
การอธิบายทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรม บนพื้นฐานการวิพากษ์ วิจารณ์ และต่อยอดองค์ความรู้จากบุรพาจารย์โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ร่าง)หลักฐานสำคัญที่พบจากการขุดแต่งและบูรณะพระปรางค์สามยอด พ.ศ.2538

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ร่าง)ประติมากรรมรูปเทพีแห่งศิลปวิทยาการที่ตึกไทยคู่ฟ้า( 9 Muses )
9 muses คือ เทพีแห่งศิลปวิทยาการ 9 นางที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์แรงบันดาลใจให้แก่ศิลปินนักปรัชญาและคนทั่วไป เทพีทั้ง 9 ประกอบด้วย เทพีคลีโอ(Clio) เทพียูเทปี(Euterpe) เทพีธาเลีย( Thalia) เทพีเมลโปเมนี(Melpomeni) เทพีเทิร์ฟซิคอเร( Terpsichore) เทพีอีเรโต(Erato) เทพีโปลีมเนีย( Polymnia) เทพียูเรเนีย(Eurania/Ourania) และเทพีคอลลิโอเป(Calliope)










วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ความเรียงเรื่อง "ฮั้วดีที่สุด" ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชนชาติกวางสี
นักศึกษาจีนคนหนึ่งชื่อ น.ส.โต้หยินผิง เสนอความเรียง ชื่อ “ฮั้ว ดีที่สุด” โดยวิเคราะห์ความหมายรากศัพท์ที่ผสมผสานอยู่ในชื่อของ “มหาขันทีเจิ้งเหอ” เชื่อมโยงกับคำสอนในลัทธิขงจื้อ ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า คำว่า “เหอ” ในชื่อของ “เจิ้งเหอ” ตรงกับเสียง “ ฮั้ว” ในภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า “การสมานฉันท์” ซึ่งตรงกับอุดมการณ์ 1 ใน 5 ของการพัฒนาประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ยังแปลว่า “ปาก” หมายถึง “การมีสิทธิ์ที่จะพูด” ส่วนคำว่า “เจิ้ง” มีเสียงพ้องกับชื่อคัมภีร์แห่งทางสายกลาง(โจงยง)
นางสาวโต้หยินผิงสรุปว่า “โจง” แปลว่า ธรรมชาติแห่งชีวิต เมื่อดำรงอยู่อย่างถูกกาลเทศะก็เรียกว่า เหอ แปลว่า สมานฉันท์กลมกลืน
โจง คือ ฐานสำคัญของฟ้าดิน เหอ คือ หลักพึงปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติจนกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างดีแล้ว ฟ้าและดินก็จะอยู่ในตำแหน่งของตน สรรพสิ่งก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติ
แนวคิดในความเรียงเรื่อง “ฮั้วดีที่สุด” นี้ นอกจากจะยึดหลักความสมดุลในธรรมชาติและวัฒนธรรมแบบ “หยิน-หยาง” แล้ว ยังสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาและศาสตร์แห่งลมและฟ้าในตำราฮวงจุ้ยด้วย
ในขณะที่สังคมจีนถือว่าการ “ฮั้ว” กัน เป็นเรื่องดีทั้งเชิงสังคมและเชิงธุรกิจ สังคมการเมืองไทยกลับต่อต้านการฮั้วทั้งเชิงการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย
ดังนั้น ท่ามกลาง “ความไม่นิ่ง”ทางการเมืองของไทย และท่ามกลาวการกู่ก้องร้องหาความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติกันอยู่ปาวๆของนักการเมืองทั้ง 3 ฝ่าย (รัฐบาล เหลืองและแดง) หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก้าวออกมาจาก “จุดปะทะวงใน” และมองย้อนกลับเข้าไปในสมรภูมิแห่งความขัดแย้งทางความคิดและการเมืองเสียบ้างสักระยะหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้ได้คิดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะสร้างความสมานฉันท์ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงขึ้นเสียทีในบ้านเมืองเรา ตามแนวคิดของการ “ฮั้ว” กัน ดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในสังคมจีน
“.....อย่าดึงดื้อ ถือเด่นเป็นคนพาลในสันดานจงเป็นชนคนดี...”[1]
เนื้อหาในความเรียงสั้นๆ เรื่อง “ฮั้วดีที่สุด” ของนางสาวโต้หยินผิง
ขงจื๊อกล่าวว่า "ประโยชน์แห่งนิติธรรมเนียนนั้น ให้ถือหลักแห่งการฮั้ว(สมานฉันท์) เป็นสำคัญ" (จากวาทวิจารณ์ขงจื้อ หมวด ๑) โดยนับแต่ยุคขงจื้อเป็นต้นมา ชาวจีนก็ได้ให้ความหมายของคำว่า ”和”หรือ“ ฮั้ว”(อ่านเป็นเสียงแต้จี๋ว)ในความหมายที่ดี และคำว่า “和谐”ซึ่งหมายถึง การสมานฉันท์และความกลมกลืนก็ได้กลายเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวจีน ปัจจุบัน “การสร้างสังคมแห่งความสมานฉันท์ในระบบสังคมนิยม ” ยังถือเป็นหนึ่งในห้าแห่งการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริหารประเทศโดยทั่วหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย
มีผู้รู้วิเคราะห์ คำว่า “和 -ฮั๊ว ” ประกอบด้วยคำว่า “ต้นข้าว ” และ “ปาก ” หมายความว่า “ทุกๆคนมีอันจะกิน ” ส่วนคำว่า “ 谐” ประกอบด้วยคำว่า “พูด ”และ “ทั้งหลาย ” หมายความว่า “ท่านทั้งหลายล้วนมีสิทธิ์พูด ” ซึ่งเป็นการอธิบายที่สร้างสรรค์มาก แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่คนเราใฝ่ฝันและพยายามแสวงหานั้น คือ สภาพสังคมสมานฉันท์นั่นเอง
“โจงยง ” หรือ “คำภีร์แห่งทางสายกลาง ” กล่าวไว้ว่า “ก่อนการปรากฏแห่งอารมณ์ ได้แก่ ปิติยินดี โมโหโทโส โศกเศร้าและสุขสบายนั้น โจง ( แปลว่า ธรรมชาติแห่งชีวิต) เมื่อปรากฏได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะ เรียกว่า เหอ (แปลว่า สมานฉันท์กลมกลืน) โจง คือ ฐานสำคัญของฟ้าดิน เหอ คือ หลักการซึ่งทุกชีวิตพึงปฏิบัติ เมื่อสามารถปฏิบัติจนบรรลุถึงขึ้นสมัครสมานกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างดีแล้ว ฟ้าและดินต่างก็จะอยู่ในตำแหน่งของตน สรรพสิ่งก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติ” การให้อารมณ์ทั้งสี่ดังกล่าวปรากฏให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว ถือว่าเป็นการให้ความเคารพต่อกฎแห่งชีวิตทั้งปวง ทั้งยังเป็นการให้ความเคารพต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมด้วย
คำผสมที่ประกอบด้วยคำว่า “เหอ ” มีจำนวนมากเพื่อแสดงความหมายที่ดี เช่น สันติปรองดองมีความสุข สนิทสนมกลมเกลียว ท่าทีอ่อนโยนสุขภาพอ่อนโยน เมตตาและอ่อนโยน เหมาะสมได้สัดส่วนและความอบอุ่น เป็นต้น
“和 ”ในภาษาแต้จิ๋วอ่านว่า “ฮั้ว ”โดยไม่ทราบว่ามีการนำมาใช้ในภาษาไทยเมื่อใด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้คำนิยาม คำว่า“ฮั้ว ” ดังนี้ ...................
ส่วนในเวบไชต์ภาษาไทยอธิบายคำ “ฮั้ว” ไว้ว่า การฮั้ว คือ การทำข้อตกลงในทางลับระหว่างบริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป ที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ทั้งสองบริษัทได้ประโยชน์มากกว่าบริษัทอื่น ๆ หรือมากกว่าที่ควรจะได้รับ การฮั้วกันเกิดขึ้นในธุรกิจทุกระบบไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
การอ้างอิง
[1] เนื้อร้องตอนหนึ่งในเพลง “มาลัยใบจันทร์” เนื้อร้องและทำนองโดย รอ.พิเศษ สังข์สุวรรณ อดีตศิลปินนักแต่งเพลง และผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ในทีมงานของท่านมุ้ย
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ร่าง)สำรวจวัดเตว็ด ประมาณ พ.ย. 2553
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
(ขอขอบคุณ Mr. Patrick Dumont จาก www.ayutthaya-history.com ที่เป็นผู้นำทางในการสำรวจครั้งนี้)
พื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยต้นข่อย ตะโกและวัชพืชหลายชนิด
อีกมุมหนึ่ง
ชิ้นส่วนพระเพลาขวาของพระพุทธรูปปูนปั้นหน้าตักกว้างประมาณ 15-20 นิ้ว
วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ: ภาพจิตรกรรมบันทึกประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ทางสังคม
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
(ขอขอบคุณ คุณปัญญา แก้วธรรม ภัณฑารักษ์ กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยผู้ให้ข้อมูล)

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เกิดขึ้นจากดำริของพลเอกสายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด(พ.ศ.2525) ว่า รัฐบาลเคยสร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตในสงครามต่างๆ เช่น อนุสาวรีย์ทหารอาสา (สงครามโลกครั้งที่ 1) อนุสาวรีย์พทักษ์รัฐธรรมนูญ(เหตุการณ์ปราบกบฎบวรเดช) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ( กรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2) แต่ทหาร ตำรวจและพลเรือนเสียชีวิตจากสงครามและการสู้รบอีกหลายครั้ง เช่น สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม การสู้รบเพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้าย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพทุกปี แต่อัฐิของผู้เสียชีวิตก็ยังมิได้ถูกนำไปบรรจุยังอนุสรณ์อย่างสมเกียรติ กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารอนุสรณ์สถานแห่งชาติขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ.2526 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2537 (ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipediaเป็นอย่างยิ่ง)
อนุสรณ์สถานแห่งชาติประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ ลานประกอบพิธี อาคารประกอบพิธี อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร อาคารภาพปริทัศน์ และภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
ภาพจิตรกรรมบันทึกประวัติศาสตร์และสะท้อมสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยถูกจัดแสดงอยู่ภายในอาคารภาพปริทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง ๔.๓๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร ฝีมือการออกแบบของศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ กับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษที่อุทิศตนเพื่อรักษาเอกราชของชาติ
จีนลากรถ(Chinese Rickshaw) เป็นพาหนะที่ได้รับความนิยมมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4-5 และเลิกกิจการไปประมาณก่อนปีพ.ศ.2500

ล้อต๊อก ศิลปินแห่งชาติที่แต่งกายล้อนักร้องดัง ไมเคิล แจ๊กสัน อย่างคาดไม่ถึงก็ถูกนำมาแทรกเป็นภาพประกอบในอาคารนี้ด้วย
