รหัสวิชา ………….
ชื่อวิชา ประวัติศาสตร์ยุโรปร่วมสมัย
จำนวน 3 หน่วยกิต
รายวิชาสังกัดคณะ .................
ภาควิชา ประวัติศาสตร์
ภาคการศึกษา ……........
ปีการศึกษา....................
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ พิทยะ ศรีวัฒนสาร
คำอธิบายรายวิชา
เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ตั้งแต่การสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของรายวิชา
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นิสิตเรียนรู้จิตสำนึกทางจริยธรรมร่วมสมัยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคที่ศึกษา
2.ด้านความรู้ เพื่อให้นิสิตสามารถอธิบายเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในยุโรปตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 (ค.ศ.1945)จนถึงปัจจุบัน ได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงกับความจริงที่สุดด้วยกระบวนการทางประวัติศาสตร์
3.ด้านทักษะทางปัญญา เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ยุโรปร่วมสมัยและเชื่อมโยงกับภูมิหลังที่เป็นแรงผลักดันต่างๆในอดีตก่อนหน้าได้อย่างถูกต้อง รวมถึงสามารถคาดการณ์แนวโน้มต่างๆที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคได้อย่างแม่นยำภายใต้แนวคิดและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ เพื่อให้นิสิตมีโอกาสฝึกฝนทักษะในการทำงานกลุ่ม(Teamwork)และการแบ่งความรับผิดชอบในการทำงานระดับกลุ่ม(Team Working)และระดับปัจเจกบุคคล(Individual Responsibility)อย่างมีคุณภาพ
5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้นิสิตได้เพิ่มพูนทักษะการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนอันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสม ปลูกฝังและพัฒนาความรู้ ความสามารถในการเสนอตัวตนและผลงานสู่สาธารณชน โดยใช้องค์ประกอบเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย อาทิ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพาเวอร์ พอยท์(Power Points) ซีดี&ดีวิดี (CD&DVD)และโสตทัศนูปกรณ์อื่นที่รวบรวมและสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างทันสมัย
การประเมินผลผู้เรียน
1. การสร้าง KM Web Blog ของเนื้อหาประวัติศาสตร์ยุโรปร่วมสมัย10%
2. รายงานการค้นคว้าด้วยตนเองและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10 %
3. รายงานกลุ่มและการนำเสนอในรูปแบบที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 10 %
4. สอบกลางภาค 20 %
5. สอบปลายภาค 50 %
รวม 100 %
สัปดาห์ที่ 1
ปฐมนิเทศ( Orientation to the Contemporary History of Europe)
-แนะนำรายวิชาและแหล่งข้อมูล
-แสดงความคิดเห็น เรื่อง ความหมายและขอบเขตของ “ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย”
- สอนเรื่องการสร้าง Web Blog เพื่อฝึกฝนการจัดการความรู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ยุโรปร่วมสมัยด้วยตนเองตลอดภาคการศึกษา
-มอบหมายให้นิสิตไปเลือกศึกษาและวิพากษ์ประเด็นที่น่าสนใจรายบุคคลจากสื่อ You tube
-ใช้สื่อ Power points
-แนะนำให้ใช้สื่อ You tube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุโรปร่วมสมัย
-กิจกรรมละลายพฤติกรรม(Ice-breaking)
- แบ่งกลุ่มเพื่อทำรายงานประจำภาคเรียน
-มอบหมายให้นิสิตเตรียมตอบคำถามประเด็นเรื่อง Baby boom กับ Baby bust เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและบันทึกผลการค้นคว้าลงใน Web Blog ส่วนตัว
สัปดาห์ที่ 2
บทที่ 1 โครงสร้างทางสังคมของยุโรปร่วมสมัย
1.1 แนวโน้มของประชากรในยุโรป(Population Trends in Europe)
1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรและอำนาจ(Population and Power)
1.3 การลดลงของอัตราการเกิดในยุโรป (The Baby Bust)ตั้งแต่ทศวรรษ1980s
1.4 สังคมเมือง(Urbanization)ในยุโรปคริสต์ศตวรรษที่20
1.5 การเปรียบเทียบสังคมเมืองในยุโรปกับภูมิภาคอื่น(Global Urbanization)
1.6 ความหลากหลายของสังคมเมืองในยุโรป(Variation of Urbanization within Europe)
1.7 การอพยพออกจากยุโรปและเข้าสู่ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่20
-การอภิปรายและซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง The Baby boom กับThe Baby bust ก่อนเข้าสู่เนื้อหาหลัก
-บรรยายด้วยสื่อ Power Points
-มอบหมายให้นิสิตเตรียมอภิปรายเรื่อง การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป(European Industrialization)และผลสืบเนื่อง
สัปดาห์ที่3
บทที่ 2 โครงสร้างทางเศรษฐกิจของยุโรปร่วมสมัย
2.1 การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมการเกษตร(The Persistence of Agricultural Civilization)
2.2 การคลี่คลายของเศรษฐกิจทางการเกษตร(The Gradual Decline of Agriculture)
2.3 ความสืบเนื่องของกระบวนการอุตสาหกรรม(Continuing of Industrialization)
2.4 การเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมของอังกฤษและเยอรมนี(Anglo-German Industrial Leadership)
2.5 ความก้าวหน้าและตกต่ำทางด้านอุตสาหกรรมของรัสเซีย(The Rise and Fall of Russian Industry)
2.6 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาติและมาตรฐานการครองชีพ(Gross National Product and Standard of Living)
2.7 เศรษฐกิจยุโรปในบริบทโลก(Global Context)
-นิสิตอภิปรายเรื่อง European Industrialization และผลกระทบ ก่อนเข้าสู่บทเรียน
-บรรยายด้วยสื่อPower Points และนำเสนอสื่อ Youtube เรื่อง วิถีชีวิตในยุโรปต้นศตวรรษที่20
-มอบหมายให้นิสิตไปศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และเปรียบเทียบคำสำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปร่วมสมัยด้วยตนเอง คนละ 5 คำ (10 คะแนน)
สัปดาห์ที่ 4
บทที่ 3 เศรษฐกิจยุโรปหลังยุคอุตสาหกรรม(The Postindustrial Economy)
3.1 เศรษฐกิจภาคบริการของยุโรป(The Service Economy; the Tertiary Economy)
3.2 การกำหนดกรอบโครงของเศรษฐกิจภาคบริการ(Defining Service Economy)
3.3 เจ้าหน้าที่ของรัฐและบริการสาธารณะ(Bureaucracy and Public Service)
3.4 เศรษฐกิจภาคบริการในต้นคริสต์ศตวรรษที่20(The Service Economy of the Early 20th Century)
3.5 การเติบโตของเศรษฐกิจภาคบริการหลังค.ศ.1945(Post-1945 Boom of Service Economy)
-บรรยายด้วยสื่อ Power Points
-สุ่มถามความก้าวหน้าในการศึกษาค้นคว้า, -ให้นักศึกษาเตรียมรวบรวมสรุปคำบรรยายทุกครั้งตลอดภาคการศึกษา เพื่อบันทึกลงใน Web Blogของตน โดยมีการเพิ่มภาพประกอบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
(10 คะแนน)
-ให้นิสิตเตรียมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น ว่า การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและการเมืองของสตรีชาวยุโรป เริ่มต้นเมื่อใด
สัปดาห์ที่5
บทที่ 4 อายุ เพศสภาวะ และแรงงานในยุโรป(Age, Gender and the Labor Force)
4.1 อายุและอัตราการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ(Age and the Participation Rate)
4.2 สัปดาห์งานของชาวยุโรป(The Workweek)
4.3 การจ่ายค่าจ้างระหว่างวันหยุด(Paid Vacation)
4.4 การขยายตัวของการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ(Growth of the Participation Rate)
4.5 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของผู้หญิง(Women in the Economy)
4.6 การเปลี่ยนแปลงบทบาทในการทำงานของผู้หญิง(The Changing Work Role of Women)
-การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเรื่องการการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและการเมืองของสตรีชาวยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด
-บรรยายด้วยสื่อPower Points, -ให้นิสิตเตรียมเลือกหัวข้อการทำรายงานกลุ่มประจำภาคเรียนตามความสนใจ เพื่อนำเสนอเค้าโครงเรื่อของงรายงานในสัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์ที่ 6
บทที่ 5 ชีวิตประจำวันในยุโรป: การปฏิวัติแบบแผนการดำเนินชีวิต (Way of Life in Europe: The Vital Revolution after 1900)
5.1 การลดอัตราการตายของทารก(The Decline of Infant Mortality)
5.2 อัตราการมีอายุที่ยืนยาวขึ้น(The Improvement of Life Expectancy)
5.3 แบบแผนวงจรชีวิตในยุโรป(Pattern in Life Cycle in Europe )ตั้งแต่ค.ศ.1900
5.4 ช่วงวัยของการแต่งงาน การหย่าร้าง การลดอัตราการเกิด ขนาดของครอบครัว
5.5 การให้กำเนิดบุตรนอกสมรส(Illegitimacy Births)
5.6 การคุมกำเนิดและการต่อต้านการคุมกำเนิด (ยาคุมกำเนิด-Contraceptive, Vatican)
5.7 การทำแท้ง(การทำแท้งก่อนค.ศ.1945 การทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย การทำแท้งในยุโรปตะวันออก)
-บรรยายด้วยสื่อ Power Points
-เปิดโอกาสให้นิสิตซักถามในประเด็นที่มีข้อสงสัย
-นิสิตนำเสนอเค้าโครงเรื่องของรายงานกลุ่มประจำภาคการศึกษา
-มอบหมายให้นิสิตเตรียมอภิปรายกลุ่มเรื่อง “ความก้าวหน้าด้านต่างๆของยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2”
สัปดาห์ที่7
บทที่ 6 ความสืบเนื่องของการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในคริสต์ศตวรรษที่20 (The Continuing Vital Revolution)
6.1 การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการผลิตทางการเกษตร(The Vital Revolution and Agriculture)
6.2 การผลิตธัญพืชของยุโรป(Grain Production)
6.3 เกษตรกรรมแบบก้าวหน้าของยุโรป(Agronomy and Mechanized Agriculture)
6.4 การเพิ่มขึ้นของอัตราการติดเชื้อ(Infectious Disease) และการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในยุโรป
(The persistence of contagious Disease)
6.5 ความก้าวหน้าของยารักษาโรคและ การเอาชนะโรคระบาด(The Conquest of Contagious Disease)และมหัศจรรย์แห่งยา(Miracle of Drugs)
-นิสิตแบ่งกลุ่มอภิปรายเรื่อง “ความก้าวหน้าด้านต่างๆของยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่2”
-บรรยายด้วยสื่อ Power Points
-มอบหมายให้นิสิตเตรียมแสดงความคิดเห็นเรื่อง “การอพยพออกของชาวยุโรปและการอพยพเข้าสู่ยุโรปของชาวต่างชาติในคริสต์ศตวรรษที่20” ในสัปดาห์ที่8
สัปดาห์ที่8
บทที่7 ยุโรประหว่างยุคสงครามเย็น ค.ศ. 1945-1977, 7.1 สภาพทั่วไปของยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2(ค.ศ. 1945-1949)
7.2 การอพยพในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่2(Postwar Population Migration)
7.3 ความขัดสนระหว่างทศวรรษ1940 และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ(The Austerity of the 1940s and the Economic Recovery) และแผนการมาร์แชล( The Marshall Plan)
7.4 ยุโรปตะวันออกกับการก่อตัวของสงครามเย็น (ค.ศ.1945-1949)และบทบาทของรัสเซีย
7.5 การยึดอำนาจของคอมมิวนิสต์ในเชคโกสโลวะเกีย(Communist Coup in Czechoslovakia)
สถานการณ์ในฮังการี โปแลนด์
7.6 การปิดล้อมกรุงเบอร์ลินของโซเวียต(The Berlin Airlift)และความหมายของ “ม่านเหล็ก” ( Iron Curtain)
-นิสิตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง “การอพยพออกของชาวยุโรปและการอพยพเข้าสู่ยุโรปของชาวต่างชาติในคริสต์ศตวรรษที่20”
-บรรยายด้วยสื่อ Power Points
-นำเสนอสื่อ You tube เกี่ยวกับแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์
-การทบทวนประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สัปดาห์ที่2-8 เพื่อเตรียมสอบกลางภาค
-ติดตามความก้าวหน้าของการจัดการความรู้ในWeb Blog ของนิสิต
สัปดาห์ที่ 9
การติดตามความก้าวหน้าของ KM Web Blog ของนิสิต
-ตรวจแก้สำนวน การอ้างอิงแหล่งข้อมูลในKM Web Blog
-แนะนำแบบอย่างที่ดีของWeb Blog วิชาการ อาทิ www. ayutthayahistory research.Com, http://bidyarchar.blospot.com
-การซักถาม แสดงความคิดเห็น
สัปดาห์ที่ 10
บทที่ 8 สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของยุโรประหว่างสงครามเย็น
8.1 การฟื้นตัวของประเทศค่ายประชาธิปไตยในยุโรป
8.2 สหราชอาณาจักร: บทบาทของ Clement Atlee และกำเนิดของรัฐสวัสดิการ
8.3 ชาตินิยมในสหราชอาณาจักรและผลกระทบ
8.4 ชาตินิยมหลังสงครามโลกครั้งที่2 ในฝรั่งเศสและสิทธิสตรีในฝรั่งเศส
8.5 สาธารณรัฐที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับบทบาทของ Jean Monnet ในการวางแผนเศรษฐกิจ
8.6 สาธารณรัฐที่ 5(The Conservative Republic) ของฝรั่งเศสกับลัทธินิยมเดอโกลล์ (Gaullism)
-บรรยายด้วยสื่อ Power Points
-การซักถามและแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
-ติดตามความคืบหน้าของรายงานกลุ่มประจำภาคเรียน
-มอบหมายให้นิสิตเตรียมอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดและผลงานของ Conrad Adenauer
สัปดาห์ที่ 11
บทที่9 การฟื้นตัวของเยอรมนีตะวันตกและการสิ้นสุดยุคอาณานิคมปลายยุคสงครามเย็น
9.1 กำเนิดของเยอรมนีตะวันออก(East Germany)
9.2 เยอรมนีตะวันตก(West Germany)กับบทบาทของ คอนราด อาเดนนาวเออร์ (Conrad Adenauer )และมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ (The Economy Miracle)
9.3 คุณลักษณะแบบเยอรมัน(German Model): ต้นแบบความสงบของปัญหาแรงงานและความมั่นคงทางการเมือง(Labor Peace and Political Stability)
9.4 สนธิสัญญาเยอรมัน-ฝรั่งเศสที่พระราชวังเอลิเซ (The Elysée Treaty1963)
9.5 ยุโรปกับการปลดปล่อยอาณานิคม (ค.ศ.1945-1975)
-การอภิปราย ซักถามและแสดงความคิดเห็นเรื่อง “แนวคิดและผลงานของ Conrad Adenauer
-บรรยายด้วยสื่อ Power Points
-ให้นิสิตเตรียมอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องกลาสนอสต์(Glasnost)และ เปเรสตรอยกา(Perestroika)
สัปดาห์ที่12
บทที่10 ประวัติศาสตร์ยุโรปร่วมสมัย: ยุคสหภาพยุโรป(ค.ศ. 1975 ถึงปัจจุบัน)
10.1 ความก้าวหน้าของยุโรปและรัฐสวัสดิการตั้งแต่ค.ศ.1975-ปัจจุบัน
10.2 มาร์กาเรต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher)กับการปฏิวัติพรรคอนุรักษ์นิยม
10.3 ความไม่พอใจในยุโรปตะวันออกและการเคลื่อนไหวของสหภาพSolidarityในโปแลนด์
10.4 การปฏิวัติของกอร์บาชอฟ (Gorbachev) ในสหภาพโซเวียตและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต(The Breakup of the Soviet Union, 1989-1991)
10.5 การสิ้นสุดสงครามเย็น(ค.ศ.1985-1989)
11.6 เฮลมุต โคห์ล(Helmut Kohl)กับการรวมประเทศเยอรมนี(ค.ศ.1989-1990)
10.7 สหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกตั้งแต่ ค.ศ.1975 - ปัจจุบันกับบทบาทในยุคโลกาภิวัตน์
-การอภิปราย ซักถามและแสดงความคิดเห็น เรื่อง กลาสนอสต์(Glasnost)และเปเรสตรอยกา(Perestroika)
-บรรยายเนื้อหาด้วยสื่อPower Points
-นำเสนอสื่อYou tubeเรื่องการทำลายกำแพงเบอร์ลิน
-การติดตามและตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของ KM Web Blogของนิสิต
สัปดาห์ที่ 13
นิสิตนำเสนอรายงานประจำภาคเรียน
-อาจารย์วิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะหลังการนำเสนอรายงานของแต่ละกลุ่ม
-ให้นิสิตพิมพ์สำเนาของKM Web Blog ส่งเป็นหลักฐาน
สัปดาห์ที่14 นิสิตนำเสนอรายงานประจำภาคเรียน
-อาจารย์วิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะหลังการนำเสนอรายงานของแต่ละกลุ่ม
-ให้นิสิตพิมพ์สำเนาของKM Web Blogส่งเป็นหลักฐาน
สัปดาห์ที่15
สรุปบทเรียน
-นิสิตส่งสำเนารูปเล่มรายงานและบันทึกผลงานลงในWeb Blog ส่วนตัว
-แจ้งผลคะแนนเก็บ
-ตรวจสอบความสำเร็จในการจัดการความรู้ของนิสิต
ตำราเรียนหลัก
Steven C. Hause and William Maltby, “Chapters 30-32” Western Civilization: A History of
European Society. 2nd Edition. Belmont: Thomson Wadworth, 2005.
องค์ประกอบอื่นๆ
กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร (บรรณาธิการ) อารยธรรมตะวันตก ฉบับปรับปรุง.ภาควิชา
ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: แสงรุ้งการพิมพ์, 2522.
ธนู แก้วโอภาส. ประวัติศาสตร์ยุโรป. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2544.
วิมลวรรณ ภัทโรดม. สหภาพยุโรปโฉมใหม่และ 25 ประเทศสมาชิก. ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: บริษัท พี เพรส จำกัด,2549.
สุปราณี มุขวิชิต.ประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ.1815-ปัจจุบัน เล่ม 2. (ฉบับปรับปรุง)
ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์,2541.
สุรเกียรติ เสถียรไทย (หัวหน้าโครงการวิจัย) รายงานการศึกษาวิจัยเรื่องโอกาสและ
ผลกระทบจากการรวมตัวเป็นยุโรปตลาดเดียวและความเปลี่ยนแปลงในยุโรป
ตะวันออกต่อประเทศไทยในด้านการลงทุน โดย ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัธยา โกมลกาญจน์. อารยธรรมตะวันตก.ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539.
เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, สิริพรรณ นกสวน และพฤทธิสาณ ชุมพล, มรว.(บรรณาธิการ), คำและ
ความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
Abernethy, David B.. The Dynamics of Global Dominance : European Overseas
Empires,1415-1980. London and New Haven: Yale University Press ,2000.
Bartlett, Robert. The Making of Europe. Princeton University Press, Princeton, New Jersey,
1997.
Bulmer, Simon. Lequesne, Christian. The Member States of the European Union.
Oxford University press, New York, 2005.
Burns, Edward Mcnall. Western Civilization: Their History and Their Culture. W.W. Norton and Company Inc. New York, 1963.
Cook, Chris & Stevenson, John. 3rd edition. Modern European History 1763-1997,
Longman London and New York, 1998.
Garton Ash, Timothy. History of the Present : Essays, Sketches and Despatches
from Europe in the 1990s. Penquin books, 2000.
Hutchings, Graham. Modern China : A Guide to a Century of Change. Cambridge,
Massachusetts, Harvard University Press. 2001.
Judt, Tony . Postwar A History of Europe since 1945. The Penquin Press, New
York,2005.
Ohmae, Kenichi . The End of The Nation State : the Rise of Regional Economies.
New York,1995. England, The Penquin Books, 2000.
Veltmey, Henry. Globalization and Anti-globalization : Dynamics of Change in the
New World Order. Printed and bound by MPG Books Ltd., Bodmin, Cormwall
Reprinted 2005.
Youtube.com
Wikipedia.com
my name is weiguiling
ตอบลบmy blog is mitang619@gmail.com
โลจิสติก โลจิสติก โลจิสติก
ตอบลบ