จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

(ร่าง)ประติมากรรมรูปเทพีแห่งศิลปวิทยาการที่ตึกไทยคู่ฟ้า( 9 Muses )

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

9 muses คือ เทพีแห่งศิลปวิทยาการ 9 นางที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์แรงบันดาลใจให้แก่ศิลปินนักปรัชญาและคนทั่วไป เทพีทั้ง 9 ประกอบด้วย เทพีคลีโอ(Clio) เทพียูเทปี(Euterpe) เทพีธาเลีย( Thalia) เทพีเมลโปเมนี(Melpomeni) เทพีเทิร์ฟซิคอเร( Terpsichore) เทพีอีเรโต(Erato) เทพีโปลีมเนีย( Polymnia) เทพียูเรเนีย(Eurania/Ourania) และเทพีคอลลิโอเป(Calliope) บริเวณหน้าโถงบันไดทางขึ้นสู่ชั้นสองของตึกไทยคู่ฟ้า เคยเป็นเวทีแสดงละครเรื่องขุนช้าง และวิวาห์พระสมุทรในสมัยรัชกาลที่ 6


ประติมากรรมรูปเทพีอะธีน่า ทางเบื้องขวาของบันไดโถงกลาง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

เทพีอะเธน่า
เทพีแห่งชัยชนะ(เทพีไนกี-Niki)
เทพีไนกี เป็นธิดาแห่งเทพพาลลัส (Pallas) เทพแห่งปัญญาและนักรบ และเทพีสติกซ์(Styx) เทพีแห่งความเกลียดชัง อาฆาตแค้น เป็นพระขนิษฐาของเทพคราตอส (Cratos) เทพแห่งพละกำลัง เทพีไบอา (Bia) เทพีแห่งอำนาจและความรุนแรง และเทพซีลุส(Zelus) เทพแห่งการต่อสู้ เทพีไนกี้และเหล่าเทพพี่น้องเป็นผู้รับใช้ของเทพซุส (Zeus) ตามตำนานเทพ เทพีสติกซ์นำพวกนางมาช่วยเหลือเทพซุสในศึกกับยักษ์ไททัน เทพีไนกี้ทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถม้าศึก ตำนานเทพปกรณัมโรมันเรียกว่า เทพีวิคตอเรีย (Victoria) ปีกของเทพีไนกี้เป็นสัญลักษณ์ของลักษณะอันรวดเร็วแห่งชัยชนะ เทพีไนกี้ได้รับการบูชาร่วมกับเทพีอะธีนา (Athena) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดหลังจากมีชัยชนะเหนือชาวเปอร์เชียนในสงครามมาราธอน (Battle of Marathon 490 ปีก่อนคริสตกาล) รูปปั้นของเทพีอาธีน่าแห่งพาร์ธีนอสในวิหารพาร์ธีนอน (Parthenon) ที่กรุงเอเธนส์(Athens) มีเทพีไนกี้กำลังยืนอยู่บนมือของนาง ศูนย์กลางวิหารพาร์ธีนอน(สร้างเมื่อราว 410 ปีก่อนคริสตกาล) ยังรวมเอาสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเทพีอาธีน่า ไนกี้ไว้ด้วยกัน (ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.wikipedia.com/)

เทพีธาเลีย(Thalia)
ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือของบันไดโถงกลางตึกไทยคู่ฟ้า สวมมงกุฎทำจากเถาไอวี่ สวมรองเท้าคีบ ติดล้อแบบรองเท้าสเก็ต น่าจะเป็นเทพีธาเลีย(Thalia) ผู้เป็นเทพยดาแห่งเรื่องตลก เรื่องสนุกสนาน (Comedy) และเทพีแห่งบทกวีเกี่ยวกับชนบท (Bucolic Poetry) ซึ่งในเทพปกรณัมกรีกระบุว่า สัญลักษณ์ของเทพีองค์นี้ คือ หน้ากากตัวตลก (Comic mask) พวงมาลัยทำจากเถาไอวี่(ivy wreath) และไม้ต้อนแกะ(shepherd's staff)
เทพีธาเลียสวมมงกุฎทำจากเถาไอวี่

เถาไอวี่สด(ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.magnoliathailand.com/ )

ประติมากรจงใจสร้างเทพีธาเลียให้สวมรองเท้าติดล้อ เพื่อให้เห็นบรรยากาศของความสนุกสนานโดยอาจมีแรงบันดาลใจจากการที่ในช่วงประมาณกลางพุทธศตวรรษที่25กีฬาโรลเลอร์สเกต กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปและอเมริกา เห็นแล้วนึกถึงความสุขสันต์หรรษาในยุครัฐบาลเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าภายใต้การนำของพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวันภาพสเกตช์ของเทพีธาเลียจากประติมากรรมสลักหินอ่อนนูนต่ำของกรีก ชื่อ "Muses Sarcophagus" กำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่2 ปัจจุบันอยู่ที่พิพธภัณฑ์ลูฟวร์(Via Ostiense - Louvre)
ประติมากรรมรูปเทพียูเรเนีย (Eurania) เทพีแห่งดาราศาสตร์ ตั้งอยู่บนชั้น 2 ตึกไทยคูฟ้า เห็นได้ชัดเจนเมื่อประติมากรสร้างเป็นรูปสตรีกำลังเหาะอยู่เหนือรูปโลก
Urania เทพีแห่งโหราศาสตร์ (Astronomy) มีสัญลักษณ์ คือ ลูกโลกแห่งสวรรค์ (Celestial globe)
รูปเทพีองค์อื่นๆที่ผู้เขียนกำลังศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะทางประติมานวิทยา
ประติมากรรมหนึ่งใน 9 เทพีแห่งศิลปวิทยาการที่ตึกสันติไมตรี

ประติมากรรม1 ใน 9 เทพีแห่งศิลปวิทยาการที่ตึกสันติไมตรี
ประติมากรรม 1ใน9 ของเทพีแห่งศิลปวิทยาการ

ประติมากรรม1ใน9ของ เทพีแห่งศิลปวิทยาการ
ภาพลายเส้นประติมากรรมต้นแบบเทพีองค์อื่นซึ่งนำมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ
คลีโอ เทพีแห่งความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์ คือ ม้วนหนังสือ (Scroll)



Erato เทพีแห่งเรื่องโคลงรักใคร่รัญจวนใจ(Erotic Poetry) สัญลักษณ์คือ พิณมอลเลอร์ (Maller lyre)


Euterpe เทพีแห่งโคลงเพลง (Lyrical Poetry) สัญลักษณ์ คือ ขลุ่ยคู่ (Double flute)

Polyhymnia เทพีแห่งเพลงบวงสรวง (Sacred Song) ลักษณะเด่น คือ การนุ่งห่มแบบมิดชิด(Veiled and pensive)
Calliope เทพีแห่งโคลงมหากาพย์ (Epic Poetry) สัญลักษณ์คือ เชิงเทียน(Wax table)

Terpsichore เทพีแห่งการเต้นรำ (Dance) สัญลักษณ์ คือ พิณ (Lyre)
Melpomene เทพีแห่งเรื่องเศร้า (Tragedy) สัญลักษณ์ คือ สวมหน้ากากที่แสดงใบหน้าเศร้าหมองและมาลัยเถาไอวี่ (Tragic mask, ivy )wreath) ภายลายเส้นประติมากรรมต้นแบบจากเรื่องเทพปกรณัมของกรีก
"Muses Sarcophagus" shows nine Muses and their attributes, marble, early 2nd century AD, Via Ostiense - Louvre

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความเรียงเรื่อง "ฮั้วดีที่สุด" ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชนชาติกวางสี

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เมื่อกลางเดือนตุลาคม 2553 ผู้เขียนมอบหมายให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนจากมหาวิทยาลัยแห่งชนชาติกวางสี มณฑลกวางสี ที่มาศึกษาในภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับ “มหาขันทีเจิ้งเหอ” เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนและทำบันทึกเป็นความเรียงย่อๆ เผยแพร่ในเวบบล็อกจัดการความรู้ (KM Web Blog) วิชา ธุรกิจการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว (HT306) ของแต่ละคน

นักศึกษาจีนคนหนึ่งชื่อ น.ส.โต้หยินผิง เสนอความเรียง ชื่อ “ฮั้ว ดีที่สุด” โดยวิเคราะห์ความหมายรากศัพท์ที่ผสมผสานอยู่ในชื่อของ “มหาขันทีเจิ้งเหอ” เชื่อมโยงกับคำสอนในลัทธิขงจื้อ ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า คำว่า “เหอ” ในชื่อของ “เจิ้งเหอ” ตรงกับเสียง “ ฮั้ว” ในภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า “การสมานฉันท์” ซึ่งตรงกับอุดมการณ์ 1 ใน 5 ของการพัฒนาประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ยังแปลว่า “ปาก” หมายถึง “การมีสิทธิ์ที่จะพูด” ส่วนคำว่า “เจิ้ง” มีเสียงพ้องกับชื่อคัมภีร์แห่งทางสายกลาง(โจงยง)

นางสาวโต้หยินผิงสรุปว่า “โจง” แปลว่า ธรรมชาติแห่งชีวิต เมื่อดำรงอยู่อย่างถูกกาลเทศะก็เรียกว่า เหอ แปลว่า สมานฉันท์กลมกลืน

โจง คือ ฐานสำคัญของฟ้าดิน เหอ คือ หลักพึงปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติจนกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างดีแล้ว ฟ้าและดินก็จะอยู่ในตำแหน่งของตน สรรพสิ่งก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติ

แนวคิดในความเรียงเรื่อง “ฮั้วดีที่สุด” นี้ นอกจากจะยึดหลักความสมดุลในธรรมชาติและวัฒนธรรมแบบ “หยิน-หยาง” แล้ว ยังสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาและศาสตร์แห่งลมและฟ้าในตำราฮวงจุ้ยด้วย

ในขณะที่สังคมจีนถือว่าการ “ฮั้ว” กัน เป็นเรื่องดีทั้งเชิงสังคมและเชิงธุรกิจ สังคมการเมืองไทยกลับต่อต้านการฮั้วทั้งเชิงการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย

ดังนั้น ท่ามกลาง “ความไม่นิ่ง”ทางการเมืองของไทย และท่ามกลาวการกู่ก้องร้องหาความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติกันอยู่ปาวๆของนักการเมืองทั้ง 3 ฝ่าย (รัฐบาล เหลืองและแดง) หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก้าวออกมาจาก “จุดปะทะวงใน” และมองย้อนกลับเข้าไปในสมรภูมิแห่งความขัดแย้งทางความคิดและการเมืองเสียบ้างสักระยะหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้ได้คิดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะสร้างความสมานฉันท์ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงขึ้นเสียทีในบ้านเมืองเรา ตามแนวคิดของการ “ฮั้ว” กัน ดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในสังคมจีน

“.....อย่าดึงดื้อ ถือเด่นเป็นคนพาลในสันดานจงเป็นชนคนดี...”[1]

เนื้อหาในความเรียงสั้นๆ เรื่อง “ฮั้วดีที่สุด” ของนางสาวโต้หยินผิง

ขงจื๊อกล่าวว่า "ประโยชน์แห่งนิติธรรมเนียนนั้น ให้ถือหลักแห่งการฮั้ว(สมานฉันท์) เป็นสำคัญ" (จากวาทวิจารณ์ขงจื้อ หมวด ๑) โดยนับแต่ยุคขงจื้อเป็นต้นมา ชาวจีนก็ได้ให้ความหมายของคำว่า ”和”หรือ“ ฮั้ว”(อ่านเป็นเสียงแต้จี๋ว)ในความหมายที่ดี และคำว่า “和谐”ซึ่งหมายถึง การสมานฉันท์และความกลมกลืนก็ได้กลายเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวจีน ปัจจุบัน “การสร้างสังคมแห่งความสมานฉันท์ในระบบสังคมนิยม ” ยังถือเป็นหนึ่งในห้าแห่งการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริหารประเทศโดยทั่วหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย

มีผู้รู้วิเคราะห์ คำว่า “和 -ฮั๊ว ” ประกอบด้วยคำว่า “ต้นข้าว ” และ “ปาก ” หมายความว่า “ทุกๆคนมีอันจะกิน ” ส่วนคำว่า “ 谐” ประกอบด้วยคำว่า “พูด ”และ “ทั้งหลาย ” หมายความว่า “ท่านทั้งหลายล้วนมีสิทธิ์พูด ” ซึ่งเป็นการอธิบายที่สร้างสรรค์มาก แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่คนเราใฝ่ฝันและพยายามแสวงหานั้น คือ สภาพสังคมสมานฉันท์นั่นเอง

“โจงยง ” หรือ “คำภีร์แห่งทางสายกลาง ” กล่าวไว้ว่า “ก่อนการปรากฏแห่งอารมณ์ ได้แก่ ปิติยินดี โมโหโทโส โศกเศร้าและสุขสบายนั้น โจง ( แปลว่า ธรรมชาติแห่งชีวิต) เมื่อปรากฏได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะ เรียกว่า เหอ (แปลว่า สมานฉันท์กลมกลืน) โจง คือ ฐานสำคัญของฟ้าดิน เหอ คือ หลักการซึ่งทุกชีวิตพึงปฏิบัติ เมื่อสามารถปฏิบัติจนบรรลุถึงขึ้นสมัครสมานกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างดีแล้ว ฟ้าและดินต่างก็จะอยู่ในตำแหน่งของตน สรรพสิ่งก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติ” การให้อารมณ์ทั้งสี่ดังกล่าวปรากฏให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว ถือว่าเป็นการให้ความเคารพต่อกฎแห่งชีวิตทั้งปวง ทั้งยังเป็นการให้ความเคารพต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมด้วย

คำผสมที่ประกอบด้วยคำว่า “เหอ ” มีจำนวนมากเพื่อแสดงความหมายที่ดี เช่น สันติปรองดองมีความสุข สนิทสนมกลมเกลียว ท่าทีอ่อนโยนสุขภาพอ่อนโยน เมตตาและอ่อนโยน เหมาะสมได้สัดส่วนและความอบอุ่น เป็นต้น

“和 ”ในภาษาแต้จิ๋วอ่านว่า “ฮั้ว ”โดยไม่ทราบว่ามีการนำมาใช้ในภาษาไทยเมื่อใด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้คำนิยาม คำว่า“ฮั้ว ” ดังนี้ ...................
ส่วนในเวบไชต์ภาษาไทยอธิบายคำ “ฮั้ว” ไว้ว่า การฮั้ว คือ การทำข้อตกลงในทางลับระหว่างบริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป ที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ทั้งสองบริษัทได้ประโยชน์มากกว่าบริษัทอื่น ๆ หรือมากกว่าที่ควรจะได้รับ การฮั้วกันเกิดขึ้นในธุรกิจทุกระบบไม่ว่าเล็กหรือใหญ่

การอ้างอิง
[1] เนื้อร้องตอนหนึ่งในเพลง “มาลัยใบจันทร์” เนื้อร้องและทำนองโดย รอ.พิเศษ สังข์สุวรรณ อดีตศิลปินนักแต่งเพลง และผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ในทีมงานของท่านมุ้ย

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

(ร่าง)สำรวจวัดเตว็ด ประมาณ พ.ย. 2553

สำรวจโดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
(ขอขอบคุณ Mr. Patrick Dumont จาก www.ayutthaya-history.com ที่เป็นผู้นำทางในการสำรวจครั้งนี้) พื้นที่เนินโบราณสถานในวัดเตว็ด

พื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยต้นข่อย ตะโกและวัชพืชหลายชนิด


หน้าบันวัดเตว็ดมองจากด้านนอก
มองจากด้านนอก
ลวดลายที่หน้าบันวัดเตว็ดช่องหน้าต่างตรงกลางถัดลงมาจากกรอบหน้าบัน

ลวดลายคล้ายใบผักกูด(ลายใบเฟิร์น-fern) ซึ่งอาจารย์ ประยูร อุลุชาฏะ เคยเสนอว่าเป็นลวดลายแบบตะวันตก
ด้านใน

ด้านในมีคูหาขนาดเล็กทรงกลีบบัวเรียกลำดับตามแนวของทรงหลังคา

อีกมุมหนึ่ง
รูปนี้ถ่ายก่อนวิเคราะห์ชิ้นส่วนประติมากรรมหินทราย เห็นทีแรกก็เข้าใจว่าเป็นชิ้นส่วนพระนลาฏพระพุทธรูป
เมื่อศึกษาโดยละเอียดอีกครั้งจึงพบว่าเป็นชิ้นส่วนบั้นพระองค์ของพระพุทธรูปหินทรายขนาดหน้าตักประมาณ 15 นิ้ว

บน ขอบปากอ่างดินเผาเนื้อแกร่ง ส่วนที่หนุนด้านล่างเป็นชิ้นส้วนท่อนพระหัตถ์ของพระพุทธรูปหินทราย

ชิ้นส่วนพระเพลาขวาของพระพุทธรูปปูนปั้นหน้าตักกว้างประมาณ 15-20 นิ้ว

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ: ภาพจิตรกรรมบันทึกประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ทางสังคม

โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
(ขอขอบคุณ คุณปัญญา แก้วธรรม ภัณฑารักษ์ กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยผู้ให้ข้อมูล)

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ(National Memorial) เป็นหน่วยงานสังกัดกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร(เดิม คือ กรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด) กองบัญชาการกองทัพไทย


ภารกิจของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร คือ ศึกษาวิจัยและรวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์การรบของทหารไทยในการสู้รบและสงครามสำคัญๆ เพื่อประโยชน์ในด้านการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ผลงานสำคัญที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จัดทำโดยคณะกรรมการอดีตนายทหารผู้มีประสบการณ์ในการรบโดยตรงและนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสถาบัน ได้แก่ หนังสือประวัติศาสตร์การรบในกรณีพิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหหลี และสงครามเวียดนาม


อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เกิดขึ้นจากดำริของพลเอกสายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด(พ.ศ.2525) ว่า รัฐบาลเคยสร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตในสงครามต่างๆ เช่น อนุสาวรีย์ทหารอาสา (สงครามโลกครั้งที่ 1) อนุสาวรีย์พทักษ์รัฐธรรมนูญ(เหตุการณ์ปราบกบฎบวรเดช) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ( กรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2) แต่ทหาร ตำรวจและพลเรือนเสียชีวิตจากสงครามและการสู้รบอีกหลายครั้ง เช่น สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม การสู้รบเพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้าย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพทุกปี แต่อัฐิของผู้เสียชีวิตก็ยังมิได้ถูกนำไปบรรจุยังอนุสรณ์อย่างสมเกียรติ กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารอนุสรณ์สถานแห่งชาติขึ้น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ.2526 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2537 (ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipediaเป็นอย่างยิ่ง)


อนุสรณ์สถานแห่งชาติประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ ลานประกอบพิธี อาคารประกอบพิธี อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร อาคารภาพปริทัศน์ และภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง


ภาพจิตรกรรมบันทึกประวัติศาสตร์และสะท้อมสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยถูกจัดแสดงอยู่ภายในอาคารภาพปริทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง ๔.๓๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร ฝีมือการออกแบบของศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ กับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษที่อุทิศตนเพื่อรักษาเอกราชของชาติ









พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่

ศิลปินจำลองรูปเหมือนของ พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี แทนขุนนางผู้ใหญ่สมัยอยุธยาตอนต้น




















พระยาตากนำทหารไทย จีน โปรตุเกส(ตามหลักฐานของไทยและโปรตุเกส)หนีออกจากย่านวัดพิไชย ด้านตะวันออกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าสู่เมืองจันทบูรณ์(จันทบุรี)








การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม







ชีวิตประจำวันที่ท่าเรือ

จีนลากรถ(Chinese Rickshaw) เป็นพาหนะที่ได้รับความนิยมมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4-5 และเลิกกิจการไปประมาณก่อนปีพ.ศ.2500
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลภาพเป็นอย่างยิ่ง(กำลังค้นว่ามาจากที่ใด)




ล้อต๊อก ศิลปินแห่งชาติที่แต่งกายล้อนักร้องดัง ไมเคิล แจ๊กสัน อย่างคาดไม่ถึงก็ถูกนำมาแทรกเป็นภาพประกอบในอาคารนี้ด้วย


ภาพเขียนของศิลปินนักร้อง อริสมันตร์ พงศ์เรืองรอง (สวมแว่น)ภัสสร บุณยเกียรติ(เท้าเอว)และไพจิตร อักษรณรงค์ กำลังมีชื่อเสียงร้อนแรงขณะนั้นถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางศิลปะในโอกาสนี้ด้วย