จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ: ภาพจิตรกรรมบันทึกประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ทางสังคม

โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
(ขอขอบคุณ คุณปัญญา แก้วธรรม ภัณฑารักษ์ กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยผู้ให้ข้อมูล)

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ(National Memorial) เป็นหน่วยงานสังกัดกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร(เดิม คือ กรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด) กองบัญชาการกองทัพไทย


ภารกิจของกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร คือ ศึกษาวิจัยและรวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์การรบของทหารไทยในการสู้รบและสงครามสำคัญๆ เพื่อประโยชน์ในด้านการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ผลงานสำคัญที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จัดทำโดยคณะกรรมการอดีตนายทหารผู้มีประสบการณ์ในการรบโดยตรงและนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสถาบัน ได้แก่ หนังสือประวัติศาสตร์การรบในกรณีพิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหหลี และสงครามเวียดนาม


อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เกิดขึ้นจากดำริของพลเอกสายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด(พ.ศ.2525) ว่า รัฐบาลเคยสร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตในสงครามต่างๆ เช่น อนุสาวรีย์ทหารอาสา (สงครามโลกครั้งที่ 1) อนุสาวรีย์พทักษ์รัฐธรรมนูญ(เหตุการณ์ปราบกบฎบวรเดช) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ( กรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่ 2) แต่ทหาร ตำรวจและพลเรือนเสียชีวิตจากสงครามและการสู้รบอีกหลายครั้ง เช่น สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม การสู้รบเพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้าย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพทุกปี แต่อัฐิของผู้เสียชีวิตก็ยังมิได้ถูกนำไปบรรจุยังอนุสรณ์อย่างสมเกียรติ กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารอนุสรณ์สถานแห่งชาติขึ้น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่20 กรกฎาคม พ.ศ.2526 เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2537 (ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipediaเป็นอย่างยิ่ง)


อนุสรณ์สถานแห่งชาติประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ ลานประกอบพิธี อาคารประกอบพิธี อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร อาคารภาพปริทัศน์ และภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง


ภาพจิตรกรรมบันทึกประวัติศาสตร์และสะท้อมสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยถูกจัดแสดงอยู่ภายในอาคารภาพปริทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง ๔.๓๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร ฝีมือการออกแบบของศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ กับคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษที่อุทิศตนเพื่อรักษาเอกราชของชาติ









พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่

ศิลปินจำลองรูปเหมือนของ พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี แทนขุนนางผู้ใหญ่สมัยอยุธยาตอนต้น




















พระยาตากนำทหารไทย จีน โปรตุเกส(ตามหลักฐานของไทยและโปรตุเกส)หนีออกจากย่านวัดพิไชย ด้านตะวันออกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าสู่เมืองจันทบูรณ์(จันทบุรี)








การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม







ชีวิตประจำวันที่ท่าเรือ

จีนลากรถ(Chinese Rickshaw) เป็นพาหนะที่ได้รับความนิยมมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4-5 และเลิกกิจการไปประมาณก่อนปีพ.ศ.2500
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลภาพเป็นอย่างยิ่ง(กำลังค้นว่ามาจากที่ใด)




ล้อต๊อก ศิลปินแห่งชาติที่แต่งกายล้อนักร้องดัง ไมเคิล แจ๊กสัน อย่างคาดไม่ถึงก็ถูกนำมาแทรกเป็นภาพประกอบในอาคารนี้ด้วย


ภาพเขียนของศิลปินนักร้อง อริสมันตร์ พงศ์เรืองรอง (สวมแว่น)ภัสสร บุณยเกียรติ(เท้าเอว)และไพจิตร อักษรณรงค์ กำลังมีชื่อเสียงร้อนแรงขณะนั้นถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางศิลปะในโอกาสนี้ด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น