 130 x 100 x 50 ซม.
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2
การรื้อชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ออกไป ทำให้พบว่า การเรียงศิลาทรายของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นี้ ได้เรียงตามแนวนอน (ตะวันออก-ตะวันตก) มีการใช้เหล็กรูปตัวไอหลอมตะกั่วยึดศิลาทรายก้อนที่ 1-2-3 และยึดศิลาทรายก้อนที่ 9-10 เข้าด้วยกัน ศิลาทรายที่ประกอบกันเป็นบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 นี้ ก้อนใหญ่ที่สุดมีขนาด 150 x 30 x 30 ซม.
เมื่อรื้อส่วนบนของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 2 ลงไป ได้พบแท่งศิลาทรายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 50 x 50 x 20 ซม.มีรูสี่เหลี่ยมประมาณ 20 x 20 ซม.อยู่ตรงกลาง ซ้อนกัน 2 ชั้น เช่นเดียวกับที่พบในบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 3 ของพระปรางค์หมายเลข 1 แต่ไม่ทราบประโยชน์หรือหน้าที่ของวัตถุดังกล่าวว่า มีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนาอย่างไร แท่งศิลาทรายดังกล่าวนี้วางปิดโพรงของปรางค์หมายเลข 2 ได้พอดี ได้พบชิ้นส่วนแผ่นทองแดงขนาดใหญ่ม้วนเป็นแผ่นกลมวางอยู่ทางด้านใต้ของแท่นศิลาทราย เมื่อคลี่ออกมากับไม่ปรากฏร่องรอยการจารึกใดๆทั้งสิ้น ระดับนี้ไม่พบเหล็กรูปตัวไอยึดศิลาทรายเอาไว้ แต่พบว่ามีการนำศิลาแลงเพียงก้อนเดียว ขนาดประมาณ 30 x 50 x 20 ซม.ปนอยู่กับศิลาทราย
-การถอดชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1
ศิลาทรายที่นำมาประกอบกันเป็นบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีการเซาะร่องเป็นแนวยาวตรงตามแกนทิศทั้งสี่ ซึ่งในชั้นนี้มีผู้ระบุว่า อาจเป็นรางระบายน้ำฝนมิให้ไหลลงไปภายในองค์ปรางค์ได้
ศิลาทรายของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ส่วนบน ประกอบด้วย หิน จำนวน 28 ก้อน รูปร่างคล้ายลิ่มหรือสี่เหลี่ยมคางหมู ชั้นหินส่วนกลางประกอบด้วยศิลาทราย จำนวน 30 ก้อน ชั้นหินส่วนล่างประกอบด้วยศิลาทราย จำนวน 29 ก้อน และมีหลักฐานใช้เหล็กรูปตัวไอหล่อด้วยตะกั่วยึดศิลาทรายเข้าด้วยกันถึง 11 จุด หรือประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1
1.2.2 การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตร (ชั้นบันแถลง)
- การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 (ชั้นบันแถลงชั้นที่ 5)
ตั้งแต่ชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 5 ของพระปรางค์หมายเลข 2 ลงไป ทัพสัมภาระส่วนนี้ทำจากศิลาแลงทั้งหมด ประกอบด้วยศิลาแลงประมาณ 30-31 ก้อน ขนาดประมาณ 100 x 60 x 40 ซม.ถึงประมาณ 50 x 30 x 20 ซม.ลดหลั่นปะปนกัน ส่วนบนพบหลักฐานการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดศิลาแลงเข้าด้วยกันเพียง 2 จุดเท่านั้น ชั้นเชิงบาตรส่วนกลางพบเพียงจุดเดียว ชั้นเชิงบาตรส่วนล่างนั้นมีศิลาแลงเรียงไม่น้อยกว่า 41 ก้อน (บางก้อนหล่นหายไป)
-การถอดชิ้นส่วนชั้นเชิงบาตรชั้นที่ 4 (ชั้นบันแถลงชั้นที่ 4)
ชั้นนี้มีการก่อปูนซิเมนต์เสริมความมั่นคงของแนวชั้นศิลาแลง (ระบุว่าซ่อมปี พ.ศ.2512) บางส่วน ชั้นหินส่วนกลางของชั้นเชิงบาตรระดับนี้มีการใช้เหล็กรูปตัวไอยึดประมาณ 5-6 จุด
การรื้อชิ้นส่วนและองค์ประกอบของบัวยอดปรางค์และชั้นเชิงบาตร มีการถ่ายรูปทำผังเอาไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการนำมาประกอบเข้าตามรูปเดิม และเพื่อการบูรณะโดยการเสริมศิลาส่วนที่หลุดหายไปให้สมบูรณ์มั่นคงดังเดิม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืนที่มีต่อตัวโบราณสถาน
การถอดชิ้นส่วนพระปรางค์หมายเลข 1-2 บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องตัดหินมาใช้ตัดตามแนวตะเข็บศิลาที่ถูกปูนขาวฉาบไว้เพื่อรักษามิให้ปูนขาวกะเทาะหลุดลงมา หลักฐานที่พบจากการรื้อส่วนประกอบของพระปรางค์หมายเลข 2 ตามที่ระบุข้างต้น ทำให้ได้พบคำตอบเกี่ยวกับเทคนิคดังได้กล่าวถึงแล้วในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของการถอดส่วนประกอบของพระปรางค์หมายเลข 1
1.2.3 การถอดชิ้นส่วนหลังคาและกรอบประตูมุขทิศตะวันตกพระปรางค์หมายเลข 2
หลังจากบันทึกตำแหน่งของศิลาแล้ว ช่างผู้ปฏิบัติงานบูรณะพระปรางค์หมายเลข 2 ได้ถอดชิ้นส่วนสันหลังคา หลังคา และหน้าบันมุขทิศตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 2 ลงมาก่อนที่จะทุบคานคอนกรีตเสริมเหล็กและแผ่นเหล็กที่รัดผนังมุขทิศ และรองรับทับหลังมุขทิศเอาไว้ จากนั้นจึงถอดทับหลังและเสาประดับกรอบประตูของมุขทิศส่วนนี้ออกไปตามลำดับ การถอดหน้าบันของมุขทิศด้านตะวันตกของปรางค์หมายเลข 2 ทำให้ได้พบว่า ศิลาทรายซึ่งวางทับอยู่บนทับหลังของมุขทิศก้อนหนึ่ง มีจารึกซ่อนอยู่ด้านใน อักษรที่ใช้จารึกเป็นอักษรขอม ขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณตรวจสอบและวิเคราะห์
1.2.3 การถอดชิ้นส่วนหลังคาและกรอบประตูมุขทิศตะวันตกพระปรางค์หมายเลข 2
หลังจากบันทึกตำแหน่งของศิลาแล้ว ช่างผู้ปฏิบัติงานบูรณะพระปรางค์หมายเลข 2 ได้ถอดชิ้นส่วนสันหลังคา หลังคา และหน้าบันมุขทิศตะวันตกของพระปรางค์หมายเลข 2 ลงมาก่อนที่จะทุบคานคอนกรีตเสริมเหล็กและแผ่นเหล็กที่รัดผนังมุขทิศ และรองรับทับหลังมุขทิศเอาไว้ จากนั้นจึงถอดทับหลังและเสาประดับกรอบประตูของมุขทิศส่วนนี้ออกไปตามลำดับ การถอดหน้าบันของมุขทิศด้านตะวันตกของปรางค์หมายเลข 2 ทำให้ได้พบว่า ศิลาทรายซึ่งวางทับอยู่บนทับหลังของมุขทิศก้อนหนึ่ง มีจารึกซ่อนอยู่ด้านใน อักษรที่ใช้จารึกเป็นอักษรขอม ขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณตรวจสอบและวิเคราะห์
เมื่อถอดศิลาลงมาแล้ว ช่างได้รับคำสั่งให้ปัดทำความสะอาดและล้างหินแต่ละก้อนให้สะอาด เพื่อเตรียมนำกลับขึ้นไปประกอบเข้าที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง
2. การเสริมความมั่นคงและการประกอบชิ้นส่วนพระปรางค์หมายเลข 1-2 เข้าที่เดิม
ช่างผู้ปฏิบัติงานบูรณะพระปรางค์ได้เจาะหินเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสลึก 10 ซม.เป็นพื้นที่ขนาด 2 x 2 เมตร เว้นขอบด้านนอกและด้านในติดปล่องเอาไว้เพื่อให้เป็นส่วนยึดเกาะตัวกันระหว่างวัสดุเก่าและวัสดุเสริมความมั่นคงแข็งแรง
2. การเสริมความมั่นคงและการประกอบชิ้นส่วนพระปรางค์หมายเลข 1-2 เข้าที่เดิม
ช่างผู้ปฏิบัติงานบูรณะพระปรางค์ได้เจาะหินเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสลึก 10 ซม.เป็นพื้นที่ขนาด 2 x 2 เมตร เว้นขอบด้านนอกและด้านในติดปล่องเอาไว้เพื่อให้เป็นส่วนยึดเกาะตัวกันระหว่างวัสดุเก่าและวัสดุเสริมความมั่นคงแข็งแรง
จากนั้น ได้ทำความสะอาดพื้นที่ก่อนจะเจาะเหล็กรูปตัวยูยึดหินแต่ละก้อนไว้ และอัดด้วยกาววิทยาศาสตร์ ก่อนจะใช้ปูนขาวหมักเทรองพื้นคานป้องกันมิให้ปูนซิเมนต์ซึมลงไปทำลายเนื้อวัสดุเดิม (ศิลาแลง) เมื่อปูนหมักแห้งได้ที่แล้วจึงวางตะแกรงเหล็กไร้สนิมลงไปแทนที่เนื้อศิลาแลงที่ถูกสกัดออกไป ก่อนจะเทคอนกรีตซึ่งมีส่วนผสม 1:2:4 ลงไปยึดโครงสร้าง คสล. โดยตะแกรงเหล็กมีระยะการผูกเหล็กห่างกัน 20 ซม.ใช้เหล็กไร้สนิมเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม.เป็นแกนตะแกรง ใช้เวลาประมาณ 5 วัน เพื่อให้ คสล.อบตัวและแห้งอย่างเหมาะสม (บ่ม คสล.โดยขังน้ำไว้) แล้วจึงนำศิลาของแต่ละชั้นมาประกอบเข้าตามเดิม โดยได้เจาะฝังเหล็กไร้สนิมรูปตัวยูลงบนหินแต่ละก้อนแบบก้อนต่อก้อน ทุกๆจุดของหินแต่ละชั้น
การยึดหินแต่ละก้อนด้วยเหล็กไร้สนิม มีการอัดกาววิทยาศาสตร์เพิ่มความมั่นคงแข็งแรงเข้าไปด้วยทุกครั้ง เหล็กไร้สนิมรูปตัวยูมีขนาดยาวประมาณ 30 ซม.ส่วนที่งอเป็นขอนั้นยาว 15 ซม.
ช่องว่างของศิลาแลงหรือศิลาทรายแต่ละแห่งของทุกๆชั้น จะถูกหยอดปูนขาวหมักได้ที่ป้องกันการซึมผ่านของน้ำและความชื้นระดับหนึ่ง
เมื่อเรียงหินเข้าที่เดิมแล้วจึงได้คัดก้อนที่มีสภาพชำรุดมากๆทิ้งไป แล้วนำวัสดุใหม่ (ศิลาแลงใหม่) เข้าไปเสริมแทนที่ ก่อนที่จะสกัดให้มีรูปทรงกลมกลืนกับวัสดุเดิมตามรูปแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
หลังจากเรียงศิลาขึ้นไปจนถึงระดับของบัวยอดปรางค์ชั้นที่ 1 ของพระปรางค์ทั้งสององค์ จึงสกัดศิลาเพื่อเทคาน คสล.อีกชั้นหนึ่ง ตามขั้นตอนดังได้กล่าวไปข้างต้น แล้วจึงนำชิ้นส่วนต่างๆขึ้นไปเรียงตามตำแหน่งเดิม
การบูรณะซุ้มประตูของมุขทิศด้านตะวันออกของพระปรางค์หมายเลข 1 นั้นมีการปฏิบัติดังนี้
การบูรณะซุ้มประตูของมุขทิศด้านตะวันออกของพระปรางค์หมายเลข 1 นั้นมีการปฏิบัติดังนี้
การเสริมความมั่นคงของซุ้มประตูมุขทิศด้านตะวันออกของปรางค์หมายเลข 1 ใช้วิธีการเจาะสอดเหล็กไร้สนิม เอียงเป็นมุม 30-60 องศา ยาว 100 ซม.เข้าไปฝังไว้ที่ด้านหลังของแนวสันหลังคามุขทิศด้านตะวันตก จำนวน 30 จุด แล้วอัดน้ำปูนขาวหมักเข้มข้นลงไปในช่องว่างเพื่อให้ปูนขาวยึดเหล็กกับศิลาแลงเข้าด้วยกันอย่างแข็งแรง
3. การเสริมวัสดุใหม่เข้าไปแทนที่วัสดุที่ชำรุด
ได้กล่าวไปแล้วในขั้นตอนของการเสริมความมั่นคงและการประกอบชิ้นส่วนพระปรางค์กลับที่เดิม
4. การบูรณะฝ้าเพดานภายในครรภคฤหะของพระปรางค์หมายเลข 1-2
จากการศึกษาเทคนิคของการทำฝ้าเพดานของพระปรางค์หมายเลข 1-2 นักโบราณคดี ได้พบว่า ช่างได้บากชื่อตัวบนกับตัวล่างก่อนวางประกบกัน และยึดด้วยเดือยหรือตะปูเหล็กหัวกลมขนาดใหญ่ ส่วนกระดานบุฝ้านั้นจะถูกยึดด้วยเดือยไม้แผ่นต่อแผ่นอย่างแน่นหนา และมีหลักฐานว่าฉนวนของพระปรางค์สามยอดทั้งสองแห่งก็น่าจะมีการบุฝ้าเพดานด้วยเช่นกัน
สำหรับการบูรณะนั้น วิศวกรได้ออกแบบให้ดำเนินการซ่อมแซมฝ้าเพดานของพระปรางค์หมายเลข 1-2 ใช้ฝ้าไม้เนื้อแข็งขนาด 1 x 8 นิ้ว โครงฝ้าเพดานใช้ของเดิม ขนาด 4 ½ x 6 นิ้ว โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืน และความมั่นคงแข็งแรงของวัสดุที่จะใช้ให้สัมพันธ์กับโครงสร้างของสถาปัตยกรรม ซึ่งช่างไม้ของฝ่ายผู้ปฏิบัติงานบูรณะได้ยึดถือเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการอย่างเคร่งครัด
5. ผลการปฏิบัติงาน
การบูรณะและเสริมความมั่นคงส่วนต่างๆ ซึ่งล่อแหลมต่อการปริแยกและทรุดพังของพระปรางค์สามยอดได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผลการปฏิบัติจะทำให้องค์ปรางค์มีความมั่นคงแข็งแรงอยู่ได้ระดับหนึ่งจนกว่าส่วนประกอบซึ่งทำจากศิลาแลงและศิลาทรายชิ้นใดชิ้นหนึ่งขององค์ปรางค์จะปริแยกหรือตกหล่นลงมา เนื่องจากการเสื่อมสภาพของวัสดุเดิมที่ใช้ในการก่อสร้าง
6. การนำกลีบขนุนปรางค์และชิ้นส่วนกลีบขนุนปรางค์กลับขึ้นไปติดตั้งบนองค์ปรางค์
กิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากความต้องการให้มีการนำเอาส่วนประกอบต่างๆ อาทิ กลีบขนุนปรางค์และชิ้นส่วนกลีบขนุนปรางค์ซึ่งตกหล่นลงมาจากหลังคาปรางค์กลับเข้าไปติดตั้งดังเดิม โดยได้นำชิ้นส่วนดังกล่าวมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นารายณ์ราชนิเวศน์ และกลีบขนุนปรางค์ที่พบจากการขุดแต่ง
5. ผลการปฏิบัติงาน
การบูรณะและเสริมความมั่นคงส่วนต่างๆ ซึ่งล่อแหลมต่อการปริแยกและทรุดพังของพระปรางค์สามยอดได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผลการปฏิบัติจะทำให้องค์ปรางค์มีความมั่นคงแข็งแรงอยู่ได้ระดับหนึ่งจนกว่าส่วนประกอบซึ่งทำจากศิลาแลงและศิลาทรายชิ้นใดชิ้นหนึ่งขององค์ปรางค์จะปริแยกหรือตกหล่นลงมา เนื่องจากการเสื่อมสภาพของวัสดุเดิมที่ใช้ในการก่อสร้าง
6. การนำกลีบขนุนปรางค์และชิ้นส่วนกลีบขนุนปรางค์กลับขึ้นไปติดตั้งบนองค์ปรางค์
กิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากความต้องการให้มีการนำเอาส่วนประกอบต่างๆ อาทิ กลีบขนุนปรางค์และชิ้นส่วนกลีบขนุนปรางค์ซึ่งตกหล่นลงมาจากหลังคาปรางค์กลับเข้าไปติดตั้งดังเดิม โดยได้นำชิ้นส่วนดังกล่าวมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นารายณ์ราชนิเวศน์ และกลีบขนุนปรางค์ที่พบจากการขุดแต่ง
นักโบราณคดีจึงดำเนินการปรึกษาหารือและค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ควรจะนำกลีบขนุนปรางค์กลับเข้าไปติดตั้งอย่างไร มิให้ขัดแย้งกับคติความเชื่อ ความเป็นมา และทิศทางการติดตั้งประติมากรรมตามจารีตดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมอันเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เนื่องจากเป็นเรื่องยากมากที่จะนำชิ้นส่วนซึ่งไม่ทราบตำแหน่งชัดเจนกลับขึ้นไปติดตั้งให้ถูกต้องได้
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งของกลีบขนุนปรางค์เดิมของพระปรางค์สามยอดจากภาพถ่ายในอดีต และจากการเปรียบเทียบกับกลีบขนุนปรางค์ของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ทำให้ได้ข้อยุติในชั้นต้นดังนี้
1.ปรางค์ทุกองค์จะมีเทพประจำทิศวางติดตั้งไว้ที่ส่วนกลางของซุ้มหน้าบันของชั้นเชิงบาตรแต่ละชั้นเหมือนกันหมด อาทิ ชั้นเชิงบาตรทิศตะวันออกทักชั้นของปรางค์ทุกองค์จะมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณติดตั้งไว้เสมอ เป็นต้น
2.ระหว่างเทพประจำทิศทั้งสองด้านจะติดตั้งกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวช (เทวดา?)ยืนกุมกระบองขนาบเทพประจำทิศไว้ ด้านข้างของกลีบขนุนปรางค์รูปนักบวชจะมีกลีบขนุนปรางค์รูปเทพสตรียืนถือดอกบัวอยู่มุมละกลีบ ส่วนด้านข้างของเทพสตรีจะเป็นกลีบขนุนปรางค์รูปพญานาค 5 เศียร ติดตั้งอยู่มุมละ 2 ชิ้น
การติดตั้งกลีบขนุนปรางค์ ได้ดำเนินการโดยอาศัยหลักพิจารณามิให้เกิดความหนาแน่นมากเกินไป เนื่องจากมีกลีบขนุนปรางค์บางส่วนหายไปบ้าง เพื่อมิให้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมขาดความสมบูรณ์
บรรณานุกรม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. รายงานการบูรณะพระปรางค์สามยอด องค์หมายเลข 1 (ทิศเหนือ) ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี ปีงบประมาณ 2536
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. เอกสารแถลงข่าวการบูรณะพระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี (พ.ศ.2537)
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี,2532
กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 82 เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน,2537
บรรณานุกรม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. รายงานการบูรณะพระปรางค์สามยอด องค์หมายเลข 1 (ทิศเหนือ) ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี ปีงบประมาณ 2536
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. เอกสารแถลงข่าวการบูรณะพระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี (พ.ศ.2537)
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์อนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี,2532
กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 82 เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน,2537
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)